“หอสมุด กรุงเทพมหานคร หอสมุดใจกลางราชดำเนิน”
หอสมุด กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินกลาง ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกคอกวัว เป็นแหล่งเรียนรู้และพื้นที่กิจกรรมสำหรับเยาวชนทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ภายในมีหนังสือหลากหลายประเภท แบ่งออกตามรูปแบบการใช้งานทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่
ชั้น 1
ประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนที่จะผลัด เปลี่ยนกันมาให้ความรู้ครอบคลุมทั้งเรื่องศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ และสังคม นอกจากนั้นยังมีห้องคลังนิตยสารและหนังสือพิมพ์ ส่วนบริการข้อมูลภายใน หอสมุดและข้อมูลสาหรับนักท่องเที่ยว ห้องฉายภาพยนตร์และห้องสมุดสาหรับผู้พิการ ประกอบด้วยห้องสมุดเสียง หนังสืออักษรเบรลล์ สื่อภาพและสื่อโสตทัศน์ต่างๆ
ชั้น M
เป็นชั้นสาหรับเด็ก ซึ่งรวบรวมหนังสือ วรรณกรรมสาหรับเด็กและเยาวชน รวมไปถึงกิจกรรมการเรยีนรสู้าหรับครอบครัว
ชั้น 3
รวมรวมองค์ความรู้ และโครงการพ ระราชด าริของในห ลวงรัชกาลที่ ๙ และเป็นหอจดหมายเหตุ กรุงเทพมหานคร รวบรวมเรื่องราวเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานครในด้าน ต่างๆ อาทิ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านสถาปัตยกรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านการคมนาคม ผังเมือง ประชากร เขตพื้นที่ทั้ง ๕๐ เขต ศาสนา รวมไปถึงโครงการต่างๆ และหนังสือพิเศษที่หน่วยงาน กรุงเทพมหานครเป็นผู้ผลิตขึ้น
ประวัติความเป็นมา
สืบเนื่องจากการที่กรุงเทพมหานครได้รับเลือกจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็น เมืองหนังสือโลกประจำปี ๒๕๕๖ (World Book Capital 2013) ซึ่งโครงการจัดตั้ง หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Library) เป็นหนึ่งใน ๙ พันธกิจที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ตามแผนงานส่งเสริมการอ่านที่ได้เสนอต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) กรุงเทพมหานครจึงมีนโยบายสำคัญที่จะสร้างกรุงเทพมหานครให้เป็น “มหานครแห่งการเรียนรู้” เพื่อเพิ่มแหล่งการเรียนรู้แห่งใหม่ที่รวบรวมองค์ความรู้อันทรงคุณค่า และแหล่งภูมิปัญญา ด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่ทันสมัยครบวงจร ซึ่งเป็นการสร้างวัฒนธรรมการอ่านอย่างยั่งยืนในระยะยาวให้กรุงเทพมหานคร เป็น “มหานครแห่งการเรียนรู้” อย่างแท้จริง
กรุงเทพมหานครได้เช่าอาคารของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกคอกวัว หนึ่งในอาคาร ๑๕ หลังที่เรียงรายตลอดสองฟากถนนราชดำเนิน อาคารหลังนี้เป็นอาคาร คสล. (คอนกรีตเสริมเหล็ก) ความสูง ๓ ชั้น พื้นที่ใช้สอยรวม ๔,๘๘๐.๓๘ ตารางเมตร มีความเป็นมาแรกเริ่มภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) ให้สร้างถนนราชดำเนิน ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๒ – พ.ศ.๒๔๙๑ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร-มหาอานันทมหิดล (ร.๘)
ต่อเนื่องถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ร.๙) ได้ทำการปลูกสร้างกลุ่มอาคารสาธารณะประเภทต่างๆ ประกอบด้วย อาคารพาณิชย์ โรงแรมและโรงมหรสพ รูปแบบสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลแนวนีโอ-พลาสติก ซึ่งมีลักษณะเฉพาะบางประการ เช่น มีกันสาดบางๆ คลุมส่วนหน้าต่าง มีขอบปูนปั้น มีการใช้ลูกกรงเป็นเส้นแนวนอน เป็นต้น ด้วยแนวคิดการอนุรักษ์และเคารพในคุณค่าของสถาปัตยกรรมเดิม ส่งผลให้การออกแบบปรับปรุงอาคารหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ยังคงกลิ่นอายอารยธรรมตะวันตกผสมผสานการตกแต่งแบบศิลปะไทย เพื่อคงรูปแบบเดิมไว้ให้มากที่สุด
จุดประสงค์
ริมถนนสายวัฒนธรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชาติแห่งนี้ อาคารหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครเสมือนสถานที่ที่พร้อมส่งต่อเรื่องราวจากอดีตสู่ปัจจุบัน โดยกรุงเทพมหานครคาดหวังว่าความตั้งใจดีนี้จะสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดแก่สังคม รวมทั้งปลูกฝังการรักการอ่านแก่ประชาชนและเห็นถึงความงดงามของความเป็นไทยไปพร้อมกัน
การเดินทาง
รถยนต์และทางด่วนพิเศษ : หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ถนนราชดำเนินกลาง สามารถใช้เส้นทางด่วนไปลง "ด่านยมราช" หรือขึ้นเส้นทางด่วนสุริวงศ์ไปลง "ด่านอุรุพงศ์" ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศมายังถนนราชดำเนินกลาง อาคารหอสมุดเมืองจะตั้งอยู่บริเวณสี่แยกคอกวัว
เรือโดยสารคลองแสนแสบ : ท่าผ่านฟ้าลีลาศ
จุดเชื่อมต่อการเดินทางรถไฟฟ้า - เรือ
- สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT อโศก สามารถเชื่อมต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบท่าอโศก
- สถานีรถไฟฟ้า BTS ราชเทวี สามารถเชื่อมต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบท่าสะพานหัวช้าง
รถประจำทาง : 2, 9, 15, 32, 35, 42, 44, 47, 59, 60, 68, 70, 79, 82, 124, 127, 171, 183, 203, ปอ.60, ปอ.127, ปอ.157, ปอ.503, ปอ.509, ปอ.511, ปอ.516, ปอ.556
ที่จอดรถ: ไม่มี