“วัดบางพระ - หลวงพ่อเปิ่น อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม”

วัดบางพระ ชื่อเดิมคือ วัดปากคลองบางพระ สังกัดมหานิกายอยู่ในการปกครองคณะสงฆ์ ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่วัด 31 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา และธรณีสงฆ์ 22 ไร่ 2 งาน 19 ตารางวา

วัดบางพระ สร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ.2220 จัดอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างที่แน่ชัดเพราะคนในยุคนั้นมิได้มีการบันทึกกัน ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ในปัจจุบันก็คือภาพจิตกรรมฝาผนังภายในพระ อุโบสถหลังเดิมซึ่งกว้างประมาณ 4 วายาวประมาณ 8 วาหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ธรรมดาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางภายในพระอุโบสถหลังเดิมมีพระประธานเป็นพระ ปฏิมากรหินทรายแดงประทับนั่งปางมารวิชัยลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง 30 นิ้วชาว บ้านเรียกกันว่า”หลวงพ่อสิทธิมงคล”เป็นองค์ที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักเบื้อง หน้าพระประธานเป็นพระพุทธปฏิมาประทับนั่งปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 26 นิ้วและ ยังมีพระพุทธปฏิมาประทับนั่งทางด้านขวามือองค์พระประธาน๓องค์และทางด้านซ้าย มือองค์พระประธานอีก๓องค์มองกันตามแบบแล้วพระอุโบสถหลังเก่าของวัดบางพระ ช่างทรงคุณค่ายิ่งนักลักษณะทั่วไปก่ออิฐถือปูนหลังคาลด๒ชั้นประกอบด้วยช่อ ฟ้าใบระกาที่สำคัญคือหลังคาอันมุงด้วยกระเบื้องดินธรรมดากรมศิลปากรจัดให้ อยู่ในดินเผาสมัยอยุธยาตอนกลางพระประธานที่เป็นพระปฏิมากรหินทรายแดงจัดให้ อยู่ในสมัยอโยธยาสุพรรณภูมิ (อู่ทอง)

ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นภาพเก่าแก่เป็นผลให้ทราบถึงความเจริญ รุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาเป็นภาพเทพชุมนุมสลับกับอดีตขององค์พระพุทธเจ้ามี การปฏิสังขรณ์เมื่อสมัยรัชการที่ 4 คงมีการเขียนทับและแก้ไขเพียงเล็กน้อยแต่ พื้นกราวน์ดูเบื้องหลังยังคงใช้สีอ่อนมีดอกไม้ร่วงอันเป็นคติของอยุธยาภาพ ที่น่าสนใจอีกภาพหนึ่งก็คือ”ภาพมารผจญ”เป็นภาพที่พระพุทธเจ้าทรงจีวรแดง ประทับนิ่งบนดอกบัวแก้วแม่ธรณีบีบมวยผมนับเป็นศิลปะแบบเก่าที่น่าศึกษาเป็น อย่างยิ่งเป็นภาพที่เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลางสีในภาพเขียนใช้เพียง 4 สี คือขาวดำแดงและเขียวใบแค

มาถึงช่วงตอนเจริญรุ่งเรืองอย่างสุดขีดของวัดบางพระในช่วงนั้นเมื่อเจ้าอธิการ หิ่มอินทโชโต เข้ามาปกครองวัดบางพระในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายที่ เหมือนกันของเจ้าอาวาสวัดบางพระทุกรูปคือจะเป็นพระนักปฏิบัติกัมมัฏฐานทรง ซึ่งคุณธรรมมีเมตตาธรรมสูงมากเมื่อมาถึงหลวงปู่หิ่มเป็นยุคที่วัดบางพระ เจริญอย่างยิ่งท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลและเป็นพระอุปัชฌาย์ นอกจากนี้แล้วหลวงปู่หิ่มยังสร้างพระพุทธบาทจำลองเพื่อช่วยเหลือในศรัทธาของ ชาวบ้านที่ใคร่จะไปนมัสการพระพุทธบาทจำลองณสถานที่ต่างๆที่อยู่ไกลต้องเสีย ค่าใช้จ่ายกันสูงพระพุทธบาทจำลองนี้มีขนาดกว้าง 1.10 เมตรยาว 4.20 เมตรสร้าง ด้วยโลหะทุกกลางเดือนสี่จะมีงานเทศกาลเพื่อให้ประชาชนชาวบ้านได้นมัสการปิด ทองกราบไหว้พระพุทธบาทจำลองสร้างเมื่อ พ.ศ.2469 นั้นเป็นไปในด้านวัตถุในด้าน ทางจิตใจในด้านทางสายวิชาแล้วหลวงปู่หิ่มนับเป็นหนึ่งในส่วนนี้ท่านเก่งใน ทางปรุงยาเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านได้อย่างน่าอัศจรรย์คนบ้าคนคลั่งหรือโรค มะเร็งเมื่อมาหาหลวงปู่หิ่มเพื่อให้ท่านรักษาหลวงปู่หิ่มจะให้คนปั้นหุ่นดิน เหนียวแทนตัวคนป่วยลงวันเดือนปีเกิดพร้อมด้วยเงินค่าครู๑สลึง(สมัยนั้น) แล้วท่านจะนั่งตรวจดูอาการคืนหนึ่งก่อน จึงจะปรุงยาให้ไปเมื่อคนไข้ได้รับยานั้นไปรับประทานแล้วจะหายแทบทุกราย

 

ในส่วนสายพระเวทด้านอักขระพระคาถาไม่เป็นที่เปิดเผยกันมากนักทราบเพียงแต่ว่า หลวงปู่หิ่มท่านสุดยอดในสายพระเวทคาถามีอะไรแปลกๆอยู่เสมอในส่วนการสักยันต์ นั้นหลวงพ่อเปิ่นท่านรับมาจากหลวงปู่หิ่มเต็มๆพ.ศ.2495 หลวงปู่หิ่มก็มรณภาพ ลงพ.ศ.2496-พ.ศ.2616 พระอธิการทองอยู่ ปทุมรัตน เป็นเจ้าอาวาสพ.ศ.2518-พ.ศ.2545 พระอุดมประชานาถ(หลวงพ่อเปิ่น) เป็นเจ้าอาวาส

ความเป็นมาของอุโบสถหลังเก่าของวัดบางพระนั้นไม่มีการบันทึกเอาไว้ว่าสร้างใน สมัยใดมีเพียงการคาดคะเนเอาตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันคำนวณเอาจาก อายุของเนื้อแท้ของถาวรวัตถุลักษณะโบสถ์เป็นแบบมหาอุตม์พื้นที่ภายในกำแพลง แก้วยกดินสูงมีสถูปเจดีย์ล้อมรอบสี่ด้านด้านหน้าหันออกสู่แม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน)ด้านหน้ามีเรือสำเภาก่ออิฐถือปูนกลางลำเรือก่อขึ้นไปเป็นเจดีย์เป็น การบ่งให้ทราบว่าแถบถิ่นแถวนี้มีการค้าขายกันทางเรือเมื่อชุมชนขยายผู้คน เข้ามาอาศัยกันมากขึ้นล่วงมาจนหลวงปู่หิ่มท่านเล็งเห็นว่าอุโบสถหลังเก่า นั้นเล็กเกินไปเมื่อทำสังฆกรรมจึงไม่ค่อยสะดวกไม่พอที่จะรองรับญาติโยมเป็น จำนวนมากและสภาพของโบสถ์นั้นก็ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลาโบสถ์หลังใหม่ของ วัดบางพระจึงกำเนิดขึ้นมาในสมัยนั้นในการสร้างโบสถ์หลังใหม่นั้นท่านได้ เกณฑ์พระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านมาช่วยกันทำโดยการชักลากไม้ในป่าแถวนั้นเล่ากัน ต่อๆมาว่าพื้นที่แถบนั้นยังเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยต้นไม้และสัตว์ ป่านานาชนิดโดยมีชาวบ้านมาช่วยกันอย่างมืดฟ้ามัวดินทั้งนี้เป็นเพราะบุญ บารมีของหลวงปู่หิ่มนั่นเองโบสถ์หลังใหม่ที่หลวงปู่หิ่มสร้างใหม่นั้นค่อน ข้างใหญ่โตในละแวกคุ้งน้ำนครชัยศรีนับ เนื่องแล้วเวลานั้นถือเป็นหนึ่งได้ทีเดียวเสาที่สร้างโบสถ์เป็นไม้ขนาดใหญ่ ส่วนเพดานโบสถ์ปูด้วยแผ่นไม้กระดานทั้งหมดภายในอุโบสถประดิษฐานหลวงพ่อโต (พระประธาน) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมารหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปที่ ศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมากในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยปรากฏว่ามีคนเห็น องค์หลวงพ่อโตมีน้ำตาไหลออกมาจากพระเนตรทั้งสอง สาธุชนที่เข้าบนบานต่อองค์ หลวงพ่อโตมักจะประสบผลสำเร็จในทุกอย่างการบนบานหลวงพ่อโตท่านชอบว่าวจุฬา และประทัด

หลวงปู่หิ่มสร้างโบสถ์หลังใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2470 จนกระทั่งล่วงมาถึงยุคสมัย ของหลวงพ่อเปิ่นปกครองวัดบางพระศาสนวัตถุเริ่มทรุดโทรมลงไปโบสถ์ที่ทำสังฆกรรมซึ่งทำมาจากไม้เริ่มผุกร่อนเพดานโบสถ์หักพังมีรูรั่วอยู่ทั่วไปฝน ตกลงมาพระภิกษุสงฆ์ทำสังฆกรรมไม่สะดวกได้รับความเดือดร้อนกันมากจึงเริ่มที่ จะทำการบูรณะกันใหม่เปลี่ยนจากเสาไม้มาเป็นเสาปูนเพดานก็เทคานพื้นเพดานเท ปูนทั้งหมดเพื่อความคงทนในการบูรณะนั้นค่อนข้างจะเป็นงานใหญ่เพราะต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมากช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจไม่ดีร้านค้าบริษัทโรงงานได้ปิดกิจการเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังหลวงพ่อเปิ่นในสมันนั้นยังไม่ค่อยมีชื่อเสียง มากมายสักเท่าไหร่ถนนหนทางที่เข้าไปยังวัดบางพระยังขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อพอ ฝนตกลงมาสภาพถนนกลายเป็นโคลนตมสาธุชนที่เข้าไปในวัดบางพระในเวลานั้นเข้าไป ด้วยพลังศรัทธาอันสูงส่งต่อหลวงพ่อเปิ่นเข้ากราบด้วยศรัทธาอันใสบริสุทธิ์ บุญบารมีของหลวงพ่อเปิ่นในการจรรโลงพระศาสนาในการสร้างศาสนวัตถุแม้ท่านจะ ลำบากตรากตรำทำงานหนักเพียงใดท่านไม่เคยบ่นหรือย่อท้อยิ้มแย้มแจ่มใสเต็มไปด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่งเมตตาธรรมที่ท่านมอบให้กับสาธุชนที่เข้ากราบสาธุชน ที่เดือดร้อนทุกข์ยากพระเครื่องเหรียญวัตถุมงคลที่ท่านมอบให้ไปนั้นเกิดเป็น ประสบการณ์อย่างมากมายจนถึงปัจจุบันต่างยอมรับกันว่าหลวงพ่อเปิ่นท่านเป็นพระแท้ที่สร้างสมบารมีด้วยการพัฒนาจนลือเลื่องยอมรับกันไปทั่วทั้งในประเทศ และต่างประเทศในเวลานี้

ในปัจจุบัน ท่านพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์ ปภสฺสโร) ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางพระ ซึ่งท่านก็ได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อจากหลวงพ่อเปิ่นได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

 

ลำดับเจ้าอาวาส

รูปที่ ๑ ฯลฯ พ.ศ. ถึง พ.ศ. (ไม่ปรากฏข้อมูล)

รูปที่ ๒ ฯลฯ พ.ศ. ถึงพ.ศ (ไม่ปรากฏข้อมูล)

รูปที่ ๓ พระอธิการเฒ่า พ.ศ.๒๓๓๐ ถึง พ.ศ.๒๓๗๙

รูปที่ ๔ พระอธิการวัชร์ พ.ศ.๒๓๘๐ ถึง พ.ศ.๒๔๑๙

รูปที่ ๕ พระอธิการแพ พ.ศ.๒๔๒๐ ถึง พ.ศ.๒๔๔๐

รูปที่ ๖ เจ้าอธิการหิ่ม อินฺทโชโต พ.ศ.๒๔๔๑ ถึง พ.ศ.๒๔๙๕

รูปที่ ๗ พระอธิการอยู่ปทุมรัตน พ.ศ.๒๔๙๖ ถึง พ.ศ.๒๕๑๖

รูปที่ ๘ พระอุดมประชานาถ (เปิ่น ฐิตคุโน) พ.ศ.๒๕๑๗ ถึง พ.ศ.๒๕๔๕

รูปที่ ๙ พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (สำอางค์ ปภสฺสโร) พ.ศ.๒๕๔๕ ถึงปัจจุบัน

 

วัดบางพระสังกัดมหานิกาย อยู่ในการปกครองคณะสงฆ์ตำบลวัดละมุด(วัดศรีมหาโพธิ์) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ภาค 14

 


วัดบางพระ หลวงพ่อเปิ่น

แชร์

วัดบางพระ เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120 แผนที่

รีวิว 0 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด

ปิด

จ.9.00 - 17.00
อ.9.00 - 17.00
พ.9.00 - 17.00
พฤ.9.00 - 17.00
ศ.9.00 - 17.00
ส.9.00 - 17.00
อา.9.00 - 17.00

034 389 333

info@bp.or.th

693

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 0 รายการ)

สถานที่ใกล้เคียง

วัดกลางบางพระ หลวงพ่อสมหวัง วัดกลางบางพระ หลวงพ่อสมหวัง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.37 กิโลเมตร

ดูบัว คาเฟ่ ฟาร์ม ดูบัว คาเฟ่ ฟาร์ม (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.45 กิโลเมตร

วัดศรีมหาโพธิ์ วัดศรีมหาโพธิ์ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 5.51 กิโลเมตร

ตลาดน้ำวัดลำพญา ตลาดน้ำวัดลำพญา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 6.89 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

โบ๊ทเฮ้าส์ บูทีค ริเวอร์ไซต์ โบ๊ทเฮ้าส์ บูทีค ริเวอร์ไซต์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.63 กิโลเมตร

บ้านสวน รีสอร์ท วัดกลาง บางพระ บ้านสวน รีสอร์ท วัดกลาง บางพระ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.57 กิโลเมตร

บ้านสวนโฮมสเตย์ วัดกลาง บางพระ บ้านสวนโฮมสเตย์ วัดกลาง บางพระ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.71 กิโลเมตร

แม่น้ำ รีสอร์ท นครชัยศรี แม่น้ำ รีสอร์ท นครชัยศรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.91 กิโลเมตร

ละมุด ละมุน รีสอร์ท ละมุด ละมุน รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.07 กิโลเมตร

เพ็ญสุข รีสอร์ท เพ็ญสุข รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.50 กิโลเมตร

หม่อมไฉไล ริเวอร์ รีทรีท หม่อมไฉไล ริเวอร์ รีทรีท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.72 กิโลเมตร

เรือนไม้ ชายน้ำ เรือนไม้ ชายน้ำ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 6.10 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

ดูบัว คาเฟ่ ฟาร์ม ดูบัว คาเฟ่ ฟาร์ม (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.45 กิโลเมตร

Mooyoo Cafe มูยู่คาเฟ่ Mooyoo Cafe มูยู่คาเฟ่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.01 กิโลเมตร

Tree and Tide Riverside Cafe Tree and Tide Riverside Cafe (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.12 กิโลเมตร