“เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๐๗ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส เ ”
เป็นครั้งแรกดังปรากฏในลายพระหัตถ์ที่ได้พระราชทานเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่และสมาชิกนิคมฯว่า “สุคิริน ขอให้นิคมนี้ จงมีความเจริญรุ่งเรือง คนอยู่ในศีลธรรม เพื่อความสุขของตนเองและส่วนรวม” การรับเสด็จในครั้งนั้น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่นิคมฯ ได้กราบบังคมทูลเชิญพระองค์ท่านเสด็จประทับ ณ เรือนรับรองนิคมฯ ซึ่งเป็นอาคารหลังเล็กๆ เท่านั้น ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ เนินเขาไอดีแย เดิมเป็นพื้นที่ของ นายเจ๊นาแว หะมะ เป็นคนบ้านเอราวัณ อำเภอแว้ง ได้เข้ามาปรับพื้นที่ป่ารกร้างเป็นคนแรกประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๔ เพราะเข้ามาหาพื้นที่ทำกิน ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณนิคมในปัจจุบัน
สมเด็จย่า พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายเจ๊ะนาแว หะมะ เข้า เฝ้าเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายที่ดินบริเวณเขาไอดีแยให้นิคมก่อสร้าง ตำหนักประทับ ทั้งนี้ สมเด็จย่า ได้พระราชทานข้าวสาร ๒ กระสอบและเงินจำนวน ๕๐๐ บาท ให้กับ นายเจ๊ะนาแว หะมะ ผู้ถวายที่ดินให้พระองค์
นายเจ๊ะนาแว หะมะ เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๕๘ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๐ อายุ ๘๒ ปี ตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาประจำหมู่บ้าน อาชีพเลี้ยงช้างและรับจ้างขนส่งสิ่งของ มีบุตร ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน ได้แก่
๑. นายดือเลาะ เจ๊ะนาแว
๒. นางกามาลอ เจ๊ะนาแว
๓. นายรอยาลี เจ๊ะนาแว
๔. นายเจ๊ะวอนิ เจ๊ะนาแว
๕. นางแยนะ เจ๊ะนาแว
๖. นางรอกีเยาะ เจ๊ะนาแว
ทั้งหมดมีอาชีพ ทำสวนยางพารา
ต่อมาในปี ๒๕๐๘ นายสุวรรณ รื่นยศ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ในขณะนั้น ได้ดำริให้นิคมฯ ดำเนินการก่อสร้างตำหนักขึ้น เพื่อทูลเกล้าถวายเป็นที่ประทับระหว่างปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่นิคมฯ โดยกรมประชาสงเคราะห์ให้การสนับสนุนงบประมาณ ดังนั้น ตำหนักจึงได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ มีนายสิน วงศ์เพชร ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองคนแรก เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง มีนายประวัติ รัตนชำนอง หัวหน้าฝ่ายช่าง กรมประชาสงเคราะห์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๙ เดือน จึงแล้วเสร็จและได้กราบบังคมทูลถวายตำหนักแด่พระองค์ท่าน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาและในปี ๒๕๑๐ สมเด็จเด็จย่า ได้เสด็จประทับ ณ ตำหนักสุคิริน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานคำว่า“สุคิริน” ให้เป็นชื่อของตำหนัก มีความหมายเป็นศิริมงคลว่า “พันธุ์ไม้อันเขียวชอุ่ม” ซึ่งสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา ป่าไม้ และพืชพรรณไม้นานาชนิด ชื่อดังกล่าว จึงถูกตั้งเป็นชื่อของนิคมสร้างตนเองสุคิริน และกิ่งอำเภอสุคิริน ในเวลาต่อมา และชาวบ้านมักเรียกนิคมสุคิรินในภาษามลายูว่า “นิคมเมาะรายอ” หรือ "นิคมเจ๊ะนาแว"