“ตลาดเก้าห้อง เป็นตลาดห้องแถวเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน อายุประมาณ 100 ปี  ”

ตลาดเก้าห้อง สร้างประมาณต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตั้งอยู่ ในเขตเทศบาลตำบล บางปลาม้า หมู่ที่ 2 ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จากเอกสารที่มีผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติตลาดเก้าห้อง และจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ คำว่า ”ตลาดเก้าห้อง” น่าจะนำมาจากชื่อของบ้านเก้าห้อง ซึ่งเป็นบ้านโบราณมีประวัติสืบทอดมายาวนาน

ตลาดเก้าห้องเล่ากันว่าสร้างขึ้นโดยชาวจีนคนหนึ่งชื่อ “นายฮง“ อพยพมาจากกรุงเทพฯ มาทำมา ค้าขายอยู่บริเวณละแวกบ้านเก้าห้อง กิจการค้ารุ่งเรืองดี ในราว พ.ศ. 2424 ได้แต่งงานกับ “นางแพ” ซึ่งเป็นหลานสาวของขุนกำแหงฤทธิ์แห่งบ้านเก้าห้อง และได้ประกอบอาชีพค้าขายที่แพซึ่งสร้างขึ้นไว้ 1 หลัง จอดอยู่ริมน้ำหน้าบ้านเก้าห้อง ซึ่งในสมัยก่อนเป็นย่านค้าขายที่มีเรือนแพขายของสองฝั่งแม่น้ำ นายฮง หรือที่ชาวบ้านมักนิยมเรียกว่า “เจ๊ก รอด” ทำการค้าขายสินค้าทุกประเภทโดยเฉพาะเครื่องบวช เครื่องมืออุปกรณ์ทำนาและเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งหลายจนร่ำรวยและรู้จักกันในนามต่อมาว่า “นายบุญรอด เหลียงพานิช” ในปี พ.ศ. 2467 โจรได้ปล้นแพของนายบุญรอด และได้ทำการประทุษร้ายนางแพจนถึงแก่กรรม หลังจากนั้นไม่นานนายบุญรอดได้สมรสกับนางส้มจีน นายบุญรอดเริ่มวางแผนผังและสร้างตลาดบริเวณฝั่งตรงข้าม บ้านเก้าห้อง โดยโยกย้ายแพทั้งหลายทั้งหลายขึ้นไปค้าขายบนบกคือในตลาด เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางน้ำในบริเวณนั้นและเปิดการค้าทางบกมากขึ้นและนำชื่อบ้านเก้าห้อง มาเป็นชื่อตลาด คือ “ตลาดเก้าห้อง

ความนิยมในตลาดเก้าห้อง ไม่มากเหมือนเมื่อก่อน มีร้านค้าน้อยลง แต่ความเป็นตลาดสภาพบ้านเรือ ยังคงมีหลงเหลือให้เห็นอยู่

 

การเดินทาง

ประมาณ 6 กม. ก่อนถึงตัวเมืองสุพรรณบุรี (มาจากตลิ่งชัน กทม) จะมีทางให้เลี้ยวซ้าย หากเลยต้องไม่ยูเทิน ไม่ไกลนัก ป้ายทางเข้าตลาดเก้าห้อง จะเล็กหน่อย อยู่ในซอย ต้องสังเกตุดีๆ ผมเองยังมองไม่ทันเลย จากปากทางเข้าขับไปประมาณ 3 กม. ตามทางตลอดจนถึง สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน(ดูเหมือนคลองมากกว่า) จะผ่านชุมชนเก้าห้อง จอดรถหน้าตลาดเก้าห้อง หรืออีกวีธี คือ จาก ตัวเมืองสุพรรณบุรี ใช้เส้นทางสุพรรณบุรี บางแม่หม้าย ประมาณ 9 กิโลเมตรจะมีทางแยกซ้ายมือ เข้าตลาดเก้าห้อง มีลานจอดรถด้านหน้าตลาดฝั่งตรงข้ามโรงเรียนวัดบ้านหมี่

 

ตลาดเก้าห้อง

แชร์

หมู่ที่ 2 ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 72150 แผนที่

รีวิว 17 รายการ | ครอบครัว,ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,ตลาด ถนนคนเดิน

ไม่ทราบเวลาเปิดปิดที่แน่นอน

035-587427

n/a

4363

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 17 รายการ)

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ที่ทำการคณะกรรมการพัฒนาตลาดเก้าห้อง
คุณศิริพรรณ ตันศักดิ์ดา โทร. 08 -1828-8695
หรือที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 โทร. 0-3558-7044
ชุมชนตลาดเก้าห้อง โทร. 081 – 7634133 / 081 – 7042183

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

ตลาดล่าง มีอายุประมาณ 104 ปี ลักษณะเป็นห้องแถวไม้ 2 ชั้น แบบสถาปัตยกรรมจีนโบราณ สร้างโดยนายบุญรอด เหลียงพาณิช
ที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่เจริญรุ่งเรืองในอดีต

สถานที่ท่องเที่ยวในตลาด : หอดูโจร พิพิธภัณฑ์บ้านเก้าห้อง ของเก่าโบราณบ้านมหาเจริญ (นาฬิการ และตะเกียง)
ที่เนี่เป็นที่ถ่ายละคร ภาพยนต์ และสารคดี เช่น ลอดลายมังกร ดงดอกเหมย อยู่กับก๋ง
ตลาดล่าง มีอายุประมาณ 104 ปี ลักษณะเป็นห้องแถวไม้ 2 ชั้น แบบสถาปัตยกรรมจีนโบราณ สร้างโดยนายบุญรอด เหลียงพาณิช
	ที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่เจริญรุ่งเรืองในอดีต
	
	สถานที่ท่องเที่ยวในตลาด : หอดูโจร พิพิธภัณฑ์บ้านเก้าห้อง ของเก่าโบราณบ้านมหาเจริญ (นาฬิการ และตะเกียง)
	ที่เนี่เป็นที่ถ่ายละคร ภาพยนต์ และสารคดี เช่น ลอดลายมังกร ดงดอกเหมย อยู่กับก๋ง

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

ตลาดกลาง สภาพเดิมเป็นโรงสีของนายทองดี ต่อมาสร้างเพิ่มเติม อีก 10 ห้อง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน ในอดีตมีท่าเรือที่สำคัญในการขนส่งซื้อขายสินค้าข้าวสาร อีกทั้งยังมีท่าเรือในการรับส่งชาวบ้านในตลาดรวมถึงหมู่บ้านใกล้เคียงที่ต้องการเดินทางไปยังตัวเมือง จ.สุพรรณบุรี, บางกอก(กทม.) ฯลฯ
ปัจจุบันตลาดกลางมีอายุประมาณ 74 ปี เคยใช้เป็นที่ถ่ายภาพยนต์ ละคร และโฆษณามาแล้วมากมาย เช่น
อั้งยี่, 7 ประจันบาน, อยู่กับก๋ง, แม่เบี้ย

สิ่งที่น่าสนใจได้แก่
โรงสีเก่า
เรือนไม้เก่า
เครื่องพิมพ์โบราณอายุร่วม 80 ปี (โรงพิมพ์ไพโรจน์)
บ้านสะสมเหล้าเก่า
ตลาดกลาง สภาพเดิมเป็นโรงสีของนายทองดี ต่อมาสร้างเพิ่มเติม อีก 10 ห้อง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน ในอดีตมีท่าเรือที่สำคัญในการขนส่งซื้อขายสินค้าข้าวสาร อีกทั้งยังมีท่าเรือในการรับส่งชาวบ้านในตลาดรวมถึงหมู่บ้านใกล้เคียงที่ต้องการเดินทางไปยังตัวเมือง จ.สุพรรณบุรี, บางกอก(กทม.) ฯลฯ
	ปัจจุบันตลาดกลางมีอายุประมาณ 74 ปี เคยใช้เป็นที่ถ่ายภาพยนต์ ละคร และโฆษณามาแล้วมากมาย เช่น
	อั้งยี่, 7 ประจันบาน, อยู่กับก๋ง, แม่เบี้ย
	
	สิ่งที่น่าสนใจได้แก่
	โรงสีเก่า
	เรือนไม้เก่า
	เครื่องพิมพ์โบราณอายุร่วม 80 ปี (โรงพิมพ์ไพโรจน์)
	บ้านสะสมเหล้าเก่า

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

ตลาดเก้าห้อง : มีอยู่ 3 ประเภท ประกอบด้วย
ตลาดบน
ตลาดกลาง
และ
ตลาดล่าง
-------------------------------
ตลาดบน มีอายุประมาณ 74 ปี ลักษณะเป็นห้องแถวไม้ 2 ชั้น คุมด้วยหลังคาสูง แบบสถาปัตยกรรมจีนปนไทย ประมาณ 20 ห้อง พระชาญสุวรรณเขตเป็นผู้สร้าง
สิ่งน่าสนใจ ได้แก่
-สถาปัตยกรรมเรือนไม้โบราณ 2 ชั้น
-ฮู้ใหญ่โบราณ เดิมที่ชาวบ้านตลาดบนมักเจ็บไข้ได้ป่วยและเสียชีวติอยู่บ่อยๆ เนื่องจากเชื่อกันว่าเกิดมาจากที่เมรุวัดลานคาตั้งตรงข้ามกับตลาดต่อมาจึงให้ซินแสมาตรวจดูว่าเกิดจากสาเหตุใด ภายหลังซินแสได้แนะนำให้สร้างฮู้ขึ้นตั้งไว้บนชื่อ เพื่อเป็นการแก้เคลิด และป้องกันภัญสิ่งไม่ดีต่างๆ ไม่ให้เข้ามาหลังจกานั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านตลาดบนจึงอยู่อย่างสงบสุขเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
-ชักรอก (ม่านบังแสงที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวบัานในอดีต)
ตลาดเก้าห้อง : มีอยู่ 3 ประเภท ประกอบด้วย
	ตลาดบน
	ตลาดกลาง
	และ
	ตลาดล่าง
	-------------------------------
	ตลาดบน มีอายุประมาณ 74 ปี ลักษณะเป็นห้องแถวไม้ 2 ชั้น คุมด้วยหลังคาสูง แบบสถาปัตยกรรมจีนปนไทย ประมาณ 20 ห้อง พระชาญสุวรรณเขตเป็นผู้สร้าง
	สิ่งน่าสนใจ ได้แก่
	-สถาปัตยกรรมเรือนไม้โบราณ 2 ชั้น
	-ฮู้ใหญ่โบราณ เดิมที่ชาวบ้านตลาดบนมักเจ็บไข้ได้ป่วยและเสียชีวติอยู่บ่อยๆ เนื่องจากเชื่อกันว่าเกิดมาจากที่เมรุวัดลานคาตั้งตรงข้ามกับตลาดต่อมาจึงให้ซินแสมาตรวจดูว่าเกิดจากสาเหตุใด ภายหลังซินแสได้แนะนำให้สร้างฮู้ขึ้นตั้งไว้บนชื่อ เพื่อเป็นการแก้เคลิด และป้องกันภัญสิ่งไม่ดีต่างๆ ไม่ให้เข้ามาหลังจกานั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านตลาดบนจึงอยู่อย่างสงบสุขเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
	-ชักรอก (ม่านบังแสงที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวบัานในอดีต)

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

ร้านของเฮียบุญชู
เฮียบุญชูเป็นคนที่นี่ อากง อาม่าของแกอยู่ที่ตลาดเก้าห้อง ส่วนตัวแก มักจะมาบายมะม่วงดองกับไส้อั่วปากทางเข้าตลาดตลาด

ไส้อั่ว....อร่อยมาก
แกบอกว่ามาเก้าห้อง ต้อง ชิม ไม่ซื้อไม่ว่า
แต่ชิมแล้วต้องซื้อกลับ เพราะอร่อย
ผมไม่ได้ชิมหรอก แต่กลิ่นเครื่องเทศหอมมาก เลยต้องซื้อกลับ
ร้านของเฮียบุญชู
เฮียบุญชูเป็นคนที่นี่ อากง อาม่าของแกอยู่ที่ตลาดเก้าห้อง ส่วนตัวแก มักจะมาบายมะม่วงดองกับไส้อั่วปากทางเข้าตลาดตลาด
	
	ไส้อั่ว....อร่อยมาก
	แกบอกว่ามาเก้าห้อง ต้อง ชิม ไม่ซื้อไม่ว่า
	แต่ชิมแล้วต้องซื้อกลับ เพราะอร่อย
	ผมไม่ได้ชิมหรอก แต่กลิ่นเครื่องเทศหอมมาก เลยต้องซื้อกลับ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

ร้านขายขนมเปี๊ยะ (ร้านตั้งกุ้ยกี่ หรือร้านจันอับ) ขนมขึ้นชื่อ ตลาดเก้าห้อง ผมชิมแล้วอร่อยดี
ร้านขายขนมเปี๊ยะ (ร้านตั้งกุ้ยกี่ หรือร้านจันอับ) ขนมขึ้นชื่อ ตลาดเก้าห้อง ผมชิมแล้วอร่อยดี

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

ความเก่าความเป็นไทย ความรู้จักมักคุ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ร้านค้าเหล่านี้ยังคงอยู่ ณ ที่แห่งนี้
ความเก่าความเป็นไทย ความรู้จักมักคุ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ร้านค้าเหล่านี้ยังคงอยู่ ณ ที่แห่งนี้

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

ของสะสมเก่าๆ ในร้านเจริญสวัสดี
ของสะสมเก่าๆ ในร้านเจริญสวัสดี

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

ธภัณฑ์เก้าห้อง
พิพิธภํณฑ์ของเก่าเก็บ เอกชน โดยร้านเจริญสวัสตี อยู่ฝั่งตรงข้าม
เจ้าของใจดี ให้การต้อนรับไทยทัวร์พร้อมเล่าประวัติของเก่าสะสมแต่ละชิ้นอย่างละเอียด

ส่วนใหญ่เป็นของใช้จริงในชีวิตประจำวันในอดีต 40-60 ปีก่อน
ธภัณฑ์เก้าห้อง
	พิพิธภํณฑ์ของเก่าเก็บ เอกชน โดยร้านเจริญสวัสตี อยู่ฝั่งตรงข้าม
	เจ้าของใจดี ให้การต้อนรับไทยทัวร์พร้อมเล่าประวัติของเก่าสะสมแต่ละชิ้นอย่างละเอียด
	
	ส่วนใหญ่เป็นของใช้จริงในชีวิตประจำวันในอดีต 40-60 ปีก่อน

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

ลักษณะบ้านเรือนที่นี่ บ้านไม้ทรงไทย แบบ 1-2 ชั้น
เสาทีวีต้องสูง เพื่อรับสัญญาณได้ชัดขึ้น
กำแพงด้านนอกเป็นสังกะสี หน้าบันบนประตูด้านบันเป็นตะแกงด้วยไม้หรือลวด เพื่อระบายลม ประตูบ้านเป็นแบบบานพับทำด้วยไม้
ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้หญิง ใส่เสื้อคอกระเช้า มักออกมานั่งหน้าระเบียงบ้าน รับลมเย็น สนทนากับคนบ้านใกล้เรือนเคียง

คนหนุ่มสาวไม่ค่อยได้อยู่ที่นี่แล้ว ออกไปทำงานกันในกรุงเทพฯเป็นส่วนใหญ่ นับวันจะหาดูวิถีชีวิตแบบนี้ได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ
ลักษณะบ้านเรือนที่นี่ บ้านไม้ทรงไทย แบบ 1-2 ชั้น
	เสาทีวีต้องสูง เพื่อรับสัญญาณได้ชัดขึ้น
	กำแพงด้านนอกเป็นสังกะสี หน้าบันบนประตูด้านบันเป็นตะแกงด้วยไม้หรือลวด เพื่อระบายลม ประตูบ้านเป็นแบบบานพับทำด้วยไม้
	ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้หญิง ใส่เสื้อคอกระเช้า มักออกมานั่งหน้าระเบียงบ้าน รับลมเย็น สนทนากับคนบ้านใกล้เรือนเคียง
	
	คนหนุ่มสาวไม่ค่อยได้อยู่ที่นี่แล้ว ออกไปทำงานกันในกรุงเทพฯเป็นส่วนใหญ่ นับวันจะหาดูวิถีชีวิตแบบนี้ได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

บ้านเก้าห้อง เป็นหมู่บ้านเก้าห้อง เก่าแก่ในประว้ติศาสตร์ มีอายุประมาณ 150 ปี ชาวบ้านส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากเมืองเวียงจันทร์ เชียงขวาง อพยพมาตั้งแต่สมัย ร.3 ปัจจุบันเรียกตนเองว่า ไทยพวน มีภาษาพูดของตนเองเป็นภาษาลาวพวน ผู้คนบริเวณนี้ได้รับการกล่าวขานว่าขยันขันแข็งมากซึ่งหัวหน้าของชาวลาวพวนคนหนึ่งได้รับการแต่งตั้งบรรนาศักดิ์เป็น "ขุนกำแหงลือชีย" ทำหน้าที่เป็นนายกองเก็บส่วยและยังมีประเพณีเป็นของตนเอง เช่น ประเพณีกำฟ้า ประเพณีบั้งไฟไทยพวน

นอกจากนี้ยังมีคนจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานพร้อมกันโดยพิ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างสงบสุขและมีงานประจำปีของศาลเจ้าพ่อและเจ้าแม่ทั้ง 3 ตลาดซึ่งถือได้ว่าเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม ทั้ง ไทย จีน ลาวพวน
-------------------------------------------------------------------
ภาพศาลเจ้า
บ้านเก้าห้อง เป็นหมู่บ้านเก้าห้อง เก่าแก่ในประว้ติศาสตร์ มีอายุประมาณ 150 ปี ชาวบ้านส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากเมืองเวียงจันทร์ เชียงขวาง อพยพมาตั้งแต่สมัย ร.3 ปัจจุบันเรียกตนเองว่า ไทยพวน มีภาษาพูดของตนเองเป็นภาษาลาวพวน ผู้คนบริเวณนี้ได้รับการกล่าวขานว่าขยันขันแข็งมากซึ่งหัวหน้าของชาวลาวพวนคนหนึ่งได้รับการแต่งตั้งบรรนาศักดิ์เป็น

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

ในอดีตตลาดเก้าห้องนอกจากจะเป็นศูนย์กลางการค้าขายแล้วยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคม ทางน้ำที่สำคัญ ผู้คนจากพื้นที่ใกล้เคียงที่จะเดินทางหรือไปทำการค้าขายตัวในเมืองสุพรรณบุรีและกรุงเทพฯ จะต้องมาลงเรือโดยสารที่ตลาดเก้าห้อง เพราะสมัยก่อนหนทางยังไม่เจริญจึงต้องใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก ตัวผมเองในสมัยยังเป็นเด็กเคยไม่เยี่ยมญาติ แถวสามชุก ก็ต้องเดินทางด้วยเรือ นั่งเนานป็นชัวโมง
--------------------------------------
ทิวทัศน์โดยรอบ จากจุดชมวิวน บนหอโจร
ในอดีตตลาดเก้าห้องนอกจากจะเป็นศูนย์กลางการค้าขายแล้วยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคม ทางน้ำที่สำคัญ ผู้คนจากพื้นที่ใกล้เคียงที่จะเดินทางหรือไปทำการค้าขายตัวในเมืองสุพรรณบุรีและกรุงเทพฯ จะต้องมาลงเรือโดยสารที่ตลาดเก้าห้อง เพราะสมัยก่อนหนทางยังไม่เจริญจึงต้องใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก ตัวผมเองในสมัยยังเป็นเด็กเคยไม่เยี่ยมญาติ แถวสามชุก ก็ต้องเดินทางด้วยเรือ นั่งเนานป็นชัวโมง
	--------------------------------------
	ทิวทัศน์โดยรอบ จากจุดชมวิวน บนหอโจร

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

บนลานดาดฟ้า มีรูปปั้นดูเหมือนสิงห์มากกว่า แต่ตามประวัติว่าเป็นเสือ อยู่ประจำทั้งสี่มุม
ผมถ่ายมาครบ ด้านหน้าขวาเป็นตลาด ด้านหน้าซ้ายเป็นตลาดและวัด
ด้านหลังซ้ายเป็นแม่น้ำท่าจีน และบ้านเก้าห้อง
ด้านหลังขวาเป็นม่น้ำท่าจีนและวัด
บนลานดาดฟ้า มีรูปปั้นดูเหมือนสิงห์มากกว่า แต่ตามประวัติว่าเป็นเสือ อยู่ประจำทั้งสี่มุม
	ผมถ่ายมาครบ ด้านหน้าขวาเป็นตลาด ด้านหน้าซ้ายเป็นตลาดและวัด
	ด้านหลังซ้ายเป็นแม่น้ำท่าจีน และบ้านเก้าห้อง
	ด้านหลังขวาเป็นม่น้ำท่าจีนและวัด

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

หอดูโจร (สถาปัตยกรรมจีน)
เป็นหอิฐถือปูน ขนาดกว้าง 3 x 3 เมตร สูงเท่าตึก 4 ชั้น ชนบนเป็นลานดาดฟ้า ชั้น 2-3 มีรูเจาะไว้รอบผนัง 4 ด้าน เพื่อไว้สำหรับส่องปืนซุ่มยิงโจรที่จะมาปล้น โดยนายบุญรอด เหลืองพานิช เป็นผู้สร้างขึ้น ใช้เวลาก่อสร้าง ราว 1 ปี เศษ ซึ่งมีพระยารามราชภักดี เจ้าเมืองสุพรรณบุรีในสมัยนั้นได้ทำพิธิเปิดเมื่อปี พ.ศ.2477
เหตุที่สร้างหอนี้มาเพื่อป้องกันโจรผู้ร้ายซึ่งขณะนั้นมีโจรชุกชุมมาก เช่น โจรมเหศวร เสือดำ ฯลฯ จะให้ชายฉกรรจ์เข้าเวรยามที่ป้อมคอยระวังโจรที่จะเข้ามาปล้นตลาด
หอนี้จะมองเห็นทัศนียภาพได้ในระยะไกลไม่ว่าทั้งทางบกและทางน้ำ เมื่อสร้างหอนี้เสร็จทำให้โจรไม่กล้าเข้ามาปล้นตลาดเก้าห้องอีกเลย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 นายบุญรอดได้สร้างป้อม ซึ่งกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวประมาณ 4 เมตร มี 5 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นดาดฟ้า แต่ละชั้นบริเวณฝาผนังของทุกด้านมีรูกลมโต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว โดยมีพระยารามราชภักดี เจ้าเมืองสุพรรณบุรีในสมัยนั้นมาเป็นผู้ทำพิธีเปิด เหตุที่สร้างป้อมขึ้นมาเพราะในระยะนั้นพวกโจรหรือที่เรียกว่า “เสือ” หลายคนออกปล้นฆ่าตามริมน้ำท่าจีนเสมอ จึงได้สร้างป้อมไว้สังเกตการณ์และมีการเตรียมการป้องกันการปล้นสะดมของเสือทั้งหลายด้วย ถ้าเสือมาคนจะขึ้นไปประจำอยู่ในป้อมตามชั้นต่างๆเอาปืนส่องยิงตามรูทั้ง 4 ด้านของป้อม เพื่อต่อสู้กับเสือที่มาปล้น และจากคำบอกเล่าของยายของผู้เขียนเอง เล่าว่าในสมัยสงครามโลก เวลากลางคืนจะมียามขึ้นไปคอยสังเกตการณ์ บนป้อม ถ้ามีเครื่องบินบินมาก็จะส่งสัญญาณให้คนในตลาดหรี่หรือดับตะเกียงเพื่อไม่ให้เครื่องบินมองเห็นไฟ จะได้ไม่ทิ้งระเบิดลงมา
---------------------------------
ภาพช่องสอดปืน และดูโจร
หอดูโจร (สถาปัตยกรรมจีน)
เป็นหอิฐถือปูน ขนาดกว้าง 3 x 3 เมตร สูงเท่าตึก 4 ชั้น ชนบนเป็นลานดาดฟ้า ชั้น 2-3 มีรูเจาะไว้รอบผนัง 4 ด้าน เพื่อไว้สำหรับส่องปืนซุ่มยิงโจรที่จะมาปล้น โดยนายบุญรอด เหลืองพานิช เป็นผู้สร้างขึ้น ใช้เวลาก่อสร้าง ราว 1 ปี เศษ ซึ่งมีพระยารามราชภักดี เจ้าเมืองสุพรรณบุรีในสมัยนั้นได้ทำพิธิเปิดเมื่อปี พ.ศ.2477
	เหตุที่สร้างหอนี้มาเพื่อป้องกันโจรผู้ร้ายซึ่งขณะนั้นมีโจรชุกชุมมาก เช่น โจรมเหศวร เสือดำ ฯลฯ จะให้ชายฉกรรจ์เข้าเวรยามที่ป้อมคอยระวังโจรที่จะเข้ามาปล้นตลาด
	หอนี้จะมองเห็นทัศนียภาพได้ในระยะไกลไม่ว่าทั้งทางบกและทางน้ำ เมื่อสร้างหอนี้เสร็จทำให้โจรไม่กล้าเข้ามาปล้นตลาดเก้าห้องอีกเลย
	ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 นายบุญรอดได้สร้างป้อม ซึ่งกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวประมาณ 4 เมตร มี 5 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นดาดฟ้า แต่ละชั้นบริเวณฝาผนังของทุกด้านมีรูกลมโต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว โดยมีพระยารามราชภักดี เจ้าเมืองสุพรรณบุรีในสมัยนั้นมาเป็นผู้ทำพิธีเปิด เหตุที่สร้างป้อมขึ้นมาเพราะในระยะนั้นพวกโจรหรือที่เรียกว่า “เสือ” หลายคนออกปล้นฆ่าตามริมน้ำท่าจีนเสมอ จึงได้สร้างป้อมไว้สังเกตการณ์และมีการเตรียมการป้องกันการปล้นสะดมของเสือทั้งหลายด้วย ถ้าเสือมาคนจะขึ้นไปประจำอยู่ในป้อมตามชั้นต่างๆเอาปืนส่องยิงตามรูทั้ง 4 ด้านของป้อม เพื่อต่อสู้กับเสือที่มาปล้น และจากคำบอกเล่าของยายของผู้เขียนเอง เล่าว่าในสมัยสงครามโลก เวลากลางคืนจะมียามขึ้นไปคอยสังเกตการณ์ บนป้อม ถ้ามีเครื่องบินบินมาก็จะส่งสัญญาณให้คนในตลาดหรี่หรือดับตะเกียงเพื่อไม่ให้เครื่องบินมองเห็นไฟ จะได้ไม่ทิ้งระเบิดลงมา
	---------------------------------
ภาพช่องสอดปืน และดูโจร

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

หอดูโจร
หอดูโจร

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

สภาพบ้านเรือสองฝั่งน้ำ
สภาพบ้านเรือสองฝั่งน้ำ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 7 ก.ค. 53

ตลาดเก้าห้อง
ตลาดเก้าห้อง

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

อุทยานมัจฉา วัดป่าพฤกษ์ อุทยานมัจฉา วัดป่าพฤกษ์ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 5.58 กิโลเมตร

หอคอยบรรหาร หอคอยบรรหาร (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 7.47 กิโลเมตร

วัดพระรูป วัดพระรูป (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 7.58 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 7.90 กิโลเมตร

วัดสุวรรณภูมิ วัดสุวรรณภูมิ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 7.90 กิโลเมตร

กำแพงเมืองเก่าและประตูเมือง กำแพงเมืองเก่าและประตูเมือง (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 8.32 กิโลเมตร

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 8.78 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

เครสตัน แกรนด์ เครสตัน แกรนด์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.84 กิโลเมตร

บ้านใกล้เรือนเคียง รีสอร์ท บ้านใกล้เรือนเคียง รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 4.39 กิโลเมตร

คันทรี่ เลควิว โฮเต็ล คันทรี่ เลควิว โฮเต็ล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 4.65 กิโลเมตร

เดอะ การ์เด้นโฮมรีสอร์ท สุพรรณบุรี เดอะ การ์เด้นโฮมรีสอร์ท สุพรรณบุรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 6.54 กิโลเมตร

สุขมาก อพาร์ทเม้นท์ สุขมาก อพาร์ทเม้นท์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 6.61 กิโลเมตร

ทรัพย์สุวรรณแมนชั่น ทรัพย์สุวรรณแมนชั่น (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 6.80 กิโลเมตร

ไทยเกษม อพาร์ทเมนท์ ไทยเกษม อพาร์ทเมนท์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 6.80 กิโลเมตร

สุพรรณนารา บูติค อพาร์ทเม้นท์ สุพรรณนารา บูติค อพาร์ทเม้นท์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.01 กิโลเมตร

คุ้มสุพรรณ คุ้มสุพรรณ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.09 กิโลเมตร

กินรี อพาร์ตเม้นต์ กินรี อพาร์ตเม้นต์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.24 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

ครัวเก้าห้อง ครัวเก้าห้อง (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.27 กิโลเมตร

กุ่ยหมง กุ่ยหมง (รีวิว 3 รายการ)

ห่าง 2.20 กิโลเมตร

แม่บ๊วย แม่บ๊วย (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 2.38 กิโลเมตร

ก๋วยเตี๋ยวเรือนายเท้า ก๋วยเตี๋ยวเรือนายเท้า (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 5.29 กิโลเมตร

กุ๊กโอชา กุ๊กโอชา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 6.61 กิโลเมตร

ข้าวหมูแดงเรือเมล์ ข้าวหมูแดงเรือเมล์ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 6.92 กิโลเมตร

ข้าวต้มโกเฑียร ข้าวต้มโกเฑียร (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 6.99 กิโลเมตร

ข้าวต้มโกตี๋ ข้าวต้มโกตี๋ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 7.03 กิโลเมตร

เจียงข้าวมันไก่ เจียงข้าวมันไก่ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 7.06 กิโลเมตร

ยิ้ม ยิ้ม โภชนา ยิ้ม ยิ้ม โภชนา (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 7.08 กิโลเมตร