“พระปรางค์สามยอด มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมร”

พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่บนเนินดินด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟใกล้กับศาลพระกาฬ ตำบล ท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลง หินทรายและตกแต่งลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม ตรงซุ้มประตูเดิมคงมีทับหลัง แต่ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน คือ เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว เป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมร แบบบายนปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันทน์สีแดง ด้านหน้าทางทิศตะวันออก 

มีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 พระปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐาน พระปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ในองค์ปรางค์ทั้งสามปรางค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดเป็นวัดในพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรป ในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง

ลักษณะ

เป็นปราสาทขอม 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน (อันตรละ) โดยวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าสู่ทิศตะวันออก ปราสาทประธานมีความสูงใหญ่กว่าอีก 2 องค์ โครงสร้างของปราสาททำจากศิลาแลงฉาบปูน มีการประดับประดาตามส่วนต่างๆ ของปราสาทด้วยปูนปั้น อันเป็นลักษณะของงานสถาปัตยกรรมในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) ที่นิยมใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุในการก่อสร้าง


ศิลปะการก่อสร้างแบบเดียวกัน เช่น ปรางค์พรหมทัตที่ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประดิษฐานพระรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทวัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี ที่สร้างเป็นปราสาทศิลาแลง 3 องค์เรียงกันในลักษณะเดียวกับพระปรางค์สามยอด และปรางค์องค์กลางของวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย เป็นต้น

เปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น. เว้นวันจันทร์-วันอังคาร 

ค่าเข้าชม: ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทส 30 บาท

พระปรางค์สามยอด

แชร์

ต.ท่าหิน อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี 15000 แผนที่

รีวิว 5 รายการ | ครอบครัว,ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,โบสถ์,โบราณสถาน

ไม่ทราบเวลาเปิดปิดที่แน่นอน

036-412510

https://www.thai-tour.com/thai-tour/central/lopburi/data/place/prapaug-sam-yod.html

4818

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 5 รายการ)

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 4 ก.ย. 55

หลุมศิวลึงค์
หลุมศิวลึงค์

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 4 ก.ย. 55

ภายในพระปรางค์สามยอด

เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร
ภายในพระปรางค์สามยอด

เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 4 ก.ย. 55

คอยพบกับพวกเค้าได้ที่นี่...
คอยพบกับพวกเค้าได้ที่นี่...

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 4 ก.ย. 55

พระปรางค์สามยอด
เป็นปราสาทศิลาแลงแบบเขมรเรียงต่อกัน 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน ภายในบริเวณนอกจากปราสาททั้ง 3 องค์นี้แล้ว ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานมีการต่อเติมวิหารก่ออิฐถือปูนเชื่อมต่อกับปราสาทประธานเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระปรางค์สามยอด
เป็นปราสาทศิลาแลงแบบเขมรเรียงต่อกัน 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน ภายในบริเวณนอกจากปราสาททั้ง 3 องค์นี้แล้ว ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานมีการต่อเติมวิหารก่ออิฐถือปูนเชื่อมต่อกับปราสาทประธานเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 4 ก.ย. 55

พระปรางค์สามยอด
ปราสาทเขมรในศิลปะบายน (พ.ศ. 1720 - 1773) โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี
พระปรางค์สามยอด
ปราสาทเขมรในศิลปะบายน (พ.ศ. 1720 - 1773) โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

ศาลพระกาฬ ศาลพระกาฬ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.14 กิโลเมตร

วัดนครโกษา วัดนครโกษา (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.20 กิโลเมตร

เทวสถานปรางค์แขก เทวสถานปรางค์แขก (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.26 กิโลเมตร

บ้านหลวงรับราชทูต บ้านหลวงรับราชทูต (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.40 กิโลเมตร

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี (รีวิว 3 รายการ)

ห่าง 0.46 กิโลเมตร

สถานีรถไฟลพบุรี สถานีรถไฟลพบุรี (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.49 กิโลเมตร

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.55 กิโลเมตร

วัดเสาธงทอง ลพบุรี วัดเสาธงทอง ลพบุรี (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.56 กิโลเมตร

วัดบันไดหิน วัดบันไดหิน (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.58 กิโลเมตร

วัดตองปุ วัดตองปุ (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 0.59 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

ตติภพ ลพบุรี ตติภพ ลพบุรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.66 กิโลเมตร

ตะวัน รีสอร์ท ลพบุรี ตะวัน รีสอร์ท ลพบุรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.39 กิโลเมตร

พีเจ ลอฟต์ โฮเทล พีเจ ลอฟต์ โฮเทล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.98 กิโลเมตร

ชิลโฮเตล ชิลโฮเตล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.10 กิโลเมตร

ปันนารา ลพบุรี ปันนารา ลพบุรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.39 กิโลเมตร

เจ พี แลนด์ รีสอร์ท ลพบุรี เจ พี แลนด์ รีสอร์ท ลพบุรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.55 กิโลเมตร

โอม สวีท โฮม เพลส โอม สวีท โฮม เพลส (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.68 กิโลเมตร

โอเอซิส ไฮโซ โฮเต็ล โอเอซิส ไฮโซ โฮเต็ล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.11 กิโลเมตร

ปานรักษา รีสอร์ท ลพบุรี ปานรักษา รีสอร์ท ลพบุรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.39 กิโลเมตร

โรงแรมลพบุรี อินน์ โรงแรมลพบุรี อินน์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.76 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

ร้านอาหารบัวหลวง ร้านอาหารบัวหลวง (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 6.37 กิโลเมตร