“อดีตที่ว่าราชการและที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง”
วังเจ้าเมืองพัทลุง เดิมเป็นที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันยังเหลืออยู่ส่วนหนึ่งคือ วังเก่า สร้างในสมัยพระยาพัทลุง (น้อย จันทโรจนวงษ์) เป็นผู้ว่าราชการ
ต่อมา วังได้ตกทอดมาจนถึงนางประไพ มุตามะระ บุตรีของหลวงศรีวรฉัตร ส่วนวังในสร้างเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยพระยาอภัยบริรักษ์จักราวิชิตพิพิธภักดี (เนตร จันทโรจนวงษ์) บุตรชายของพระยาพัทลุงซึ่งเป็นผู้ว่าราชการ ปัจจุบันทายาทตระกูล "จันทโรจนวงษ์" ได้มอบวังนี้ให้เป็นสมบัติของชาติ โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2526
เรือพัทลุง
เมื่อมีการมณฑลนครศรีธรรมราช และตั้งศาลาว่าการมณฑล ณ เมืองสงขลา ในพุทธศักราช 2439 แล้วรัฐบาลกลางได้จัดส่งเรือสำหรับใช้ประโยชน์ทางราชการมาประจำที่มณฑลแห่งนี้จำนวน 3 ลำ คือเรือมณฑลนครศรีธรรมราชเป็นเรือขนาดใหญ่ เรือแหล่งพระรามเป็นเรือขนาดกลาง และเรือพัทลุงเป็น
เรือขนาดเล็ก
เรือพัทลุงมีลักษณะเป็นท้องเรือแบน ตัวเรือเป็นเก๋งชั้นครึ่ง มีชั้นดาดฟ้าด้านบน มีห้องพักผ่อนภายใน ตัวเรือ 1 ห้อง โครงสร้างทั่วไปเป็นไม้เนื้อแข็ง ตัวเรือมีความยาว 13.50 เมตร กว้าง 3.50 เมตร ความสูง จากตัวเรือถึงชั้นที่ 1 สูง 2 เมตร จากชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 2 สูง 1.80 เมตร เสารับโครงหลังคาเป็นเสาหลักกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว หุ้มด้วยแผ่นทองเหลือง หลังคาบุด้วยแอสฟัลท์ เชิงชายโดยรอบหลังคา ประดับด้วยลายอุบะใช้เครื่องยนต์ขนาด 13.52 ตันกรอส 9.19 ตันเนส เครื่องยนต์ 6 สูบ ขนาด 17.1 แรงม้า
หน้าที่หลักของเรือพัทลุง คือ การรับส่งเอกสารและติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลากับเมืองพัทลุง รวมทั้งบรรดาเมืองต่างๆที่อยู่ภายในทะเลสาบสงขลา และเคยมีฐานะเป็นเรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในพุทธศักราช 2476 เมืองสงขลาลงเรือพัทลุงออกไปรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชนี ณ ปากอ่าวสงขลา ครั้งที่ 2 รัฐบาลจัดให้เรือ พัทลุงเป็นเรือพระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมราชฎรในพุทธศักราช 2505
วังเก่า
วังเก่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งพระยาอภัยบริรักษ์ (น้อย จันทโรวงศ์)ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองพัทลุง ระหว่างพุทธศักราช 2412 - 2531 สถานที่แห่งนี้จึงฐานะเป็นที่ว่าราชการเมืองพัทลุงเรื่อยมา จนกระทั่งพุทธศักราช 2531 พระยาอภัยบริรักษ์ กราบบังคมทูลลาออกจากราชการด้วยมีความชราภาพและดวงตามืดมัว เนื่องจากเป็นโรคต้อกระจก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯให้เลื่อนเป็นพระยาวรวุฒิไวยวัฒลุงควิสัยอิศรศักดิ์พิทักษ์ราชกิจนริศราชภักดีอภัยพิริยพาหะ จางวางเมืองพัทลุง พระยาวรวุฒไวยฯ ยังคงพ่านักอยู่ ณ วังแห่งนี้ ต่อมา จนถึงแก่อนิจกรรมในพุทธศักราช 2546 วังแห่งนี้จึงเป็นมรดกทอดไปยังหลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์) และทายาทตามลำดับ
วังเก่า มีลักษณะเป็นเรือนไทยแฝดสามหลัง ยกใต้ถุนสูง จัวขวางตะวัน เรือหลังที่ 1และ 2 ทำเป็นห้องนอน ด้านหน้าห้องนอนสร้างเป็นห้องโถงติดกัน ถัดออกไปเป็นชานขนาดเล็กไปยังเรือนครัว วัสดุก่อสร้างเป็นไม้ทั้งหมด วิธีการประกอบเรือนใช้ ลูกสัก หรือลิ่มไม้เชื่อมยืดแทนตะปู หลังจากหมดยุคการปกครองด้วยระบบเมืองแล้ววังเก่าก็อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จนกระทั่งพุทธศักราช 2535ทายาทของพระยาอภัยบริรักษ์ (น้อย จันทโรจวงศ์) ซึ่งถือครองกรรมสิทธิ์วังเก่าและที่ดินได้แก่ นางประไพ มุตตาระ นางสาวผอบ นะมาตร์ และนายธรรมนูญ จันทโรจวงศ์ ได้โอนกรรมสิทธิ์วังเก่าและที่ดินทั้งหมดให้แก่แผ่นดิน โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ดูแล เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2535
เปิดทำการเวลา 9.00-12.00 และ 13.00-16.00 ปิดวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม คนไทย 5 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท