“วัดเจ็ดยอด มีเจดีย์แบบพุทธคยา ”
วัดเจ็ดยอด หรือ วัดโพธารามมหาวิหาร พระอารามหลวง เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นสามัญ มีเจดีย์แบบพุทธคยา ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่เป็นบริเวณวัดในปัจจุบันประมาณ 37 ไร่ 3 งาน 61 ตารางวา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดอยู่ติดกับถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ซึ่งเป็นทางคมนาคมสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปชมปูชนียวัตถุและโบราณสถานของวัดเจ็ดยอดได้สะดวก
วัดเจ็ดยอดเป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าติโลกราช รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1998 โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต หรือ สีหโคตรเสนาบดี เป็นนายช่างทำการก่อสร้าง สร้างวัดโพธารามมหาวิหาร สร้างด้วยศิลาแลงประดับลวดลายปูนปั้น เป็นเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย พ.ศ. 2020 วัดโพธารามมหาวิหาเป็นที่สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก ปัจจุบันเจดีย์เจ็ดยอดหักพังไปเกือบหมด
เที่ยวได้ทุกวัน
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 3 รายการ)
รีวิวเมื่อ 27 ก.ค. 53


รีวิวเมื่อ 27 ก.ค. 53
เจดีย์เจ็ดยอด
เป็นโบราณสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย เชื่อว่าถ่ายแบบมาจากมหาโพธิ์เจดีย์พุทธคยาประเทศอินเดีย สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราชโปรดให้จัดการประชุมพระเถรานุเถระ ทั่วทุกหัวเมืองในอาณาจักรล้านนาแล้วทรงคัดเลือกได้พระธรรมทิณ เจ้าอาวาสวัดป่าตาล ผู้ทรงอบรมรู้ภาษาบาลีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระองค์ทรงเป็นพระธานฝ่ายคฤหัสถ์ ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่เป็นลำดับที่ ๘
โดยทำมาแล้วทั้งในอินเดียและศรีลังกา นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย


รีวิวเมื่อ 27 ก.ค. 53
เมื่อพระเจ้าติโลกราชสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๐๓๐ พระยอดเชียงรายราชนัดดาได้สืบราชสมบัติแทน โปรดให้สร้างจิตกาธาน
(เชิงตะกอน) ขึ้นในวัดนี้เพื่อเป็นสถานที่ฌาปนสถานถวายพระเพลิงพระศพของพระดัยกาธิราชแล้วโปรดให้สร้างพระสถูปใหญ่
เพื่อบรรจุพระอัฐิและพระอังคารธาตุของพระเข้าติโลกราชไว้ภายในบริเวณวัดสถูปนี้ก่ออิฐถือปูน ทรงมณฑปสี่เหลี่ยม
ย่อมุมมีซุ้มคูหาเป็นจตุรมุข หลังคาทรงบัวกลม ส่วนเครื่องยอดต่อขึ้นไปก่อเป็นสถูปทรงระฆังกลม ซุ้มคูหาด้านทิศตะวันออก
ฝังเข้าไปในตัวมณฑป ประดิษฐานพระพุทธปฎิมากรปูนปั้นมารวิชัยหนึ่งองค์
