“ศาลเจ้านาจาชาไท้จื้อ หรือวิหารเทพสถิตพระกิตติเฉลิม”

ศาลเจ้าจีนก่อสร้างอย่างสวยงามใหญ่โต ขนาดตึก 4 ชั้น ขนาด 4 ไร่ ภายในโอ่โถงตระการตา สถาปัตยกรรมแบบจีน รูปปั้นมังกรซึ่งมีมาถึง 2,840 ตัว กระถางธูปศักดิ์สิทธิ์ เสาฟ้าดิน ศาลจีนที่ก่อสร้างโดยมุลนิธิรัศมีมณีรัตน์อย่างสวยงามใหญ่โต สวยงามอลังการมาก ประดับด้วยสีสันลวดลายมังกร ทั้งสีทอง สีแดง สีเขียว

วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิมมีหลายสิ่งอันเป็นที่สุดแห่งศรัทธาที่กล่าวเช่นนี้เพราะสิ่งต่างๆนั้นมาจากความศรัทธา ของเหล่าศิษยานุศิษย์ที่มีต่อองค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อจึงพร้อมใจกันสร้างถวายแด่องค์ท่าน ปรากฎเป็นสิ่ง มงคลยิ่งใหญ่ให้ผู้ผ่านเข้ามาสักการะยังปูชนียสถานแห่งนี้ได้ประจักษ์ต่อสายตาประทับไว้ในจิตใจ และนี้คือ หลายสิ่งอันเป็นที่สุดในโลกที่เหล่าศิษยานุศิษย์ถวายด้วยแรงศรัทธา

 


ติดต่อ โทร. 038 398381 3, 038 398399, โทรสาร 038 398384

ไม่อนุญาติให้ถ่ายรูปภายในตัววิหาร มีพิธีกรรมอยุ่ในวิวหาร มีโรงเจ โรงทาน ที่จอดรถนอกตัวศาล ริมถนนได้ตลอดทาง ช่วงเทศกาลนักท่องเที่ยวเยอะมาก ตลอดทั้งวัน (ช่วงหลังวันตรุษจีน ทุกปี)

ขอบคุณข้อมูลจาก najathai.net

ศาลเจ้านาจาชาไท้จื้อ

แชร์

1/13 ม.5 ต.อ่างศิลา อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี 20000 แผนที่

รีวิว 5 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,ศาล,วัด

ไม่ทราบเวลาเปิดปิดที่แน่นอน

038-398381

http://www.บางแสน.com

6406

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 5 รายการ)

Not identifiable

รีวิวเมื่อ 24 ก.พ. 56

here
here

ถูกใจ แชร์

thejuk

รีวิวเมื่อ 27 มี.ค. 55

มุมมองจากวิหาร จะเห็นองค์เทพนาจา และเก๋งจีน
แลเห็นวิวทะเลไกลๆ
มุมมองจากวิหาร จะเห็นองค์เทพนาจา และเก๋งจีน
แลเห็นวิวทะเลไกลๆ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 14 ก.พ. 54

ประวัติ

ศาลเจ้าแห่งนี้เริ่มสร้างเมื่อราวเดือนมีนาคม   พ.ศ.  2534  บนเนื้อที่ประมาณ  200  ตารางวา  โดยท่านอาจารย์สมชาย   พุทธนพ  เป็นผู้ริเริ่มสร้างศาลเจ้าแห่งนี้  เดิมทีเป็นเพียงแค่ศาลเจ้าเล็ก  ๆ  ไม่ใหญ่โตมาก บรรดาลูกศิษย์และผู้ที่ให้ความเคารพนับถือมาสักการบูชาเป็นจำนวนมาก  ด้วยบารมีแห่งองค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อทำให้ผู้ที่มากราบไหว้  มีความร่มเย็นเป็นสุข  มีชีวิตที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองในธุรกิจการค้ามากมาย

 

เมื่อปี  พ.ศ. 2539  ท่านอาจารย์สมชาย   พุทธนพ    ท่านได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ โดยจะสร้างศาลเจ้าหลังใหญ่ขึ้นเพื่อ “  เฉลิมพระเกียรติครบรอบ  72  พรรษา ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ” ในการเริ่มก่อสร้างศาลนั้นเริ่มสร้างเมื่อวันอาทิตย์ที่  16   กรกฎาคม  พ.ศ. 2538  ปีกุน จ.ศ.1357 แรม  5  ค่ำ  เดือน  8  เวลาประมาณ  13.00  น. ตามจันทรคติจีน  ตรงกับ  เดือน 6  วันที่  19   เวลา  บี๋ซี้  ประกอบพิธีการวางศิลาฤกษ์โดยท่านอาจารย์สมชาย  พุทธนพ  ซึ่งขณะนั้น มีเงินทุนของศาลอยู่เพียง  3  ล้านกว่าบาทเท่านั้น  ซึ่งก็ได้ลูกศิษย์พ่อค้าประชาชนที่ให้ความเคารพได้ร่วมบริจาคเงินสร้างศาลเจ้ามาจนถึงปัจจุบันแล้วเสร็จเมื่อวันศุกร์ที่  7 เมษายน   พ.ศ.  2543   ปีมะโรง  จ.ศ.  1362  ขึ้น  4  ค่ำ  เดือน  5  ( ปฏิทินจีนตามจันทรคติ  ตรงกับวันที่  3   เดือน 3   ทำพิธีตามฤกษ์ เทวโองการ ( แต่ยังไม่เป็นทางการ )


เมื่อวันอาทิตย์ที่  16   เมษายน   พ.ศ. 2543 เวลา  08.39  น. จ.ศ.  1362  ขึ้น  13  ค่ำ  เดือน 5   ( ปฏิทินจีนตามจันทรคติ   คือ  เดือน 3  วันที่  12  เวลา  ซิงซี้  )  ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างกว่า  4  ปี   ใช้งบประมาณการก่อสร้างกว่า  300  ล้านบาท  สร้างอยู่บนเนื้อที่  5 ไร่  และยังมีเนื้อที่อยู่รอบศาลเจ้าอีกกว่า  9  ไร่   เมื่อวันที่  11   มกราคม  2541  สมเด็จพระสังฆราช ฯ  ได้เสด็จมาเป็นประธานพิธีเททองหล่อพระพุทธ  7  พระองค์  และทรงประทานพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   9  พระองค์  ให้แก่อาจารย์สมชาย   พุทธนพ  เพื่อทำพิธีบรรจุ  และได้รับเกียรติจาก  ฯ พณ ฯ ท่าน   ม.ร.ว. อดุลกิติ์  กิติยากร   เป็นประธานในพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  สมเด็จพระสังฆราช ฯ ได้พระราชทานนามวิหารแห่งนี้ว่า “  วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม ”
ซึ่งมีนัยความหมายว่าเป็นที่สถิตของทวยเทพเจ้าทั้งหลาย


เมื่อวันที่  23  ตุลาคม  พ.ศ. 2544  สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จทรงพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์การสร้างสระบัวซึ่งได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “  สระเย็นศิระเพราะพระบริบาล ” ทรงเจิมแผ่นป้ายฟ้าดิน พร้อมทรงเบิกพระเนตรองค์พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม  และทรงปลูกต้นสาละ

วันอังคารที่  10   กันยายน  พ.ศ.  2545  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนินทรงเบิกพระเนตรองค์สมเด็จพระมารดาองค์เทพเจ้าแห่งดวงดาว  และองค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ทรงเจิมกระถางธูปบูชาเทวดาฟ้าดิน  ทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์และทรงวางศิลาฤกษ์อาคารปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน   และเมื่อวันที่  4  ตุลาคม  2545  พระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จ  ณ  วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม ( ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ) ทรงเปิดซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ   ทรงเปิดเทศกาลกินเจเดือน  9   จีน   ทรงหล่อรูปพระโพธิสัตว์  3  พระองค์  และทรงปลูกต้นสาละในครั้งนี้ด้วย   การก่อสร้างศาลเจ้าได้มีการจัดตั้งเป็นวิหาร  4   ชั้น  ได้สร้างขึ้นเป็นสถานที่ในโครงการ “ เฉลิมพระเกียรติครบรอบ  72  พรรษา  องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ”   ปัจจุบันขยายเนื้อที่เพิ่มขึ้นรวมกว่า 25 ไร่

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 14 ก.พ. 54

องค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ (ประวัติย่อ)

องค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ  เป็นตำนานที่เล่าขานกันมาแต่ครั้งบุราณกาล สมัยปลายราชวงศ์เซียงต้นราชวงศ์จิวมีจิวบุ้นอ้วงเป็นฮ่องเต้  ในยุคนั้นผู้ที่นับว่าเป็นอัจฉริยะมี  “ เกียงจื๋อเง้ “ หรือเกียงไท้กง และหน่าจาซาไท้จื้อ องค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อเป็นบุตรคนที่ 3 ของแม่ทัพหลี่เจ๋ง  กับ  นางฮิง  บุตรคนโตชื่อ “ กิมจา” และคนรองชื่อ “ บั่กจา ”  มารดาตั้งครรภ์หน่าจาเป็นเวลา 3 ปี 6 เดือน  จึงคลอด

 

หลังจากท้องแล้ว   หน่าจาแทนที่จะเป็นเด็กทารกดั่งเช่นเด็กทั่วไป  กลับเป็นก้อนเนื้อทรงกลม ๆ  ที่ห่อหุ้มไว้ด้วยเนื้อเยื่อและรกพันเต็มไปหมด  ยังความตกใจและประหลาดใจแก่แม่ทัพหลีเจ๋งและนางฮิง ผู้เป็นบิดา – มารดา ด้วยความประหลาดดังกล่าว   หลี่เจ๋งซึ่งเป็นบิดาจึงใช้กระบี่ฟันก้อนเนื้อ ปรากฎว่าภายในก้อนเนื้อนั้น  เป็นเด็กทารกเพศชาย  ซึ่งในมือขวาถือห่วงทองคำ  และรอบตัวพันด้วยผ้าแพรสีแดง  ยังความปิติยินดีให้กับครอบครัว  และขุนนางใหญ่น้อยได้มาแสดงความยินดีกับแม่ทัพหลี่เจ๋ง

 

ในขณะนั้นมีนักพรตท่านหนึ่งมีนามว่า “ ไท้อิกจิงยิ้ง” ซึ่งบำเพ็ญศีลภาวนาอยู่ ณ  ยอดเขาเคี่ยงง่วนซัว กิมกวงตัง มาร่วมแสดงความยินดีด้วย  และเมื่อได้เห็นบุคลิกลักษณะของเด็กน้อย  เกิดความชื่นชมในความเฉลียวฉลาด พร้อมกับได้ชี้แจงให้แม่ทัพหลี่เจ๋งและนางฮิงทราบว่า  ห่วงทองและผ้าแดงที่ติดตัวมานั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์  เป็นผู้มีบุญญาบารมีสูงอีกทั้งได้รับตัวเด็กน้อยไว้เป็นศิษย์และตั้งชื่อให้ว่า “หน่าจา” เพื่อถ่ายทอดวิชา

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 14 ก.พ. 54

พิธีไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ย (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ)
สำหรับในปี พ. ศ. 2554 (ปีเถาะ) ให้ทำการไหว้ ในคืนวันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 23.00 – 24.59  น.  ในปีนี้ให้หันหน้าไปทางทิศเหนือ


สิ่งของที่ใช้ในพิธีไหว้ มีดังนี้
1. โต๊ะสี่เหลี่ยม 1 ตัว   
2 . กระถางธูป (ถ้าไม่มีให้ใช้แก้วน้ำใส่ข้าวสาร)         
3. เทียนแดง 1 คู่                                       
4.  กิมฮวย 1 คู่   
5. แจกันพร้อมดอกไม้ (ดอกไม้มงคล)      
6. กิมซิง (รูปปั้น องค์เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย) มีหรือไม่มีก็ได้

เครื่องบวงสรวงมีรายการดังต่อไปนี้
1. น้ำเปล่า 5 ถ้วย           
2. น้ำชา 5 ถ้วย              
3. ข้าวอัด  5 ถ้วย             
4. สาคูแดง 5 ถ้วย
5. เจฉ่าย 5อย่าง 1ถาด    
6.ผลไม้ 5อย่าง 1ถาด (กล้วยหอม 1 หวี, สัปปะรด 1 หัว,ส้ม,องุ่น,แอ๊ปเปิ้ล)
7. ซิ่วท้อ 1 จาน             
8. ฮวกก้วย 1 ถาด           
9. ซิ่วหมี่ 1 จาน               
10. จับกิ่ม 1 จาน
11. น้ำตาลกรวด 1 จาน                                       
12. ถั่ว 5 อย่าง (ถั่วเขียว , ถั่วเหลือง , ถั่วลิสง , ถั่วแดงเม็ดเล็ก , ถั่วแดงเม็ดใหญ่)
หมายเหตุ  ฮวกก้วย และ  ซิ่วหมี่  มีหรือไม่มีก็ได้

เครื่องกระดาษที่ต้องใช้ มีดังนี้
1. เทียงเถ้าจี้ 1 ชุด            
2. งิ่งเตี๋ย 5 แผ่น            
3. 12 ไป่เทียบ 5 แผ่น             
4. คิ่วไฉ่จี้ 5 แผ่น
5. กุ้ยนั่งจี้ 5 แผ่น             
6. เผ่งอังจี้ 5 แผ่น          
7. เต้า 1คู่                                
8. หง่วงป้อ 5 ชุด พร้อม ตั่วกิมพับเป็นรูปทองก้อน 12 แผ่น
9. ชุดฉลองพระองค์ 1 ชุด หรือ 5 ชุดก็ได้            
(มีหรือไม่มีก็ได้)
 
สำหรับทิศที่ให้ไหว้ในปีนี้    ให้หันหน้าองค์กิมซิงไฉ่ซิงเอี๊ยไปทางทิศใต้ หรือถ้าไม่ตรงทิศให้หันหน้าเข้าบ้าน (ถ้ามี) โดยอธิษฐานพระนามของพระองค์ว่า “ปั๊กฮัง”  และ “ เอี้ยวเซียวซีไฉ่ซิ้ง ” เมื่อทำพิธีไหว้เสร็จแล้วให้นำเครื่องกระดาษไปเผาได้เลย

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

อ่างศิลา อ่างศิลา (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.10 กิโลเมตร

ตลาดเก่าอ่างศิลา 100 ปี ตลาดเก่าอ่างศิลา 100 ปี (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 1.29 กิโลเมตร

ตึกแดงพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ ตึกแดงพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.34 กิโลเมตร

ตลาดอ่างศิลา ตลาดอ่างศิลา (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.41 กิโลเมตร

เขาสามมุข เขาสามมุข (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 2.50 กิโลเมตร

วัดแสนสุขสุทธิวราราม วัดแสนสุขสุทธิวราราม (รีวิว 3 รายการ)

ห่าง 3.42 กิโลเมตร

แหลมแท่น แหลมแท่น (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 4.02 กิโลเมตร

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 4.85 กิโลเมตร

บางแสน บางแสน (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 4.94 กิโลเมตร

ตลาดหนองมน ตลาดหนองมน (รีวิว 505 รายการ)

ห่าง 5.46 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

ทามารีน่า รีสอร์ท ทามารีน่า รีสอร์ท (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.33 กิโลเมตร

ครก บูติค แอนด์ บิสโตร ครก บูติค แอนด์ บิสโตร (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.55 กิโลเมตร

วัน บีท วินเทจ แอนด์ บิสโทร วัน บีท วินเทจ แอนด์ บิสโทร (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.01 กิโลเมตร

เซ็นทรัล เพลส อ่างศิลา เซ็นทรัล เพลส อ่างศิลา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.16 กิโลเมตร

กันตา เบย์วิว กันตา เบย์วิว (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.55 กิโลเมตร

คิลินตรา เรสซิเดนซ์ คิลินตรา เรสซิเดนซ์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.57 กิโลเมตร

รอยัลสามมุขวิลล่า รอยัลสามมุขวิลล่า (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.71 กิโลเมตร

เดอะมัก รีสอร์ท เดอะมัก รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.35 กิโลเมตร

โรงแรม บางแสน วิลล่า โรงแรม บางแสน วิลล่า (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 3.47 กิโลเมตร

คูด้า เอเชีย บางแสน คูด้า เอเชีย บางแสน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.50 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

ครัวเจ๊น้อง ครัวเจ๊น้อง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.18 กิโลเมตร

บ้านคุณแหม่ม บ้านคุณแหม่ม (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.66 กิโลเมตร

มังกี้ ซีฟู๊ด มังกี้ ซีฟู๊ด (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.82 กิโลเมตร

ทรัพย์ศิลาทอง ซีฟู้ด ทรัพย์ศิลาทอง ซีฟู้ด (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.89 กิโลเมตร

ร้านอาหาร มงคลฟาร์ม ร้านอาหาร มงคลฟาร์ม (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.92 กิโลเมตร

ร้านอุมดมฟาร์ม เจ๊ะเราะ ร้านอุมดมฟาร์ม เจ๊ะเราะ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.92 กิโลเมตร

ท่าเรือซีฟู๊ด ท่าเรือซีฟู๊ด (รีวิว 4 รายการ)

ห่าง 0.93 กิโลเมตร

ครัวสมลักษณ์ ครัวสมลักษณ์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.02 กิโลเมตร

เจ๊อวย Seafood เจ๊อวย Seafood (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.12 กิโลเมตร

เรือนอาหารทะเลทอง เรือนอาหารทะเลทอง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.37 กิโลเมตร

เข้าชมล่าสุด

ณัฐสิรี อพาร์ทเม้นท์ ณัฐสิรี อพาร์ทเม้นท์ (รีวิว 0 รายการ)