“พระธาตุคู่บ้านคู่เมือง กาฬสินธุ์ สมัยทวาราวดี”
พระธาตุยาคู
พระธาตุยาคู หรือ พระธาตุใหญ่ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อนด้วยอิฐปรากฎการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกันคือ ส่วนฐานะเป็นรูปสี่เหลี่ยนมย่มมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นไปเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยม ซึ่งสร้างซ้อมทับบนฐานแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ รอบๆองค์พระธาตุพบในเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ ชาวบ้านเชื่อกันว่า ในองค์พระธาติบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ
เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบทวาราวดี ทำด้วยอิฐดิน ฐานเป็นรูป 8 เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ขนาดฐานกว้าง 10 เมตรยาว 10 เมตร สร้างซ้อนกันเป็นลักษณะแบบจตุรมุขสูงจากฐานถึงยอด 8 เมตร เมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคูจึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้มีการบูรณะ เป็นพระสถูปสมัยทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15) ตั้งอยู่กลางทุ่งนาทิศเหนือบ้านเสมา อำเภอกมลาไสย ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 19 กม.
พระธาตุยาคู เดิมเรียกว่า ธาตุใหญ่ เนื่องจากมีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด ในบรรดาโบราณสถานในเมืองฟ้าแดดสงยาง ยังคงปรากฎร่องรอยของฐานที่สร้างในสมัยแรก เป็นรูปฐานสี่เหลี่ยม เดิมมีลวดลายรูปปั้นประดับ ปัจจุบันหลุดออกหมด และได้นำไปจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จ. ขอนแก่น แผ่นผังของพระสถูปองค์เดิม เปรียบเทียบได้กับศาสนสถานแบบทรารวดีที่พบทางภาคกลาง เช่นที่อำเภออู่ทอง จ. สุพรรณบุรี และที่อำเภอคูบัว จ.ราชบุรี
รูปทรงขององค์เจดีย์ ได้ถูกก่อสร้างเปลี่ยนแปลงไปในสมัยหลังเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม บนฐานสี่เหลี่ยมเดิมและกรมศิลปากรได้ทำการบูรณะครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2526 และครั้งสุดท้ายเมืองปี พ.ศ. 2539 ได้ใบเสมาหินทรายหลายใบโดยรอบองค์พระธาตุ ยังปรากฎซากฐานเจดีย์ขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐทั้งสิ้่น 6 องค์
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระธาตุยาคู เป็นโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ 2525 พื้นที่ประมาณ 6 ไร่ 2งาน
-