“ลำคลองน้ำใสเล็กๆ ยาว 5 กม. ในป่าพรุ ป่าชายเลน ที่มีลำน้ำใส เหมาะเดินเที่ยว ถ่ายรูปยามเย็น”

ท่าปอมคลองสองน้ำ เป็นลำคลองน้ำใส ต้นน้ำจากเขาคราม ไหลผ่านป่าดิบชื้น ป่าพรุ ป่าชายเลน และทะเลอันดามัน

บริเวรท่าปอม มีน้ำเค็มท่วมถึงยามน้ำขึ้น สายน้ำจืดซึ่งเป็นธารน้ำพุใสสะอาดจากใต้ดิน ไหลรินผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตามช่วงเวลาน้ำขึ้นน้ำลง คลองท่าปอมจึงกลายเป็นคลองสองน้ำ (น้ำจืด+น้ำเค็ม) มีผืนป่ารอบข้างที่มีทั้งป่าชายเลนซึ่งเป็นป่าที่เติบโตอยู่ ในน้ำกร่อยและน้ำเค็มผสมผสานกับป่าพรุน้ำจืด ปัจจุบันสำนักงานการท่องเที่ยวจัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 700 เมตร ลักษณะเป็นสะพานไม้ที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ทอดยาวเป็นวงรอบเหนือผืนป่าพรุและป่าชายเลน


การเดินทาง จากกระบี่ใช้เส้นทางถนนป่าพรุ-ท่าปอม สู่บ้านหนองจิก ระยะทางประมาณ 28 กม. 

เปิด 07.00-17.00 น

ค่าเข้าชม 

ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท (คนไทย)

ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 30 บาท (ชาวต่างชาติ)

และมีเรือแคนูให้เช่า สอบถามเพื่มเติม 
อบต.เขาคราม โทร. 075-694198, 075-694165 หรือ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว จังหวัดกระบี่ โทร. 075-62 2163

ท่าปอมคลองสองน้ำ

แชร์

บ้านหนองจิก ต.เขาคราม อ. เมืองกระบี่ จ.กระบี่ 81000 แผนที่

รีวิว 24 รายการ | ผจญภัย,ครอบครัว,ท่องเที่ยว

ปิด

จ.7.00 - 17.00
อ.7.00 - 17.00
พ.7.00 - 17.00
พฤ.7.00 - 17.00
ศ.7.00 - 17.00
ส.7.00 - 17.00
อา.7.00 - 17.00

075-694198

46955

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 24 รายการ)

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

โทษของการทำลายป่าพรุ
ทำให้ดินและน้ำบริเวณป่าพรุและใกล้เคียงกลายเป็นกรดอย่างรุนแรงจนไม่สามารถประกอบการกสิกรรมหรือแม้แต่นำมาดื่มกินได้ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ สูญหายไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้น อากาศร้อนจะแห้งแล้งมากขึ้น น้ำที่เคยมีในพื้นที่ป่าพรุก็แห้งเกิดไฟป่าเผาไหม้ เหตุการณ์เหล่านี้เองเป็นสิ่งเตือนใจให้ประชาชนได้ทราบถึงผลร้ายในการทำลายป่าพรุ

การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าพรุที่เสื่อมโทรมให้คืนดีจะต้องอาศัยความร่วมมือกันหลาย ๆ ฝ่าย และประชาชนจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของป่าพรุด้วยเนื่องจากป่าพรุเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ จึงอยู่ในความสนใจของประชาชนอย่างกว้างขวาง ความตื่นตัวนี้ส่งผลให้เกิดความพยายามที่จะรักษาธรรมชาติ และคุณภาพสิ่งแวดล้อมเอาไว้


กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่ริเริ่มเข้าไปดำเนินงานด้านป่าพรุภายใต้โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ได้ขยายการดำเนินงานการศึกษาและวิจัยป่าพรุ โดยการจัดตั้งศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าพรุขึ้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระราชทานนามศูนย์ศึกษาธรรมชาติแห่งนี้ว่า "ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร"


ศูนย์นี้ตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายให้ป่าพรุเป็นแหล่งการศึกษาความรู้ในธรรมชาติ อีกทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหาความเพลิดเพลินของนักศึกษาและประชาชนผู้สนใจ โดยมีการก่อสร้างทางเดินเพื่อสะดวกในการเข้าไปศึกษาป่าพรุ แต่อย่างไรก็ตามความมุ่งหมายในที่สุดก็คือ เพื่อให้เป็นแหล่งสร้างจิตสำนักแก่ประชาชนโดยทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรในป่าพรุ และช่วยกันรักษาป่าพรุโต๊ะแดงให้คงอยู่ตลอดไป
โทษของการทำลายป่าพรุ
ทำให้ดินและน้ำบริเวณป่าพรุและใกล้เคียงกลายเป็นกรดอย่างรุนแรงจนไม่สามารถประกอบการกสิกรรมหรือแม้แต่นำมาดื่มกินได้  ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ  สูญหายไปอย่างรวดเร็ว  ยิ่งไปกว่านั้น อากาศร้อนจะแห้งแล้งมากขึ้น  น้ำที่เคยมีในพื้นที่ป่าพรุก็แห้งเกิดไฟป่าเผาไหม้  เหตุการณ์เหล่านี้เองเป็นสิ่งเตือนใจให้ประชาชนได้ทราบถึงผลร้ายในการทำลายป่าพรุ

การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าพรุที่เสื่อมโทรมให้คืนดีจะต้องอาศัยความร่วมมือกันหลาย ๆ ฝ่าย  และประชาชนจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของป่าพรุด้วยเนื่องจากป่าพรุเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  จึงอยู่ในความสนใจของประชาชนอย่างกว้างขวาง  ความตื่นตัวนี้ส่งผลให้เกิดความพยายามที่จะรักษาธรรมชาติ และคุณภาพสิ่งแวดล้อมเอาไว้


กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เป็นหน่วยงานที่ริเริ่มเข้าไปดำเนินงานด้านป่าพรุภายใต้โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จังหวัดนราธิวาส  ได้ขยายการดำเนินงานการศึกษาและวิจัยป่าพรุ  โดยการจัดตั้งศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าพรุขึ้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ  ทรงพระราชทานนามศูนย์ศึกษาธรรมชาติแห่งนี้ว่า

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

จากจุดนี้ นั่งเรือออกทะเลได้เลย
จากจุดนี้ นั่งเรือออกทะเลได้เลย

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

เด็กๆ กำลังเล่นน้ำ อย่างสนุก
เด็กๆ กำลังเล่นน้ำ อย่างสนุก

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

พันธุ์ไม้ ใน ป่าพรุ

พื้นที่พรุส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำและดินอินทรีย์ซึ่งทับถมกันอยู่หลวม ๆ การดำรงชีวิตอยู่ของพืชโดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่จึงเป็นไปอย่างยากลำบาก พืชในป่าพรุจึงมีการพัฒนาระบบราก ชนิดพิเศษแตกต่างไปจากระบบรากของพืชในป่าประเภทอื่น ๆ เช่น พัฒนาเป็นพูพอน รากค้ำยัน และรากหายใจ เป็นต้น
--------------
ภาพ: ดอกไม้ ระหว่างเดิน

พันธุ์ไม้ ใน ป่าพรุ

พื้นที่พรุส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำและดินอินทรีย์ซึ่งทับถมกันอยู่หลวม ๆ  การดำรงชีวิตอยู่ของพืชโดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่จึงเป็นไปอย่างยากลำบาก  พืชในป่าพรุจึงมีการพัฒนาระบบราก ชนิดพิเศษแตกต่างไปจากระบบรากของพืชในป่าประเภทอื่น ๆ  เช่น  พัฒนาเป็นพูพอน  รากค้ำยัน และรากหายใจ  เป็นต้น
--------------
ภาพ: ดอกไม้ ระหว่างเดิน

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

ป่าพรุมีน้ำแช่ขังตลอดปี การไหลเวียนของน้ำเป็นไปอย่างช้า ๆ กระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ ไม่หยุดนิ่ง สีของน้ำเป็นสีน้ำตาลคล้ายน้ำชา เป็นสีของน้ำฝาด (น้ำฝาด คือ น้ำสีน้ำตาลที่ได้จากการสลายตัวของซากพืช) รสเฝื่อนเล็กน้อย (เผื่อน คือ ฝาดปนเปรี้ยว) น้ำในป่าพรุมีสภาพความเป็นกรด-ด่าง หรือมีค่า pH = 4.5-6.0 เป็นกรดอ่อน ๆ สามารถนำมาใช้บริโภคได้ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี
------------
ภาพ: พืชใต้น้ำ ใน ป่าพรุ
ป่าพรุมีน้ำแช่ขังตลอดปี  การไหลเวียนของน้ำเป็นไปอย่างช้า ๆ  กระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ   ไม่หยุดนิ่ง  สีของน้ำเป็นสีน้ำตาลคล้ายน้ำชา  เป็นสีของน้ำฝาด (น้ำฝาด คือ น้ำสีน้ำตาลที่ได้จากการสลายตัวของซากพืช)  รสเฝื่อนเล็กน้อย (เผื่อน คือ ฝาดปนเปรี้ยว)  น้ำในป่าพรุมีสภาพความเป็นกรด-ด่าง หรือมีค่า pH = 4.5-6.0 เป็นกรดอ่อน ๆ  สามารถนำมาใช้บริโภคได้ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี
------------
ภาพ:  พืชใต้น้ำ ใน ป่าพรุ

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

ในอดีต เคยมีป่าพรุในประเทศไทยมากถึงกว่า 400,000 ไร่ กินเนื้อที่กว่า 50 ล้านไร่ แต่ได้ค่อย ๆ ลดปริมาณลงจากการถูกบุกรุกแผ้วถางทำการเกษตร จนปัจจุบันเหลือไม่ถึง 60,000 ไร่

ในอดีต เคยมีป่าพรุในประเทศไทยมากถึงกว่า 400,000 ไร่ กินเนื้อที่กว่า 50 ล้านไร่ แต่ได้ค่อย ๆ ลดปริมาณลงจากการถูกบุกรุกแผ้วถางทำการเกษตร จนปัจจุบันเหลือไม่ถึง 60,000 ไร่

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

เส้นทางเดินเท้ายังไม่จบ
เส้นทางเดินเท้ายังไม่จบ

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

สำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีป่าพรุเกิดขึ้นนั้น มักจะเป็นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และพบในบางส่วนบ้างของภาคกลาง ในปัจจุบัน พื้นที่ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ป่าพรุสิรินธร หรือป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่
สำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีป่าพรุเกิดขึ้นนั้น มักจะเป็นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และพบในบางส่วนบ้างของภาคกลาง ในปัจจุบัน พื้นที่ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ป่าพรุสิรินธร หรือป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

สภาพโดยทั่วไปของป่าพรุ นั้น คือ พื้นด้านล่างจะเป็นพรุมีน้ำขังตลอดทั้งปี น้ำจะมีสีเขียวหรือน้ำตาลเข้ม อันเกิดจากการหมักหมมตัวมาอย่างยาวนานของซากพืช ซากสัตว์ น้ำจะมีสภาพเป็นกรดมากกว่าค่าของน้ำปกติ (PH ต่ำกว่า 7)

ระบบนิเวศในป่าพรุนั้นมีความหลากหลาย และเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกัน ไม้ยืนต้นจะมีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกันเพื่อจะได้ช่วยพยุงลำต้นของกันและกัน และให้ยืนตัวทรงอยู่ได้ ดังนั้นต้นไม้ในป่าพรุจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากต้นใดต้นหนึ่งล้ม ต้นอื่นจะล้มตามไปด้วย
สภาพโดยทั่วไปของป่าพรุ นั้น คือ พื้นด้านล่างจะเป็นพรุมีน้ำขังตลอดทั้งปี น้ำจะมีสีเขียวหรือน้ำตาลเข้ม อันเกิดจากการหมักหมมตัวมาอย่างยาวนานของซากพืช ซากสัตว์ น้ำจะมีสภาพเป็นกรดมากกว่าค่าของน้ำปกติ (PH ต่ำกว่า 7)

ระบบนิเวศในป่าพรุนั้นมีความหลากหลาย และเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกัน ไม้ยืนต้นจะมีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกันเพื่อจะได้ช่วยพยุงลำต้นของกันและกัน และให้ยืนตัวทรงอยู่ได้ ดังนั้นต้นไม้ในป่าพรุจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากต้นใดต้นหนึ่งล้ม ต้นอื่นจะล้มตามไปด้วย

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

ป่าพรุ คือ อะไร ?
ป่าพรุ เป็นประเภทของป่าดิบชื้นประเภทหนึ่ง ที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากแอ่งน้ำจืดเกิดขังตัวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีการสะสมของชั้นดินอินทรีย์วัตถุ เช่น ซากพืช, ซากสัตว์, เศษซากของต้นไม้ ใบไม้ ต่าง ๆ จนย่อยสลายช้า ๆ กลายเป็นดินพีตหรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำได้มาก และพบว่ามีการสะสมระหว่างดินพีตกับดินตะกอนทะเลสลับกันชั้นกัน 2-3 ชั้น เนื่องจากน้ำทะเลเคยมีระดับสูงขึ้นจนท่วมป่าพรุ เกิดการสะสมของตะกอนน้ำทะเลถูกขังอยู่ด้านใน พันธุ์ไม้ในป่าพรุตายลงไป และเกิดเป็นป่าชายเลนขึ้นมาแทนที่ เมื่อระดับน้ำทะเลลดลง และมีฝนตกลงมาสะสมน้ำที่ขังอยู่จึงจืดจางลง และเกิดป่าพรุขึ้นมาอีกครั้ง ดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี
ป่าพรุ คือ อะไร ?
ป่าพรุ เป็นประเภทของป่าดิบชื้นประเภทหนึ่ง ที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากแอ่งน้ำจืดเกิดขังตัวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีการสะสมของชั้นดินอินทรีย์วัตถุ เช่น ซากพืช, ซากสัตว์, เศษซากของต้นไม้ ใบไม้ ต่าง ๆ จนย่อยสลายช้า ๆ กลายเป็นดินพีตหรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำได้มาก และพบว่ามีการสะสมระหว่างดินพีตกับดินตะกอนทะเลสลับกันชั้นกัน 2-3 ชั้น เนื่องจากน้ำทะเลเคยมีระดับสูงขึ้นจนท่วมป่าพรุ เกิดการสะสมของตะกอนน้ำทะเลถูกขังอยู่ด้านใน พันธุ์ไม้ในป่าพรุตายลงไป และเกิดเป็นป่าชายเลนขึ้นมาแทนที่ เมื่อระดับน้ำทะเลลดลง และมีฝนตกลงมาสะสมน้ำที่ขังอยู่จึงจืดจางลง และเกิดป่าพรุขึ้นมาอีกครั้ง ดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

นี่แหละครับ ป่าพรุ
นี่แหละครับ ป่าพรุ

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

เมื่อเดินเท้าเข้าไปลึกๆ จะพบความเป็นป่าชายเลนมากขึ้น เพราะใกล้ปากอ่าว(น้ำทะเล)
เมื่อเดินเท้าเข้าไปลึกๆ จะพบความเป็นป่าชายเลนมากขึ้น เพราะใกล้ปากอ่าว(น้ำทะเล)

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

เส้นทางเดินเท้า ศึกษาธรรมชาติ เป็นป่ารกบ้าง ทึบบ้าง สลับกันไป
เส้นทางเดินเท้า ศึกษาธรรมชาติ เป็นป่ารกบ้าง ทึบบ้าง สลับกันไป

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

ช็อดนี้ถ่ายไว้เยอะ (พอไหวไหม)
ช็อดนี้ถ่ายไว้เยอะ (พอไหวไหม)

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

เล่นมุมแสง นิดหน่อย
เล่นมุมแสง นิดหน่อย

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

คลองสองน้ำ คือ น้ำจืด จากเขาครามไหลมาผสมกับน้ำเค็มเมื่อยามน้ำทะเลขึ้นสูง จึงเป็นชื่อเรียกของผืนป่าที่นี่ "คลองสองน้ำ"
คลองสองน้ำ คือ น้ำจืด จากเขาครามไหลมาผสมกับน้ำเค็มเมื่อยามน้ำทะเลขึ้นสูง จึงเป็นชื่อเรียกของผืนป่าที่นี่

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

แถวนี้ดูน้ำจะขุ่นไปหน่อย
แถวนี้ดูน้ำจะขุ่นไปหน่อย

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

ถ่ายได้เรื่อยๆ ครับ แนะนำเที่ยวช่วงเย็นๆ ประมาณ16.00-17.00 น. แสงกำลังดี ทำมุมสะท้อนเงาน้ำและต้นไม้ได้สวย
ถ่ายได้เรื่อยๆ ครับ แนะนำเที่ยวช่วงเย็นๆ ประมาณ16.00-17.00 น. แสงกำลังดี ทำมุมสะท้อนเงาน้ำและต้นไม้ได้สวย

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

จุดถ่ายภาพ จุดแรกของผม
จุดถ่ายภาพ จุดแรกของผม

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

เส้นทางเดินทางเท้า ทางอย่างดีตลอด

เส้นทางเดินทางเท้า ทางอย่างดีตลอด

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ราคาคนไทย
ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ราคาคนไทย

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

ทางเข้า เสียค่าธรรมเนียม
ทางเข้า เสียค่าธรรมเนียม

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

ผังเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ควรอ่านซะนิดก่อนเดิน น่ะครับ
ผังเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ควรอ่านซะนิดก่อนเดิน น่ะครับ

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 18 ก.ค. 55

ป่าพรุทางเข้า
ป่าพรุทางเข้า

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

สระแก้ว กระบี่ สระแก้ว กระบี่ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 5.89 กิโลเมตร

เขากาโรส อ่าวลึก เขากาโรส อ่าวลึก (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 7.00 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

บลูมังกี้ ภูธารา กระบี่ โฮเทล แอนด์ วิลล่า บลูมังกี้ ภูธารา กระบี่ โฮเทล แอนด์ วิลล่า (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.37 กิโลเมตร

กาเลียน วิลล่า กาเลียน วิลล่า (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.50 กิโลเมตร

กระบี่แคสอะเวย์ วิลล่า กระบี่แคสอะเวย์ วิลล่า (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.61 กิโลเมตร

ดิ เอลลิเมนท์ กระบี่่ รีสอร์ท ดิ เอลลิเมนท์ กระบี่่ รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.88 กิโลเมตร

แมงกรู๊ฟ เบย์ วิลล่า แมงกรู๊ฟ เบย์ วิลล่า (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 6.85 กิโลเมตร

โรงแรม คริสตัล กระบี่ โรงแรม คริสตัล กระบี่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 6.86 กิโลเมตร

ท่าเลน รีสอร์ท ท่าเลน รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.02 กิโลเมตร

โรงแรมซี โฮม กระบี่ โรงแรมซี โฮม กระบี่ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 7.27 กิโลเมตร

เลอ ปาส ตอง เลอ ปาส ตอง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.99 กิโลเมตร

ลันตา รีสอร์ท ลันตา รีสอร์ท (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 9.02 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

เดอะโดม คาเฟ่ เดอะโดม คาเฟ่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.69 กิโลเมตร

เข้าชมล่าสุด