ปีใหม่แล้ว.....ไหว้พระขอพร กรุงเทพฯ

5406
ปีใหม่แล้ว.....ไหว้พระขอพร กรุงเทพฯ รวม พระพุทธรูปศักดิืสิทธิ์ ใน กรุงเทพฯ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ "พระแก้วมรกต" ซึ่งสถิตย์เป็นพระประธานคู่บ้านคู่เมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สถิตย์เป็นองค์ประธาน ณ พระอุโบสถ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๒๗

พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ตามโบราณจารย์ประเพณีถือว่า เป็นพระพุทธรูปที่พระอินทร์ และพระวิษณุกรรม จัดหาลูกแก้วมาสร้างองค์ เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง ๗ พระองค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง และเป็นพระประธานสำคัญในการอัญเชิญประกอบพิธีสำคัญต่างๆ ของประเทศไทย
ดูเพิ่มเติม
วัดบวรนิเวศวิหาร ในหวิหารหลวง เป้นพระดิษฐาน พระพุทธชินสีห์ วิหารข้างๆ มี พระศรีศาสดา ทั้งสององค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นคราวเดียวกันกับพระพุทธชินราช และพระเหลือ เดิมประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาพระวิหารชำรุดทรุดโทรมลง ขาดการปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๒

พระพุทธรูป อีกองค์ถัดลงมา คือ พระไพรีพินาศ เป็นพระนามของพระพุทธรูป ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ เก๋งบนชั้นสองด้านทิศเหนือของพระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดย่อม หน้าตักกว้าง 33 ซม. และมีความสูงถึงปลายรัศมี 53 ซม. สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้มีพระวินิจฉัยในสาสน์สมเด็จว่า"พระไพรีพินาศเป็นพระพุทธรูปแบบมหายานปางประทับ นั่งประทานอภัย กล่าวคือ มีพระพุทธลักษณะเหมือนพระปางมารวิชัยหัตถ์ขวาที่วางอยู่บนพระชานุขี้น"
ดูเพิ่มเติม
วัดสุทัศน์เทพวราราม มีพระพุทธรูปองค์สำคัญ คือ พระศรีศากยมุนี เป็นพระประธานในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 3 วา 1 คืบ นับเป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในยุคก่อน 25 พุทธศตวรรษ เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ สุโขทัย สร้างสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ให้อัญเชิญมายังกรุงเทพ ฯ ได้มีพระราชดำริจะสร้างพระอาราม ที่มีพระวิหารใหญ่อย่างวัดพนัญเชิงที่อยุธยา โดยประดิษฐานไว้กลางพระนคร เมื่อชลอพระศรีศากยมุนีมาถึงกรุงเทพ ฯ แล้วให้ประทับท่าสมโภช 7 วัน แล้วจึงทรงชักเลื่อนองค์พระทางสถลมารค และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินตามขบวนแห่พระในรัชสมัยของพระองค์ ทำได้เพียงอัญเชิญองค์พระขึ้นตั้งไว้ ตัววิหารลงมือสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ตรงใต้ฐานที่ผ้าทิพย์บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8)
ดูเพิ่มเติม
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอารามหลวง มีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ โดดเด่นเปํนเอกลักษณ์ของวัด พระนอนองค์นี้

เป็นพระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู มีขนาดยาวเป็นอันดับสามของประเทศไทย คือยาวถึงสองเส้นสามวา, รองลงมาจากพระนอนจักรสีห์ (ยาวสามเส้น สามวา สองศอก หนึ่งคืบ เจ็ดนิ้ว) และพระนอนวัดขุนอินทประมูล (ยาวสองเส้นห้าวา)

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามทั้งวัด องค์พระก่อด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทองทั้งองค์
ในพระอุโบสถ มีพระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระประธานเดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดศาลาสี่หน้า (ปัจจุบันคือ วัดคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กทม.) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดโพธาราม(วัดโพธิ์) ใหม่ในปี พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344
พระวิหารทิศตะวันออก (ทิศพระโลกนาถ) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อัญเชิญมาจากวัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก ส่วนบริเวณมุขหลังประดิษฐานพระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้อัญเชิญมาจากวิหารพระโลกนาถ ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ
ดูเพิ่มเติม
วัดอรุณราชวราราม มี พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๖ ศอก หล่อด้วยทองแดงปิดทอง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นในคราวเดียวกันกับ “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” พระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศเทพวราราม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ ทางวัดได้พบพระบรมธาตุ ๔ องค์บรรจุอยู่ในโกศ ๓ ชั้น อยู่ในพระเศียร

ที่ฐานชุกชีด้านหน้า พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร ได้ประดิษฐาน “พระอรุณ” หรือ “พระแจ้ง” พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด ศิลปะล้านช้าง หน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร ซึ่งองค์พระพุทธรูปและผ้าทรงครองได้หล่อด้วยทองต่างสีกัน

ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๐๑ ในสมัย รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระอรุณหรือพระแจ้งมาจากเมืองเวียงจันทน์ โดยมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญมาประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง แต่ภายหลังพระองค์ได้มีพระราชดำริที่จะย้ายพระอรุณหรือพระแจ้งมาประดิษฐาน ณ วัดอรุณราชวราราม แทน ด้วยเหตุที่นามพระพุทธรูปพ้องกับชื่อวัด ดังปรากฏหลักฐานจากพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีมะเมีย จุลศักราช ๑๒๒๐ (พุทธศักราช ๒๔๐๑) ความตอนหนึ่งว่า “...ยังมีพระที่มีชื่อเอามาแต่เมืองเวียงจันทน์อีกสองพระองค์
พระอินแปลงน่าตัก ๒ ศอกเศษ พระอรุณน่าตักศอกเศษ...พระอรุณนั้น ฉันคิดว่าจะเชิญลงมาไว้ในพระวิหารวัดอรุณ เพราะชื่อวัดกับชื่อพระต้องกัน สมควรแต่จะให้จัดแจงที่ฐานเสียให้เสร็จก่อน แล้วจึงจะเชิญลงมาต่อน่าน้ำ...”

จากพระราชดำริดังกล่าว ในเวลาต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระอรุณหรือพระแจ้งมาประดิษฐานในพระวิหารวัดอรุณราชวราราม โดยโปรดให้ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ด้านหน้าพระพุทธชัมภูนุทฯ ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหาร นับแต่นั้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ดูเพิ่มเติม
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร มี "พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหธิศักดิ์ ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ" หรือเรียกกันว่า หลวงพ่อปู่ เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดหน้าตัก ๒.๕ เมตร สูง ๓.๕ เมตร ภายในองค์พระมีฉลองพระองค์ของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธรูป 16 องค์อยู่รายล้อมพระประธาน อันหมายถึง พุทธคุณชนะศัตรู ๗. พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ วัดชนะสงคราม เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร พระพุทธธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ เป็นพระพุทธรูป สมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย วัสดุปูนปั้นบุดีบุก ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตัก ๒.๕ เมตร สูง ๓.๕ เมตร ดูเพิ่มเติม
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม มี "พระพุทธอังคีรส" เป็นพระประธานในพระอุโบสถประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีหินอ่อนจากประเทศอิตาลี

พระนาม "พระพุทธอังคีรส" แปลว่ามีรัศมีซ่านออกจากพระวรกาย หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อต้นรัชกาลที่ ๕ กะไหล่ทองคำเนื้อแปดหนัก ๑๘๐ บาท เป็นทองที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เมื่อยังทรงพระเยาว์

เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงนำไปประดิษฐานที่พระปฐมเจดีย์ แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๕
ดูเพิ่มเติม
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดสลัก มี พระประธานในพระอุโบสถ คือ "พระศรีสรรเพชญ” เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง ๕.๑๖ เมตร วัสดุก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ ๑ ทรงเคารพศรัทธาสูงสุด

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้เคยตั้งสัตยาธิษฐานขอบารมีให้ช่วยคุ้มครองจากข้าศึกในระหว่างทรงร่วมกอบกู้ชาติบ้านเมือง เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒

สันนิษฐานว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โปรดให้พระยาเทวารังสรรค์ ช่างวังหน้า เป็นผู้ปั้น “พระศรีสรรเพชญ” ขึ้นเพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ (ขณะนั้นเรียกชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์ คือ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๓๑-๒๓๔๖ ซึ่งเป็นยุคต้นของรัตนโกสินทร์) พร้อมกับการปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ทั่วทั้งพระอาราม ในครั้งนั้นนามของพระประธาน จึงอนุโลมตามชื่อวัดไปด้วย

มีเรื่องราวบันทึกไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ใกล้สวรรคต ได้เสด็จขึ้นพระเสลี่ยงไปที่วัดมหาธาตุฯ เพื่อทรงนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ทรงจบพระหัตถ์อุทิศถวายพระแสงดาบให้ทำเป็นราวเทียน โปรดให้จุดเทียนเรียงติดไว้ที่พระแสง เมื่อครั้งทรงพระประชวรในปลายสมัยของพระองค์ เพื่อเป็นพุทธบูชา

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ วัดชำรุดทรุดโทรมมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอาราม โปรดให้เสริมส่วนสูงพระอุโบสถเพิ่มขึ้น ๑ ศอก

ในการนี้ พระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นองค์พระประธานได้รับการเสริมสร้างให้ใหญ่ขึ้นตามพระอุโบสถ โดยมีพระยาชำนิรจนา เป็นผู้ปั้น ในเวลาต่อมาองค์พระพุทธรูปได้รับการปิดทองใหม่อีก ๒ ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ เกิดอสุนีบาตพระอุโบสถด้านตะวันตก องค์พระประธานต้องสายฟ้าดำไปทั้งองค์ และอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๖๗
ดูเพิ่มเติม
พระพุทธเทววิลาส หรือหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนผสมสุโขทัย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร จำหลักด้วยศิลายวง สีขาวบริสุทธิ์

พระเพลากว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๙ นิ้ว หนา ๘ นิ้ว พระอังสา(ไหล่) ๙ นิ้ว รอบพระอุระ(อก) ๑๘ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในเวชยันต์บุษบกไม้จำหลักลาย หรือบุศบกท้ายเกริน ปิดทองประดับกระจกเกรียบ ลายประณีตบรรจงมาก รอบๆแวดล้อมด้วยดีบุกปั้นเป็นรูปเทพนมและครุฑปิดทอง ด้านซ้ายขวาตั้งแต่งฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด ๕ ชั้น ๒ ดั้ง เหนือพระพุทธรูป กางกั้นสุวรรณฉัตรคันดาน ๕ ชั้น ๑ ดั้ง

ด้านมุมซ้ายขวา ฐานบุศบก ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามสมุทร ประดับขัตติยะภูษิตาภรณ์ เรียกกันว่าพระทอง ดุจเดียวกันกับพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต) เบื้องบนพระทองสององค์ กางกั้นสุวรรณฉัตรคันดาน ๕ ชั้น ๒ ดั้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นของเดิมทั้งสิ้น
ดูเพิ่มเติม
วัดอินทรวิหาร มีหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปั้นที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร, สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรขนาดใหญ่ มีความสูง สูง 32 เมตร สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ในปี พ.ศ. 2410 ดูเพิ่มเติม
พระสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการบันทึกในหนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ พระพุทธรูปทองคำองค์นี้มีหน้าตั้งกว้าง 3.01 เมตร สูง 3.91 เมตร องค์พระสามารถถอดได้ 9 องค์ จากฐานองค์พระขึ้นไปเนื้อทองบริสุทธิ์ 40% พระพักตร์มีเนื้อทอง 80% ส่วนพระเกศมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัม เป็นเนื้อทองบริสุทธิ์ 99.99%

สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย เข้าใจว่า เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ไปอัญเชิญพระพุทธรูปมาจากเมืองเหนือเพื่อนำมาประดิษฐานยังวัดสำคัญ พระพุทธรูปที่เชิญมามีจำนวนมาก ทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ขุนนางผู้หนึ่งจึงแอบเอาปูนไล้พระพุทธรูปทองคำแล้วนำมาไว้ยังวัดที่ตนสร้าง จนได้อัญเชิญมาไว้ที่วัดพระยาไกร (วัดโชติการาม) ต่อมาบริษัท อี๊สต์เอเชียติ๊ก ได้ขอเช่าที่วัด (ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้างแล้ว) เป็นโรงเลื่อยจักร จึงได้อัญเชิญไว้ที่ข้างพระเจดีย์และปลูกเพิงสังกะสีมุงเป็นหลังคากั้นไว้อย่างหยาบ ๆ หลังจากนั้นเป็นเวลาเกือบ 20 ปี เมื่อพระอุโบสถและพระวิหารหลังใหม่สร้างเสร็จจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน แต่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายปูนที่หุ้มองค์พระกระเทาะออก จึงทำให้เห็นองค์พระข้างในเป็นทองคำ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498
ดูเพิ่มเติม
วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร มีจุดเด่นคือเป็นวัดกลางเมือง ตั้งอยู่ระหว่างศูนย์การค้า 2 แห่ง คือสยามพารากอนและเซ็นทรัลเวิลด์ และเป็นจุดแบ่งระหว่างย่านการค้าใจกลางเมือง 2 แห่ง คือย่านสยาม และย่านราชประสงค์ วัดสถาปนาขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2400 และฉลองพระอารามในปี พ.ศ. ... ดูเพิ่มเติม

กำลังเป็นที่นิยม

แนะนำทริป

จัดทริปของคุณ

ร้านอาหารใกล้เคียง