“แหล่งภาพเขียนสีโบราณ ประตูผา อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง”
แหล่งภาพเขียนสีโบราณ ประตูผา ตั้งอยู่ที่ตำบล บ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประเภทแหล่งเขียนสี และแหล่งฝังศพ พบเมื่อปี พ.ศ.2531 ดำเนินการขุดค้นและคัดลอกภาพใน พ.ศ.2541 โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ การขุดค้นยังพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมหริภุญไชย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยสันกำแพง ซึ่งเป็นหลักฐานที่ยืนยันถึงความมีอยู่จริงของเจ้าพ่อประตูผาตามความในพงศาวดารโยนกที่กล่าวว่าพื้นที่ในบริเวณนี้ได้ถูกใช้เป็นสมรภูมิในการรบของท้าวลิ้นก่านกับข้าศึกชาวลำพูนอันเป็นตำนานของเจ้าพ่อประตูผา
สภาพพื้นที่โดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 : พื้นที่โดยรอบด้านทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นที่ราบลอนคลื่นขนาดใหญ่อุดมไปด้วยแหล่งน้ำและเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหวดและแม่น้ำแม่เมาะ ด้านบนของเทอกเขาหินปูนพบลุ่มมีน้ำท่วมขังในลักษณะแอ่งน้ำขนาดใหญ่
ส่วนที่ 2 : พื้นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดี มีลักษณะเป็นหน้าผาหินปูนทอดตัวแนว เหนือ-ใต้ ลักษณะเป็นผิวหน้าผาค่อนข้างเรียบสูงชันประมาณ 81-90 องศา หน้าผาขะโวกไปทางทิศตะวันออกทำให้พื้นดินใต้หน้าผา อันเป็นตำแหน่งของภาพเขียนสีและแหล่งฝังศพซึ่งไม่ได้รับความชิ้นจากน้ำฝน พื้นดินมีลักษณะเป็นดินละอองเนื้อละเอียดคล้ายทรายแป้ง
ผลการศึกษาภาเขียนสี
ภาพเขียนสีแบ่งได้ 7 กลุ่ม ความยาวของภาพจำนวน 212 เมตร มีภาพจำนวน 1,586 ภาพ ระยะเส้นทาง 627.5 เมตร
กลุ่มที่ 1 : ภาพที่ปรากฎมีภาพ มือ, สัตว์ประเภทเต่า, นกแซกแซว, ก้งหรือเลียงผา, วัว, ม้า ภาชนะประเภทชาม ภาพคล้านหน้าไม้ล่าสัตว์, ภาพคล้ายหน่อไม้, ภาพสัญลักษณ์วงกลมและะสี่เหลี่ยม
ภาพที่ 2 : ภาพที่ปรากฎมีภาพ มือ, นกยุง, คน, ดอกไม้
ภาพที่ 3 : ภาพที่ปรากฎมีภาพ มือ, คน, กระจง, วัว
ภาพที่ 4 : ภาพที่ปรากฎมีภาพ คนทั้งหญิงและชาย, เก้ง, กระจง, กระต่าย, หมู, ค้างคาว, ภาพพันธุ์ไม้
ภาพที่ 5 : ภาพที่ปรากฎมีภาพ วัว, พิธีกรรมฝังศพในวัฒธรรมหิน
ภาพที่ 6 : ภาพที่ปรากฎมีภาพ วัว, มือ, ผีเสื้อ, นก, ผู้หญิงที่แสดงรูปแบบเครื่องนุ่งห่ม
ภาพที่ 7 : ภาพที่ปรากฎมีภาพ มือ, หมู่ผ่า, สุขัข, ลิง, วัว, วิธีการจับสัตว์
กลุ่มชนที่ใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมฝังศพและทำภาพเขียนสี เป็นกลุ่มชนที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมค่อนข้างสูง เพราะมีการทอผ้าเป็นเครื่องนุ่งห่มมีการใช้ภาชนะที่ผลิตด้วยการสานและดินเผารู้ต่างๆการได้พบ กลุ่มข้าวประกอบพิธีทำให้สามารถระบุได้ว่า การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมเกษตรกรรม มีการเพราะปลูกเลี้ยงสัตว์ จับสัตว์ สัตว์น้ำ เพื่อเลี้ยงไว้ใช้งานและเป็นอาหาร