“จัดแสดงงานแกะสลักอายุ 100 กว่าปี และโบราณวัตถุ”
วัดมหาชัย พระอรามหลวง อำเภอเมือง เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2408 ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดเหนือต่อได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดมหาชัย เมื่อ พ.ศ 2482 เนื่องจาก พระเจริญราชเดชหรือท้าวมหาชัย (กวด) เจ้าเมืองมหาสารคาม พร้อมด้วยกรรมการท้าวเพียเป็นผู้สร้างวัดนรี้ ภายในวัดมีโบสถาน โบราณวัตถุต่างๆ ให้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภายในวัดมหาชัย ท่านเจ้าคุณพระอริยานุวัตร อดีตเจ้าอาวาสได้รวบรวมโบราณวัตถุ และเอกสารต่างๆ ที่มีคุณค่าในด้านการศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมไว้จำนวนมาก ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 1000-2000 ปีขึ้นไป ได้จัดแสดงไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มที่ 1 กลุ่มศิลปะแกะสลักด้วยไม้ กลุ่มที่ 2 เกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา กลุ่มที่ 3 ได้แก่ พระพุทธรูป กลุ่มที่ 4 เครื่องสำริด กลุ่มที่ 5 ได้แก่ เอกสารใบลาน กลุ่มที่ 6 ได้แก่ วรรณกรรม อยู่เป็นจำนวนมาก
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือวัดมหาชัยเกิดจากเมื่อปี พ.ศ. 2507 พระอริยานุวัตร เจ้าอาวาสวัดมหาชัย ได้เห็นชาวต่างชาติได้มาขอซื้อของเก่าแก่ และวัตถุโบราณจากชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ใบเสมาหิน พระพุทธรูป สมัยโบราณ บานประตู คันทวยแกะสลักอายุประมาณ 100-200 ปี ต่อมาทางผู้ว่าราชการจังหวัดขณะนั้นคือ นายกิตติ ประทุมแล้วได้เห็นความสำคัญจัดตั้งคณะกรรมการบริการจัดการพิพิธภัณฑ์ขึ้น
โดยมีพระอริยานุวัตร (อารีย์ เมขมจารี) เป็นประธานหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ ร่วมกันจัดหางบประมาณก่อสร้างอาคารจัตรมุข 1 หลังและจัดหาวัสดุอุปกรณ์โบราณวัตถุ พร้อมทั้งเอาสารโบราณต่างๆ มาเก็บรวบรวมไว้ที่มหาลัย จึงทำให้วัดมหาชัยเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแหล่งหนึ่งที่ผู้สนใจสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้