Gplace
หลวงพ่อปุ้ย พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย พระประธานในโบสถ์เทวดาสร้าง ความยาวหน้าตัก 1.65 เมตร ความสูงตั้งแต่ศฺรประภาลงมาถึงฐาน 2.47 เมตร พุทธลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยตอนต้น เป็นดังนี้คือ พระพักตร์กลมรี ที่เรียกว่า "หน้านาง " พระเนตรหรี่ พระขนงโค้งสวย พระโอษฐ์แบบสนิท มีพรายอยู่เหนือริมพระโอษฐ์เบื้องบน เส้นพระศกละเอียดมาก มีเส้นขอบไรพระศกเล็กน้อย พระรัศมีหรือศิรประภาแข็งนิ้วพระหัตถ์งามเป็นลำเทียนแบบธรรมชาติ ต่างจากพระพุทธชินราชที่นิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากัน จึงรับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์พิเศษของสุโขทัยตอนต้นที่เรียกว่าพระพุทธรุปยุคอาร์เคอิก (Archaic) ช่วงสมัยนี้จะร่วมสมัยกับสมัยอู่ทองและสมัยลพบุรี
เรือนแก้วของพระพุทธรูปองค์นี้ ความสูงตั้งแต่ยอดลงมาถึงฐาน 2.75 เมตร ลักษณะเป็นยอกแหลมสามหยัก ส่วนที่อยู๋พระอังสาจะเป็นรูปมกร หรือเหราคาบนาค ซึ่งได้รับจากอิทธพลของศฺลปะบายน ส่วนที่ฐานเรือแก้วซึ่งเป็นเศียรพระยานาคทั้งสองข้างมีนางฑากินีหรือนางโยคินีรองรับ และนางมารอื่นเรียงรายไปด้านหลัง นางฑากินีกล่าวกันว่าเป็นนางบริวารของนางดารา ซึ่งเป็นศักดิ์ (เทวีคู่บารมี) ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในนิกายมหายานคือ พระณานีโพธิสัตวของพระสักยมุนีพระพุทธเจ้าหรือพระโคตมพุทธเจ้า
ด้านหลังพระพุทธรูปเรือนแก้ว มีระพุทธรูปปางประทับยืนพุทธลักษณะคล้ายพระอัฎฐารถ พระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่สมัยสุโขทัย ที่ต่างไปคือ พระบาทซึ่งมีลักษณะคล้ายปางลีลา ที่สำคัญคือ พุทธศิลป์ของพระพุทธรูปยืนองค์นี้เหมือนกับพระพุทธรูปในซุ้มจระนำพระปรางค์ทรงกลีบมะเฟือง วัดมหาธาตุ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นวัดสำคัญสมัยปลายกรุงสุโขทัยเชื่อมต่อกับสมัยอยุธยาต้อนต้น
พระพุทธรูปเรือแก้วองค์นี้เหมือนพระศรีสากยมุนีพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยวัดสุทัศน์วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครก็มีพระพุทธรูปปางลีลาประทับอยู่ด้านหลังองศ์พระเช่นกัน พระพุทธรูปเรือนแก้ว พุทธศิลป์สมัยสุโขทัยองค์นี้จึงน่าจะมีอายุมากกว่าพระพุทธชินราช ที่สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท และเรือนแก้วก็ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปวัดเขาบวชขนาดนี้
มีพระพุทธรูปเรือนแก้วที่สำคัญในประเทศไทยทั้งหมดอี 5 องค์คือ
1. พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ศิลปะสุโขทัยแท้
2. หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร เรือแก้วคล้ายพระพุทธชินราช
3. หลวงพ่อชัยสิทธิ์ วัดพิชัยปุรณาราม จังหวัดอุทัยธานี
4. พระประธานเรือนแก้ว วัดไล่ย์ จังหวัดลพบุรี
5. พระประธานเรือนแก้ววิหาร วัดพระมหาธาตุเจดีย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช