“มีภาพจิตรกรรมฝาผนั่ง สวยงามแปลกตา ภายนอกโบสถ์มีสิม เด่นในการใช้สีแต้ม”
วัดไชยศรี ชาวบ้านเรียก "วัดใต้" ตั้งอยู่ที่บ้านสาวะถี มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 8 ไร่เศษ ตามหลักฐานทราบว่าตั้งวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2408 ส่วนโบสถ์หรือสิมนี้ ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่คงสร้างประมาณ ปีพ.ศ. 2443 ได้รับ วิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยมีหลวงปู่อ่อนสา เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดนี้ เป็นผู้ออกแบบและพาญาติโยมสร้างขึ้น
สำหรับลักษณะของโบสถ์นี้ ฐานส่วนล่างและผนังเป็นแบบก่ออิฐฉาบปูน ช่วงบนเดิมเป็นแบบไม้ทั้งหมด รวามทั้งหลังคาด้วย บานประตูและหน้าต่างแกะสลัก ส่วนภาพฝาผนังเป็นฝีมือช่างเขียนภาพพื้นบ้านชื่อ นายทอง ทิพย์ชา เป็นคนชาวอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม โดยการเขียนภาพนี้ เขียนตามที่หลวงปู่อ่อนสา ท่านกำหนด ให้ผนังด้านในส่วนมาก เป็นภาพอดีตพุทธะมหาเวสสันดร สังข์สินไชย ภาพเทพและภาพสัตว์ต่าง ๆ ผนังด้านนอกเป็นภาพนรก 8 ขุม (หลุม) และวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องสังข์สินไชย ลักษณะเด่นคือ เป็้นการเขียนแบบช่างพื้นบ้านและเขียนด้วยสีฝุ่นซึ่งหามาจากธรรมชาติ
สิ่งที่น่าสนใจ ภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งภายนอกและภายในโบสถ์ที่ดูสวยงามแปลกตา ฝีมือช่างพื้นบ้านชาวมหาสารคาม ชื่อนายทอง ทิพย์ชา เขียนด้วยสีฝุ่น ใช้สีเหลืองและสีครามหรือสีน้ำเงินเป็นหลักมองสบายตา ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านนอกเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดร นรกเจ็ดเข็ม และนิทานพื้นบ้านเรื่องสังสินไซ (สังขฺสินไซ) ส่วนด้านในเขียนเรื่องอดีตพระพุทธเจ้า พระเวสสันดร และเรื่องสังสินไซ ในธรรมเนี่ยมประเพณีเดิม ห้ามผู้หญิงขึ้นและเข้าไปในโบสถ์ ด้วยฝีมือช่างพื้นบ้าน ภาพที่เขียนออกมาจึงเน้นที่อารมณ์ของบุคคลในภาพ สัดส่วนมีลักษณะเกินจริง แสดวงท่าทางโลดโผน สนุกสนาน คล้ายภาพการ์ตูน
ลักษณะการเขียนภาพเน้นสัดส่วนที่เกินจริง อารมณ์ของภาพดูสนุกสนาน ตัวละครจะออก ท่าทางโลดโผน เรื่องราวที่เขียนบนฝาผนังด้านนอกเป็นรูปนรกแปดขุม ภาพพระเวสสันดร นิทานพื้นบ้าน เรื่องสังข์สินไชย ภาพทวารบาล ส่วนด้านในจะเล่าเรื่องพุทธประวัติ มีภาพเทพ มนุษย์ และสัตว์ต่างๆ แต่ ปรกติวัดในต่างจังหวัดยังคงเคร่งตามประเพณีเดิม คือผู้หญิงไม่สามารถเข้าไปภายในโบสถ์ได้ ซึ่งวัด ไชยศรีก็เป็นวัดหนึ่งที่ยังรักษาธรรมเนียมนี้อยู่ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของสิมโบราณ เดิมเป็นหลังคาแบบอีสานคือมีปีกยื่น ต่อมาหลังคาชำรุด ชาวบ้าน จึงร่วมกันปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ซึ่งไม่สามารถ กันแดดกันฝนได้ทั่วถึงจึงทำให้ภาพจิตรกรรมที่ผนังด้านนอกเลือนไปบ้าง แต่อย่างไรก็ดีกรมศิลปากรก็ได้เข้ามาต่อเติม ปีกด้าน ข้างของโบสถ์ นอกจากนั้นยังยกพื้นขึ้นเพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะฐานด้วย
การเดินทาง
ไปตามถนนมะลิวัลย์สายขอนแก่น-ชุมแพ ถึงกม.ที่ 14 แล้วเลี้ยวขวาไปตาม เส้นทางหมู่ บ้านสาวะถี ผ่านบ้านม่วงรวมระยะทางประมาณ 7 กม. เป็นทางลูกรังประมาณ ครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าจะไป โดยทางลาดยางตลอดต้องอ้อมนิดหน่อยผ่านบ้านม่วง บ้านโคกล่าม บ้านหนองตาไก้ บ้านม่วงโป้ บ้านโนนกู่ และเข้าสู่สาวะถี รวมระยะทาง 21 กม.
รถประจำทาง - ขึ้นรภสายขอนแก่น - สาวะถี