สัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 3.8 เซนติเมตร สูง 6.5 เซนติเมตร
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-15 (ประมาณ 1,100-1,300 ปีมาแล้ว)
ได้จากการขุดแต่งบริเวณพระนอน เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เลขทะเบียน 39/240/2536
รูปแบบผสมผสานกันระหว่างอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบอมราวตีและคุปตะผสมผสานกับศิลปะพื้นเมือง ปรากฏลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปศิลปะทวารวคื คือ พระนลาฎกว้าง พระขนงเป็นสันโค้งรูปปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา จึงจัดเป็นพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีแบบพื้นถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ