“
กิจกรรทที่น่าสนใจ เที่ยวชมความงามของสวนพฤกษศาสตร์ และเรียนรู้ด้านพืช จุดที่แวะชมได้ คือ 1. อาคารศูนย์สารนิเทศ เป็นสถานที่อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว รวมถึงเป็นสถานที่จัดนิทรรศการ 2. กลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติ ขนาดต่างๆ 12 โรงเรือน รวบรวมพรรณไม้ประเภทต่างๆจากทั่วประเทศมาปลูกแสดงไว้ในโรงเรือน เช่น ไม้ป่าดงดิบ ไม้น้ำ กล้วยไม้ ไม้แล้ง บัว ไม้ดอกไม้ประดับ บอน ไม้ไทยหายาก ไม้สกุลสัมกุ้ง สมุนไพร3. โรงเรือนอนุบาลพรรณไม้4. อ่างเก็บน้ำแม่สาวารินทร์ 5. เรือนพรรณกล้วยไม้ไทย 6. ศูนย์วิจัยพัฒนาสง่า สรรพศรี เป็นศูนย์ข้อมูลวิชาการโดยมีนักพฤกษศาสตร์ประจำอยู่ตลอดเวลา 7. แปลงรวมพันธุ์ไม้ดอกขาว ซึ่งได้จัดปลูกไปแล้วกว่า 120 ชนิด
”
- สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่า "สวนพฤกษศาสตร์แม่สา" มีพื้นที่ประมาณ 6,500 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบและที่สูงสลับกันเป็นชั้นๆ ในระดับ 300-970 เมตร จัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ลักษณะการจัดสวนของที่นี่จะแบ่งพันธุ์ไม้ตามวงศ์และความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ รวบรวมพันธุ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ สามารถขับรถเที่ยวชมรอบๆได้
- สิ่งที่น่าสนใจของสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
- กลุ่มอาคารเรือนกระจกอาคารเรือนกระจกขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนลานเนินเขาที่สวยงาม ภายในอาคารใหญ่รวบรวมพรรณไม้ใน เขตป่าดงดิบ จากทุกภูมิภาคของทวีปเอเชีย ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการควบคุมระดับความชื้นสัมพัทธ์ โดยการฉีดละอองน้ำใน เรือนกระจก รวมทั้งมีน้ำตกจำลองด้วย จัดแต่งสภาพเหมือนกับเข้าไปอยู่ในป่าจริงๆ นอกจากนี้อาคารเรือนกระจกอื่นๆ ก็มีพรรณไม้ ที่น่าสนใจ เช่น พืชทะเลทราย พรรณไม้น้ำ เฟิน กล้วยไม้ เป็นต้น
- ศูนย์วิจัยพัฒนาสง่า สรรพศรี เป็นศูนย์ข้อมูลวิชาการโดยมีนักพฤกษศาสตร์ประจำอยู่ตลอดเวลา
- เรือนพรรณกล้วยไม้ไทย
- โรงเรือนอนุบาลพรรณไม้
- อ่างเก็บน้ำแม่สาวารินทร์
- แปลงรวมพันธุ์ไม้ดอกขาว ซึ่งได้จัดปลูกไปแล้วกว่า 120 ชนิด
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติมี 4 เส้นทาง ได้แก่
- 1. เส้นทางสวนรุกชาติ (Arboretum Trail) เส้นทางนี้ผ่านแปลงรวมพันธุ์กล้วย บอน ปาล์ม เฟิน แปลงขิงข่า ปรง และสน ระยะทางประมาณ 600 เมตร
- 2. เส้นทางพันธุ์ไม้ไทยและพืชสมุนไพร เส้นทางนี้เป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ไทยไว้กว่า 1,000 ชนิด อาทิ พืชสมุนไพร พันธุ์ไม้หายาก และพันธุ์ไม้ประจำจังหวัด ระหว่างเส้นทางเดินท่านจะพบพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ และป้ายสื่อความหมายที่อธิบายสรรพคุณของพืชสมุนไพร แต่ละชนิดไว้อย่างน่าสนใจ และมีการเสริมภูมิทัศน์ด้วยกล้วยไม้ไทยนานาชนิด ให้ความสวยงามและร่มรื่น เส้นทางเดินจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที
- 3. เส้นทางวลัยชาติ (Climber Trail)ชาติ หรือ ไม้เลื้อย คือ พรรณไม้ที่ต้องการสิ่งที่อาศัยสิ่งยึดเกาะ (supporter) อื่นๆ ในการเลื้อยพันและยึดเกาะเพื่อพยุงลำต้นในการเจริญเติบโต เนื่องจากไม่สามารถพยุงตัวไว้เองได้ นักพฤกษศาสตร์คาดว่าในประเทศไทยมีวัลยชาติอยู่ประมาณ 60 วงศ์ 160 สกุล รวมประมาณได้กว่า 2000 ชนิด และกว่าครึ่งของพืชจำนวนนี้ยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่ส่วนใหญ่จะมีคุณค่าทางโภชนาการหรือสมุนไพรมีความสวยงาม สามารถนำมาพัฒนาเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี สำหรับเส้นทางวัลยชาติสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์นั้น เป็นเส้นทางทอดยาวไปตามสันเขา บางตอนค่อนข้างชัน มีการจัดปลูกพืชไม้เลื้อยไว้ตลอดทั้งสองข้างทาง รวมมากกว่า 250 ชนิด ระยะทางประมาณ 800 เมตร
- 4. เส้นทางน้ำตกแม่สาน้อย-สวนหิน-เรือนรวมพันธุ์กล้วยไม้ไทย (Waterfall Trail) เป็นเส้นทางเดินเท้าเรียบไปตามห้วยแม่สาน้อยท่านจะพบกับพืชเฉพาะถิ่น และพรรณไม้แปลกตา ผ่านไปทางสวนหินซึ่งเป็นที่ รวบรวมพืชแล้งนานาชนิดผสมกับการนำหินลักษณะต่างๆ มาตกแต่งบริเวณดังกล่าวทำให้รู้สึกกลมกลืน และเส้นทางจะสิ้นสุดที่เรือนรวมพรรณกล้วยไม้ไทยซึ่งมีกล้วยไม้ไทยรวมไว้กว่า 350 ชนิด รวมระยะทางประมาณ 300 เมตร
น้ำตกแม่สาน้อย เป็นน้ำตกขนาดเล็กแต่มีน้ำไหลตลอดทั้งปีค่อนข้างไหลแรง นักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ มักจะแวะมาชมน้ำตกนี้ก่อนเนื่องจากอยู่ใกล้บริเวณทางขึ้นไปสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
- ค่าบำรุงการเข้าชมพื้นที่สวน
- ผู้ใหญ่ 40 บาท
- นักเรียน นักศึกษา 10 บาท
- ผู้สูงอายุเกิน 60 บาท เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี พระภิกษุสามเณร และผู้พิการ ไม่เสียค่าเข้าชม
- รถยนต์ 4 ล้อ คันละ 100 บาท
- รถบัส คันละ 200 บาท
- ค่ารถบริการนำชมสวน
- ผู้ใหญ่ 30 บาท
- เด็ก 10 บาท
- เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.30 - 17.00 น.
- การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 มุ่งหน้าสู่ จ.เชียงใหม่ มุ่งหน้าสู อ.แม่ริม-เสมอ จากทางตัวเมืองเข้ามาประมาณ 50 กม. ประมาณ 45 นาที ก็จะถึง สวนพฤกษาศาสตร์พระนางเจ้าสิริกิตติ์
ติดต่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.qsbg.org
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 0 รายการ)