Gplace
จารึกที่พบในภาคเหนือส่วนใหญ่ จารึกด้วยอักษรฝักขามและอักษรธรรมล้านนาหรือตัวเมือง โดยอักษรธรรมล้านนานี้เป็นตัวอักษรที่พัฒนาจากอักษรมอญ สันนิษฐานว่าเริ่มใช้กันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย ส่วนมากใช้สำหรับบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ต่อมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ อักษรธรรมล้านนาได้ถูกมช้สำหรับบันทึกเรื่องราวทั้งทางโลกและทางธรรม รวมทั้งใช้เป็นอักษรราชการของหัวเมืองฝ่ายเหนือ และใช้ต่อเนื่องกันมาจนกระทั่งในปี พ.ศ.2483 สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการประกาศใช้รัฐนิยม ฉบับที่ 3 ว่าด้วยภาษาและหนังสือกับหน้าที่พลเมือง ห้ามการเรียนการสอนอักษรท้องถิ่น ส่งผลให้อักษรพื้นเมืองเสื่อมถอยในที่สุด
ส่วนอักษรฝักขามเป็นอักษรอีกประเภอที่นิมยมใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ บนศิลาจารึก ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-24 มีลักษณะตัวอักษรใกล้เคียงกับตัวอักษรสุโขทัย แต่ตัวอักษรมีลักษณะผอมสูงและโค้งงอมากกว่า ลักษณะเหมือนฝักมะขาม จึงได้ชื่อว่า อักษรฝักขาม เป็นตัวอักษรที่มีตนเค้าจากตัวอักษรสุโขทัยสมัยพระเจ้าลิไท ซึ่งแพร่มายังล้านนาในรัชกาลพระเจ้ากือนา พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาของสุมนเถระ เนื้อหาของจารึกที่ใช้อักษรฝักจาม มักเป็นเรื่องราวของการกัลปนาสิงของ เช่น พรพุทธรูป ศาสนสถาน ไร่นา ข้าคน และเงินทอง ให้แก่วัดในพุทธศาสนา ตลอดจนการสร้างวัดและสถานที่สำคัญ