“วัดตาลเจ็ดยอด เป็นที่ประดิษฐาน รูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑ เมตร สูง ๑๘ เมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในขณะนี้”
วัดตาลเจ็ดยอด อยู่ในตำบลศาลาลัย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปทางอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีป้ายบอกทางเข้าตลอดทาง ตัววัดตั้งอยู่ท่ามกลางท้องนา เมื่อเข้าไปในซอยจะเห็นองค์หลวงพ่อโต (สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี) องค์ขนาดใหญ่ เป็นองค์รูปเหมือน ขนาดหน้าตักกว้าง 11 เมตร สูง 18 เมตร น้ำหนักรวม 50,000 กิโลกรัม หล่อจากโลหะทองเหลืองเป็นชิ้นใหญ่ 16 ชิ้น ตั้งอยู่โดดเด่นเป็นสง่า เบื้องหน้าเป็นยอดเขาสามร้อยยอดซึ่งเป็นทิวทัศน์ที่มีความงดงามมาก
นอกจากองค์หลวงพ่อโตขนาดใหญ่แล้ว ภายในวัดยังมีบ่อน้ำมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ จำลองสถานที่คล้ายกับบ่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ วัดอินทรวิหาร มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งจำลองของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักท่องเที่ยว หรือผู้ที่เข้าเยี่ยมชมได้สวดมนต์เจริญภาวนา ภายในบริเวณบ่อน้ำมนต์มีรูปองค์พระพุทธเจ้า 28 พระองค์โดยรอบ
สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่าน อำเภอสามร้อยยอด น่าจะแวะสักการะ เพื่อความเป็นศิริมงคล และเป็นการแวะพักผ่อนไปด้วย
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 21 รายการ)รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
เมื่อครั้งที่หลวงปู่ได้เรียนจบชั้นธรรมบทที่วัดเสมาเมืองแล้วก็ได้ขอโดยสารเรือสำเภาของนายอินทร์ลงเรือที่ท่าเมืองจะทิ้งพระจะไปกรุงอโยธยาพระนครหลวงเพื่อศึกษาเล่าเรียนธรรมเพิ่มเติมอีก เรือสำเภาใช้ใบแล่นถึงเมืองนครศรีธรรมราช นายอินทร์เจ้าของเรือได้นิมนต์ขึ้นบกไปนมัสการพระบรมธาตุตามประเพณีชาวเรือเดินทางไกลซึ่งได้ปฏิบัติกันมาแต่กาลก่อน ๆ เพื่อขอความสวัสดีต่อการเดินทางทางทะเลแล้วพากันลงเรือสำเภาที่คลองท่าแพ เรือสำเภาใช้ใบสู่ทะเลหลวงเรียบร้อยตลอดมาเป็นระยะทาง ๓ วัน ๓ คืน วันหนึ่งท้องทะเลฟ้าวิปริตเกิดพายุ ฝนตกมืดฟ้ามัวดินคลื่นคะนองอย่างบ้าคลั่ง ทำให้เรือจะแล่นต่อไปก็ไม่ได้ จึงลดใบทอดสมอสู้คลื่นลมอยู่ถึง ๓ วัน ๓ คืน จนพายุสงบเงียบลงเป็นปกติ แต่เหตุการณ์บนเรือสำเภาเกิดความเดือดร้อนมากเพราะน้ำจืดที่ลำเลียงมาหมดลง คนเรือไม่มีน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหาร นายอินทร์เจ้าของเรือเป็นเดือดเป็นแค้นในเหตุการณ์ครั้งนั้นหาว่าเป็นเพราะหลวงปู่ทวดได้อาศัยมากับเรือจนเป็นเหตุทำให้เกิดเหตุการณ์วิปริต ซึ่งตนไม่เคยประสบเช่นนี้มาก่อน จึงบันดาลโทสะจึงไล่ให้หลวงปู่ลงจากเรือสำเภา หมายจะปล่อยให้ท่านไปตามยะถากรรม ขณะที่หลวงปู่ทวดกำลังลงนั่งอยู่ในเรือเล็กท่านได้เสี่ยงอธิษฐานบารมี หากว่าท่านจะได้เดินทางไปศึกษาพระธรรมต่อที่กรุงอโยธยาก็ขอให้น้ำทะเลที่ท่านเหยียบลงไปจืด เมื่อท่านอธิษฐานเสร็จแล้วท่านก็ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำทะเลแล้วบอกให้ลูกเรือลองตักน้ำขึ้นดื่มกินดู ปรากฏว่าน้ำทะเลที่เค็มจัดตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำที่มีรสจืดสนิท ลูกเรือคนนั้นจึงร้องบอกขึ้นไปบนเรือใหญ่ให้เพื่อนทราบ พวกกะลาสีบนเรือใหญ่จึงพากันตักน้ำทะเลตรงนั้นขึ้นไปดื่มแก้กระหาย เป็นที่อัศจรรย์ในอภินิหารของพระภิกษุหนุ่มยิ่งนัก
ความทราบถึงนายอินทร์เจ้าของเรือจึงได้ดื่มน้ำพิสูจน์ดูปรากฏว่าน้ำทะเลที่จืดนั้นมีบริเวณอยู่จำกัดเป็นวงกลมประมาณเท่าล้อเกวียนนอกนั้นเป็นน้ำเค็มตามธรรมชาติของทะเลจึงสั่งให้ลูกเรือตักน้ำในบริเวณนั้นขึ้นบรรจุภาชนะไว้บนเรือจนเต็ม นายอินทร์และลูกเรือได้ประจักษ์ในอภินิหารของท่านก็เกิดความหวาดวิตกภัยพิบัติที่ตนได้กระทำไว้ต่อท่าน จึงได้นิมนต์ให้ท่านขึ้นบนเรือใหญ่แล้วพากันกราบไหว้ขอขมาโทษตามที่ตนได้กล่าวคำล่วงเกินต่อท่าน แล้วจึงถอนสมอเรือออกเดินทางมุ่งหน้าสู่กรุงอโยธยาด้วยความปลอดภัย
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ. 2112-2133
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. 2133-2148
สมเด็จพระเอกาทศรถ พ.ศ. 2148-2153
สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ พ.ศ. 2153-2154
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. 2154-2171
สมเด็จพระเชษฐาธิราช พ.ศ. 2171-2173
สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ พ.ศ. 2173-2173
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173-2199
สมเด็จเจ้าฟ้าไชย พ.ศ. 2199-2199
สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พ.ศ. 2199-2199
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2199-2231
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหน นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม
เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7 ขวบ พ.ศ. 2132 บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎ๊หลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป
ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ ปัจบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัดสีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้น
โดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้สั่งเสียกับลูกศิษย์ว่าเมื่อท่านมรณภาพให้นำพระศพท่านไปไว้ที่วัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ต่อไปสถานที่ข้างหน้าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้คนมาเที่ยว
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
http://www.thai-tour.com/thai-tour/South/songkla/data/place/pic-wat-prako.htm
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
http://www.thai-tour.com/thai-tour/South/pattani/data/place/pic_wat_changhai.htm
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/prachuab/data/place/pic_huay-monkol-temple.html
รีวิวเมื่อ 21 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 19 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 18 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 18 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 18 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 18 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 18 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 18 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 18 พ.ค. 55