“วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา ลานจาตุรงคสันนิบาต สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่พระพุทธองค์แสดงพระโอวาทปาติโมกข์ อันเป็นการกำเนิดวันมาฆบูชา”

วัดหรือสวนเวฬุวัน คือ วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) 

ผู้แสวงบุญนิยมไปยัง "ลานจาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นลานเล็กๆ มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่กลางซุ้ม ลานนี้สันนิษฐานว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในวันมาฆบูชา พระสาวกจำนวน 1,250 รูป หลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน

ปัจจุบันลานด้านทิศตะวันตกของสระกลันทกนิวาป เป็นลานกว้างลานเดียวในบริเวณวัดที่ไม่มีโบราณสถานอื่นตั้งอยู่ โดยนำพระพุทธรูปยืนปางประทานพรไปประดิษฐานไว้บริเวณซุ้มเล็กๆ กลางลาน ที่ลานนี้ พระมหาน้อย (ดร.พระมหาปรีชา กตปุญโญ) พระธรรมทูตอาสาแห่งวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ประเทศอินเดีย และเป็นพระธรรมวิทยากรนำบรรยายเกี่ยวกับพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบล นำคณะจาริกบุญไทยเข้าสวดมนต์ภาวนาที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร นี้

ในสมัยพุทธกาล สวนป่าไผ่สถานที่อยู่ของกระรอก กระแต นั้น พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ถวายพระราชอุทยานให้เป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา ปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์ไว้จากทางการอินเดีย อยู่ที่กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย เมืองบาป เมืองที่ถูกทิ้งร้างไป ด้วยเหตุแห่งปิตุฆาต หลายชั่วอายุคน

หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน

วัดเวฬุวันแห่งนี้ได้รับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาด โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันกว่าพันปี

แต่จากเหตุการณ์ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 70 ที่เริ่มจากอำมาตย์และราษฎรพร้อมใจกันถอดกษัตริย์นาคทัสสก์แห่งราชวงศ์ของพระเจ้าพิมพิสารออกจากพระราชบัลลังก์ และยกสุสูนาคอำมาตย์ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าลิจฉวีในกรุงเวสาลีแห่งแคว้นวัชชีเก่า ให้เป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แล้ว พระเจ้าสุสูนาคจึงได้ทำการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองเวสาลีอันเป็นเมืองเดิมของตน และกษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้ากาลาโศกราช ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาค ได้ย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธอีก จากเมืองเวสาลีไปยังเมืองปาตลีบุตร ทำให้เมืองราชคฤห์ถูกลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัดเวฬุวันขาดผู้อุปถัมภ์และถูกทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพันปีถัดมา

โดยปรากฏหลักฐานบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน (Fa-hsien) ที่ได้เข้ามาสืบศาสนาในพุทธภูมิในช่วงปี พ.ศ. 942 - 947 ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ (พระเจ้าวิกรมาทิตย์) แห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ว่า เมืองราชคฤห์อยู่ในสภาพปรักหักพัง แต่ยังทันได้เห็นมูลคันธกุฎีวัดเวฬุวันปรากฏอยู่ และยังคงมีพระภิกษุหลายรูปช่วยกันดูแลรักษาปัดกวาดอยู่เป็นประจำ แต่ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกถึงสถานที่เกิดเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตแต่ประการใด

แต่หลังจากนั้นประมาณ 200 ปี วัดเวฬุวันก็ถูกทิ้งร้างไป ตามบันทึกของพระถังซำจั๋ง (Hiuen-Tsang) ​ซึ่งได้จาริกมาเมืองราชคฤห์ราวปี พ.ศ. 1300 ซึ่งท่านบันทึกไว้แต่เพียงว่า ท่านได้เห็นแต่เพียงซากมูลคันธกุฎีซึ่งมีกำแพงและอิฐล้อมรอบอยู่เท่านั้น (ในสมัยนั้นเมืองราชคฤห์โรยราถึงที่สุดแล้ว พระถังซำจั๋งได้แต่เพียงจดตำแหน่งที่ตั้งทิศทางระยะทางของสถูปและโบราณสถานเก่าแก่อื่น ๆ ในเมืองราชคฤห์ไว้มาก ทำให้เป็นประโยชน์แก่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีในการค้นหาโบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองราชคฤห์ในปัจจุบัน)


"ลานจาตุรงคสันนิบาต" ซุ้มพระพุทธรูปกลางลานนี้ เป็นจุด 1ใน 2 แห่งของกรุงราชคฤห์ ที่ผู้แสวงบุญนิยมไปสักการะ 1 ใน 2 แห่งของกรุงราชคฤห์ อีกจุดหนึ่งคือ พระมูลคันธกุฎี บนยอดเขาคิชฌกูฏ

วัดเวฬุวันมหาวิหาร

แชร์

Nimal, ราชคฤห์ เขตนาลันทา รัฐพิหาร อันเดีย 803116 แผนที่

รีวิว 0 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด,ศาสนสถาน,สถานที่,วัด

เปิด : 6.00 - 18.00

จ.6.00 - 18.00
อ.6.00 - 18.00
พ.6.00 - 18.00
พฤ.6.00 - 18.00
ศ.6.00 - 18.00
ส.6.00 - 18.00
อา.6.00 - 18.00

2370

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 0 รายการ)

สถานที่ใกล้เคียง

สถูปพระเจ้าอชาติศัตรู สถูปพระเจ้าอชาติศัตรู (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.32 กิโลเมตร

วัดไทยสิริราชคฤห์ วัดไทยสิริราชคฤห์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.77 กิโลเมตร

ชีวกัมพวัน ชีวกัมพวัน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.95 กิโลเมตร

เขาคิชฌกูฏ ราชคฤห์ เขาคิชฌกูฏ ราชคฤห์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.30 กิโลเมตร