“กำแพงเมืองแพร่สร้าง ปางบรรพ์ เป็นขอบเขตคูคัน โอบล้อม พูนดินก่อเป็นสัน เสริมอิฐ บรรพบุรุษเตรียมการพร้อม ปิดกั้นอันตราย นอกเมืองทิศเหนือตก ยามอุทกภัยไหลล้นฝั่ง น้ำยมเซาะตลิ่งพัง ถาโถมถั่งหลั่งเนืองนอง บ่อาจท่วมเมืองได้ น้ำไหลคืนสู่คูคลอง กำแพงเป็นเขตป้องกัน น้ำหลากเวียงพ้นภัย แม้มีไพรีรุก มิอาจบุกเข้าเมืองได้ คงยากจะชิงชัย สมัยโบราณประโยชน์มี หลักฐานประวัติศาสตร์ สมบัติชาติอย่าย่ำยี กำแพงเมืองเป็นศักดิ์ศรี คูเมืองชี้แหล่งอารยธรรม (วรพร บำบัด ......ประพันธ์)”
สถานที่ตั้ง อยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ประวัติความเป็นมา ไม่ปรากฎแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่มีอายุมากกว่า ๑,๑๐๐ ปี คือมีหลักฐานจากประวัติวัดหลวง ที่กล่าวว่า " ....พ.ศ. ๑๓๗๔ ท้าวพหุสิงห์ ราชโอรสของพ่อขุนหลวงพล ขึ้นครองเมืองพลทรงรับสั่งให้ขุนพระวิษณุวังไชย เป็นแม่งานทำการบูรณะอารามวัดหลวง มีการหุ้มทองพระเจ้าแสนหลวงทั้งองค์ ขยายกำแพงวัดออกไปถมกำแพงเมือง ก่ออิฐให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำขุนยมไหลเอ่อท่วมเวียง แล้วฉลองสมโภช ๕วัน ๕ คืน..." แสดงว่ากำแพงเมืองมีการสร้างมาก่อนแล้ว ลักษณะทั่วไป กำแพงเมืองแพร่เป็นกำแพงชั้นเดียว ขนาดความสูงประมาณ ๗ เมตร ความกว้างของฐานกำแพงประมาณ ๑๕ เมตร ยาวรอบตัวเมือง ซึ่งมีรูปร่างรีคล้ายหอยสังข์ เป็นระยะทางประมาณ ๔,๐๐๐ เมตร ตัวกำแพง ภายในเป็นอิฐก้อนโบราณขนาดใหญ่และหินเรียงกันอยู่ แต่ดูจากภายนอกจะเป็นเนินดิน มีประตูเมือง ๔ ประตู ได้แก่ ประตูใหม่อยู่ทางทิศเหนือ ประตูชัยอยู่ทางทิศตะวันออก ประตูมารอยู่ทางทิศใต้และประตูศรีชุม อยู่ทางทิศตะวันตก ระยะจากประตูศรีชุมก่อนถึงประตูใหม่ประมาณ ๒๐๐ เมตร จะมีประตูเล็กๆ สำหรับนำสัตว์ออกไปเลี้ยงนอกเมือง เรียกว่า ประตูเลี้ยงม้า ทุกประตูจะมีป้อมปราการ ถัดจากกำแพงออกไปด้านนอกจะมีคูน้ำกว้างประมาณ ๒๐ เมตร ส่วนด้านในกำแพงมีถนนสายรอบเวียง ซึ่งบางช่วงเป็นถนนอยู่ บนสันกำแพง ได้แก่ถนนทางด้านทิศตะวันตกตั้งแต่ถนนศรีชุมไปจนถึงประตูใหม่ หลักฐานที่พบ ในปัจจุบันยังมีแนวกำแพงเมืองปรากฎหลักฐานให้เห็นอย่างเด่นชัดและมีความสมบูรณ์อยู่มาก ช่วยป้องกันน้ำแม่ยมท่วมในเมืองไว้ได้จนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้ว่าบางส่วนจะถูกบุกรุกตัดเป็นถนน และมีการสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่บ้าง ปัจจุบันชาวบ้านเรียกคูน้ำว่า "คือเมือง" หรือ "น้ำคือ" และเรียกกำแพงเมืองว่า"เมฆ" เส้นทางเข้าสู่กำแพงเมืองแพร่ เส้นทางที่ ๑ ถนนสายเจริญเมือง เข้าทางประตูชัย เส้นทางที่ ๒ ถนนบ้านใหม่ เข้าทางประตูใหม่ เส้นทางที่ ๓ เข้าทางสามแยกบ้านในเวียงทางประตูมาน เส้นทางที่ ๔ เข้าบ้านสุพรรณ และมหาโพธิ์ ข้ามสะพานน้ำยมเข้าประตูศรีชุม ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘ ช่วยกันหักล้างถางพงพบต้นไม้ใหญ่เป็นต้นมะม่วงขึ้นคลุมพระนอนคล้ายกับร่ม ชาวบ้านเกิดศรัทธา จึงช่วยกันบูรณะ ซ่อมแซมให้สวยงามและแข็งแรง และได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่าวัดม่วงคำ ต่อมาพบแผ่นทองคำจารึกของพระนามพิมพาจึงได้รู้ว่าวัดม่วงคำ แต่เดิมชื่อ วัดพระนอน และสันนิฐานว่าวัดพระนอนนี้ได้สร้างสำเร็จในเดือนเก้าเหนือขึ้นสิบห้าค่ำ ทั้งนี้โดยถือเอาคำจารึกในแผ่นทองคำเป็นหลักและพระ ประธานในวิหารใหญ่นั้นชื่อหลวงพ่อ มงคลทิพณี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้างแต่มีเพียงตัวหนังสือ เขียนไว้ว่าวัดพระนอนเป็นโบราณสถาน มีแต่นานเนื่องมาน่านับถือมีประวัติสืบเล่าเขาเลื่องลือ ว่าได้ชื่อพระนอนก่อนเก่ากาลอนุชนรุ่นหลังฟังไว้ ขอภูมิใจซึ่งคุณค่ามหาศาลมรดกตกทอดตลอดนาน อยู่คู่บ้านเมืองแพร่แต่นี้เทอญฯ