“ดอยอ่างขาง สถานีเกษตรหลวง ภายในโครงการมีแปลงพืชผักเมืองหนาว เช่น สตอร์เบอร์รี่ บ้วย ท้อ พลัมกุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ผักสดต่างๆ มีชาวเขา ร้านค้า ที่กางเต้นท์ตลาดชาวเขา ฯลฯ”
ดอยอ่างขาง เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่หาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง โดยมีชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง จีนฮ่อ และไทยใหญ่
นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม ฯลฯ พืชผักเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ เช่น แคร์รอท ผักสลัดต่างๆ สวนสมุนไพร แปลงดอกไม้ เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ
โรงบรรจุผลไม้เพื่อส่งจำหน่ายและสหกรณ์ของโครงการ ซึ่งจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ 137 กม. แยกซ้ายเข้าไปอีก 25 กม.
ดอยอ่างขางเป็นเทือกดอยสูงติดกับสันเขาพรมแดนประเทศพม่า จุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไปเยือนดอยอ่างขางคือการไปเที่ยวชมดอกไม้เมืองหนาวภายโครงการฯ สถานีเกษตรดอยอ่างขางได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่นและหยุดการทำลายป่า
ดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบในหุบเขาลักษณะเหมือนท้องกะทะหรือเหมือนอ่าง อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,400 เมตร ภายในโครงการมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาก เช่น แปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับกลางแจ้ง แปลงปลูกไม้ในร่ม แปลงทดลองกุหลาบ แปลงปลูกผัก แปลงปลูกผักในร่ม สวนท้อ สวนบ๊วย ป่าซากุระ ป่าเมเปิ้ล พระตำหนักอ่างขาง
ฤดูท่องเที่ยว พ.ย. - ก.พ. ทุกปี
การเดินทาง
จากเชียงใหม่ ใช้เส้นทางสาย 107 เชียงใหม่ ฝาง เป็นเส้นทางผ่านแม่ริม แม่แตง เชียงดาว ทางแยกเข้าดอยอ่างขางมี 2 เส้นทาง คือ แยกซ้ายที่ กม.79 เป็นเส้นทางใหม่ที่ไม่ชันมากแต่ทางจะเปลี่ยวหน่อย ระยะทางจากแยกทางหลวงสาย 107 ไปจนถึงอ่างขางมีระยะทางประมาณ 50 กม. อีกเส้นทางคือแยกที่ กม.137 มีระยะทางถึงอ่างขางประมาณ 25 กม. เป็นเส้นทางที่สั้นแต่ชันมาก รถเก๋งและรถทุกชนิดขึ้นได้ถ้าคนขับมีฝีมือ ถ้าไม่แน่ใจให้จอดรถไว้ที่วัดที่ปากทาง กม.137 หรือจอดรถไว้ที่บริเวณลานจอดรถเอกชนมีรั้วมิดชิด สถานที่รับจอดรถอยู่ตรงข้ามกับปากทางเข้าดอยอ่างขาง ค่ารถจอดคันละ 50 บาท แล้วนั่งรถสองแถวขึ้นไป หรือเหมารถขึ้นไป
คลิกดูนี่นะค่ะ https://www.thai-tour.com/place/chiangmai/fang/1122
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 57 รายการ)รีวิวเมื่อ 20 มี.ค. 57
รีวิวเมื่อ 20 ต.ค. 56
รีวิวเมื่อ 11 ต.ค. 56
รีวิวเมื่อ 28 เม.ย. 56
รีวิวเมื่อ 24 ม.ค. 56
รีวิวเมื่อ 8 พ.ย. 55
รีวิวเมื่อ 10 ม.ค. 55
รีวิวเมื่อ 4 พ.ย. 54
รีวิวเมื่อ 20 ก.ย. 54
รีวิวเมื่อ 13 ม.ค. 54
รีวิวเมื่อ 12 ม.ค. 54
รีวิวเมื่อ 9 ธ.ค. 53
รีวิวเมื่อ 11 พ.ย. 53
รีวิวเมื่อ 7 พ.ย. 53
รีวิวเมื่อ 14 ก.ค. 53
สถานที่ท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่
http://www.thai-tour.com/thai-tour/north/chiangmai/main.htm
รีวิวเมื่อ 14 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 14 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 14 ก.ค. 53
ผมเลือกที่จะกลับจากดอยอ่างขาง สู่จ.เชียงใหม่โดยใช้อีกเส้นทาง (ไม่เหมือนขามา)
รีวิวเมื่อ 14 ก.ค. 53
สภาพความเป็นอยู่จะดีกว่า ชาวเขาอื่นๆ
บางหลังมีทีวี รถกระบะ และสิ่งอำนวยความสะดวก อาจเป็นเพราะความที่เป็น พ่อค้าแม่ค้าในสายเลือด แทนที่จะทำเกษตร
รีวิวเมื่อ 14 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 14 ก.ค. 53
(รถขึ้นได้)
รีวิวเมื่อ 14 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 14 ก.ค. 53
----------------------------------------------
ฐานปฏิบัติการ นอแล
อยู่ในเขต หมู่บ้านนอแล (เผ่าปะหล่อง) หมู่ 14 ต.ม่อนปิ่น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
พิกัด NC 046045
ประมาณเส้นรุ้งที่ 19015'-19057' เหนือ
เส้นแวงที่ 99001'
สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,375 เมตร
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
ไร่สตอเบอร์รรี่ของชาวเขาใกล้บ้านนอแล (ปะหล่อง) ปลูกกันริมเชิงเขา อากาศถ่ายเท เย็นตลอดทั้งปี
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
ประเภทที่คุณภาพต่ำลงมาจะถูกคัดไปทำไอศรีม แทนที่จะนำไปขายทั้งผล
ผลผลิตพวกนี้ชาวเขาก็จะขายให้ทางโครงการอีกที
-------------------------------------------------------
เกล็ดความรู้
ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มแทงช่อดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงและช่วงแสงของวันสั้นเข้า คือ ประมาณหนึ่งเดือนหลังจากปลูก เมื่อดอกบานมรการผสมเกสรแล้วประมาณหนึ่งเดือน ผลจะเริ่มทยอยแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ โดยผลสุกมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคมและจะวายประมาณปลายเดือนเมษายน
การเก็บผลผลิตควรเก็บช่วงที่มีอากาศเย็น คือ ตอนเช้ามืดในสภาพอากาศแห้ง เมื่อเก็บแล้วไม่ควรให้ผลถูกแสงแดด เนื่องจากผลสตรอเบอรี่มีอัตราการหายใจสูง เมื่อถูกแสงแดดจะทำให้ผลเน่าเร็ว ในต้นหนึ่งๆจะมีผลสุกแตกต่างกัน ควรเลือกเก็บผลที่มีความแก่ตามที่กำหนดไว้เท่านั้น เก็บทุก 1 - 2 วัน โดยใช้ส่วนเล็บหัวแม่มือและนิ้วชี้เด็ดออกจากขั้ว หรือใช้กรรไกรชนิดที่ตัดขั้วผลและหนีบส่วนขั้วผลได้ด้วย ทำให้ผลสามารถติดมากับกรรไกรได้ นับว่าเป็นวิธีที่ทำให้ผลและต้นสตรอเบอรี่ไม่ชอกช้ำ ภาชนะที่ใช้บรรจุสตรอเบอรี่ขณะเก็บผลในแปลง ควรใช้ภาชนะทรงตื้นมีขนาดที่พอเหมาะ สามารถคัดเลือกคุณภาพของผลได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนภาชนะ เพื่อให้มีการจับต้องผลให้น้อยครั้งที่สุด และไม่ควรบรรจุผลสตรอเบอรี่มากเกินไป เพราะจะเกิดการกดทับทำให้ผลช้ำได้ ถึงแม้ว่าสตรอเบอรี่จะเป็นผลไม้ชนิดบ่มไม่สุก แต่สตรอเบอรี่สามารถมีสีแดงเพิ่มขึ้นได้หลังจากเก็บเกี่ยว ดังนั้นสตรอเบอรี่ที่เก็บเกี่ยวในขณะที่ผลยังไม่แดงทั้งผลจึงสามารถแดงพอดีเมื่อถึงตลาดปลายทาง การเก็บเกี่ยวผลสตรอเบอร่ที่มีผิวสีแดง 100 เปอร์เซนต์ จะทำให้การเกิดช้ำและมีเชื้อราเข้าทำลายระหว่างการขนส่งได้ง่าย การเก็บเกี่ยวผลิตเกษตรกรจะต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาด ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของตลาดว่าจะเป็นตลาดเพื่อโรงงานแปรรูปหรือตลาดเพื่อการบริโภคสด
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร doae.go.th
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
ดอกไม้ปลูกกลางแจ้ง เยอะดี
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
มีอยู่ร้านเดียวครับ ตรงข้ามกับแปลงสตอเบอร์รี่
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
ต้องเอาขาตั้งกล้องไปด้วยเน้อ...
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
ขายพืชผล ที่เราชม มีสวนไม้ดอก เช่น กล้วยไม้ โดยเฉพาะ ตระกูลรองเท้านารี ถ่ายรูปสวยมาก เช่น อินทนนท์ใบกว้าง ดอยตุง เหลืองอุดร คางกบคอแดง สุขะกุล คางกบเชียงใหม่ คางกบเขมร คางกบปักษ์ใต้ อินทนนท์ลาว
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
ชมสวนผลไม้ บอนไซ แต่อาจเห็นหรือไม่เห็น แล้วแต่ว่า เราเดินมาช่วงที่ ต้นไม้ชนิดนั้นออกดอกตามฤดูพอดีหรือเปล่า ดังนั้น ก็คงเห็นได้ไม่หมด
ปลายปี จะเป็นช่วงที่ท้อ ออก ผมก็เลยเห็นลูกท้อ กับดอกซากูระ (นางพญาเสือโคร่ง) และสตอเบอร์รี่ กล้วยไม้รองเท้านารี ฯลฯ พอดี
------------------------------------
ภาพถนนในโครงการ ทีเห็นขาวๆ เป็นหย่อม บนหญ้า ทางซ้ายมือ นั่งคือ น้ำค้าง ครับ
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
ชอบใบเมเปิ้ลที่นี่มาก ก็เลยเอาขึ้นเว็บเป็นรูปแรกๆ เลย
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
อาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารพื้นเมือง อาหารจีน หมูป่า ไม่ค่อยอร่อย แต่พอทานได้ รสชาติจะต่างๆ ไปหน่อย
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
-------------------------
ภาพตลาดยามดึก บ้านคุ้ม
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
จากการเสด็จพระราชดำเนินของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ไปเยี่ยมพสกนิกรและชาวไทยภูเขาหลายหมู่บ้าน ทรงทอดพระเนตรเห็นว่า ชาวเขาส่วนใหญ่ปลูกฝิ่นแต่ยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศโดยรวมของประเทศชาติ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติในอนาคตได้ ดอยอ่างขางก็เกิดปัญหาดังกล่าวที่จำเป็นต้องเข้ามาดำเนินการแก้ไขด้วยเช่นกัน
ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นจำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดิน และไร่จากชาวเขา ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง จากนั้นก็ทรงมอบหมายให้หม่อมเจ้าภีศเดชรัชนี ดำเนินการใช้เป็นสถานีทดลอง ปลูกไม้เมืองหนาว ให้เป็นตัวอย่างแก่ชาวเขา เพื่อชาวเขาจะได้นำวิธีการไปใช้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังที่ ทรงพระราชทานไว้ว่า “ให้ช่วยเขาช่วยตัวเอง” งานพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเขา และพัฒนาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ได้เริ่มต้นขึ้นด้วย
โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขาตั้งแต่เมื่อ ได้โปรดเกล้าฯจัดตั้ง โครงการหลวงเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อปีพ.ศ. 2512 การดำเนินงานของดอยอ่างขาง ก็ได้พัฒนาเป็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางกลางปีพ.ศ. 2514 ไต้หวันได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาสภาพพื้นที่ และความเหมาะสมในการปลูกไม้ผลเมืองหนาว หลังจากนั้นก็ได้ส่งเชื้อเห็ดหอม และพันธุ์พืชถวายโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อให้ทรงนำมาใช้ประโยชน์ ตามพระราชประสงค์ในโครงการหลวง โดยเฉพาะการเพาะเห็ดหอมนั้น เมื่อนำมาเพาะกับไม้ก่อ ซึ่งเป็นไม้ท้องถิ่นของภาคเหนือก็จะได้ผลผลิตเห็ดหอมสดๆ ส่งออกตลาดได้เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันสถานี เกษตร หลวง อ่าง ขาง ได้ ทดลอง ปลูก ไม้ ผล เมือง หนาว โดย เริ่ม จาก การ ปลูก แอปเปิ้ล และ พันธุ์ ไม้ อื่น ๆ ตาม มา
----------------------------
ตลาดหมู่บ้านคุ้ม
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ใช้เป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าวิจัยพืชผลเมืองหนาว ที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อนำผลการทดลองค้นคว้า และวิจัยไปส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขา ในพื้นที่ไปปลูก เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นเพื่อ ชาวเขาจะได้ตั้งหลักแหล่งที่อยู่ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และต้นน้ำลำธาร
ดอยอ่างขางนับได้ว่าเป็นพื้นที่“ที่สูง”เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศแหล่งหนึ่ง และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีแนวพระราชดำริให้การพัฒนาต่างๆในพื้นที่ จะต้องสอดคล้อง กับการอนุรักษ์พื้นที่นั้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก บนภูเขา เพื่อทดน้ำมาใช้ในการเกษตรกรรม หรือการปลูกป่าฟื้นฟูป่าธรรมชาติ
------------------------------
ภาพ ทะเลหมอกและบรรยากาศยามเช้าตรู่
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเที่ยวชมดอกไม้และพันธุ์พืชเมืองหนาว
----------------------------------
ภาพดอกไม้เมืองหนาว ในสวน 80
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
อ่างขาง ภาษาทางเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยม ลักษณะของดอยอ่างขางนั้น เป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขายาวๆ ล้อมรอบไปด้วยเขาสูงทุกด้าน ตรงกลางของอ่างขาง เดิมเป็นเขาสูงดังเช่นที่เห็นทั่วไป ในบริเวณใกล้เคียง แต่เนื่องจากเป็นเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆละลายเป็นโพรงแล้ว ยุบตัวลงกลายเป็นหลุม ในอดีต ดอยอ่างขางเคยมีหมู่บ้านชาวเขา ทั้งม้ง,เย้า และมูเซอ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และพื้นที่สามารถปลูกฝิ่นได้งาม เนื่องจากดินมีโครงสร้างที่เหมาะสมลักษณะอากาศ และภูมิประเทศก็เอื้ออำนวย
ดอยอ่างขางมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะตอนกลางคืน จะหนาวเย็นจัดที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ประกอบกับมีการทำไร่เลื่อนลอยชาวไทยภูเขา ในที่สุดก่อให้เกิดผลกระทบขึ้น เมื่อป่าไม้บนภูเขาเหลือน้อยฝนตกลงมา น้ำฝนก็ชะหน้าดินไหลลงสู่หุบเขาดิน ไม่สามารถอุ้มน้ำเอาไว้ได้ ทำให้ธาตุอาหารในดินลดน้อยลง เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินหมดไป ชาวไทยภูเขาก็หาพื้นที่ทำไร่ใหม่ต่อไป ซึ่งได้ส่งผลให้ดอยอ่างขาง มีสภาพเป็นดอยหัวโล้น มาเป็นระยะเวลาอันยาวนานจากอดีต
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 13 ก.ค. 53