“ณ ริมฝั่งเจ้าพระยา อาคารย้อนยุคที่สร้างมากว่า 100 ปี อดีตสำนักใหญ่ของธนาคารไทยแห่งแรก ตั้งโดดเด่นสวยงามกับสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ ฝีมือการออกแบบโดยอันนิบาเล รีกอตติ เป็นสถาปนิกชาวอิตาเลียน”
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย เป็นที่ทำการของธนาคารแห่งแรกในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งขึ้นในนาม "บุคคลัภย์" โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ตัวอาคารออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียน นายมาริโอ ตามาญโญ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเรอเนสซองส์ สร้างบนที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา และในปี พ.ศ. 2447 เพื่อให้เป็นสถาบันการเงินที่เป็นฐานรองรับการเติบโตด้านเศรษฐกิจของไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "แบงก์สยามกัมมาจล" ในช่วงปี พ.ศ. 2449 และเมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ธนาคารไทยพาณิชย์" ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน และได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ASA ในปี พ.ศ. 2525 ถือเป็นอาคารอนุรักษ์แห่งหนึ่งและเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งของเขตสัมพันธวงศ์ โดยกรมศิลปากร ซึ่งสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ที่มีความเก่าแก่และสวยงามเช่นนี้
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ตัวอาคารมีความโดดเด่นที่สถาปัยกรรมตะวันตกแบบโบซาร์ผสมนีโอคลาสสิก ออกแบบโดย อันนิบาเล รีกอตติ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ตัวอาคารมีทั้งหมด 3 ชั้น ติดกับริมแม่น้ำเจ้าพระยา สถาปัตยกรรมของอาคารแห่งนี้ มีความคล้ายคลึงกับหลายส่วนของพระที่นั่งอนันตสมาคม ชั้นล่างเป็นที่ทำการทั่วไปแต่ยังคงรูปแบบดั้งเดิม โดยเคาน์เตอร์รับฝากถอนคล้ายกับโรงรับจำนำ มีผนังเป็นลวดลายปูนปั้น เสาทรงไอโอนิกประกอบระหว่างช่วงหน้าต่าง กระเบื้องปูพื้นนำเข้าจากเยอรมนี และเป็นที่จัดแสดงของที่เคยใช้ในกิจการในอดีต ชั้นบนเคยเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย แต่ได้ย้ายไปอยู่ที่สำนักงานใหญ่ รัชโยธินในปัจจุบัน