“สวนรถไฟ เป็นศูนย์กลางในการพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชนในย่านใกล้เคียง มีส่วนที่เป็นสนามกอล์ฟเดิมสำหรับให้เด็ก ๆ ได้ฝึกหัดเล่นกอล์ฟ มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับพันธุ์ไม้แก่ผู้ที่สนใจ มีสวนพฤกษศาสตร์ สวนสมุนไพรนานาชนิด ลานกีฬา สวนพุทธศาสนา สวนพิพิธภัณฑ์รถไฟ ตลอดจน สระว่ายน้ำ และยังจัดเป็นที่กางเต็นท์พักแรมของเด็กนักเรียน ซึ่งสามารถศึกษานกหลายชนิดที่มีอยู่เองตามธรรมชาติได้อีกด้วย”
ประวัติความเป็นมา ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสภาพแวดล้อมใน รูปการเพิ่มพื้นที่สีเขียวใน เมือง เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต ของชาวกรุงเทพฯ ให้ทัดเทียมมหานครใหญ่ในภูมิภาค จึงเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2534 และวันที่ 29 มกราคม 2534 สมัยที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้จัดสร้างสวนสาธารณะบนพื้นที่ "สนามกอลฟ์รถไฟ" ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ส่วนแรก 140 ไร่ให้สร้าง เป็นสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ส่วนที่เหลือ 375 ไร่ กรุงเทพมหานครรับมอบที่ดินจากกระทรวงคมนาคม เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2541 และจ่ายค่าชดเชยให้การรถไฟ ฯ จำนวน 555 ล้านบาท และเริ่มเข้า ปรับปรุงพื้นที่สนามกอลฟ์เดิมเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2542
ต่อมาเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและเพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2545 กรุงเทพมหานครได้ขอพระราชทานชื่อให้กับสวนรถไฟ ซึ่งได้ทรงพระราชทานนามใหม่ให้ว่า "สวนวชิรเบญจทัศ" หนึ่งในวิถีชีวิตอยู่ดีมีสุข ก็คือ การได้พักผ่อนเต็มที่ ออกกำลังกายพอเพียง เพื่อให้ร่างกายตื่นตัว กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ สถานที่แนะนำในครั้งนี้ เป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจที่มีกิจกรรมที่น่าสนุก นั่นคือการขี่จักรยานออกกำลังกายไปรอบ ๆ สวน สถานที่ว่านี้ก็คือ สวนรถไฟ หรือสวนวชิรเบญจทัศ นั่นเอง สวนรถไฟ แต่ก่อนเคยใช้เป็นสนามกอล์ฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีเนื้อที่ 375 ไร่ ต่อมาได้สร้างเป็นสวนสาธารณะเพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชนในย่านใกล้เคียง มีส่วนที่เป็นสนามกอล์ฟเดิมสำหรับให้เด็ก ๆ ได้ฝึกหัดเล่นกอล์ฟ มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับพันธุ์ไม้แก่ผู้ที่สนใจ มีสวนพฤกษศาสตร์ สวนสมุนไพรนานาชนิด ลานกีฬา สวนพุทธศาสนา สวนพิพิธภัณฑ์รถไฟ ตลอดจน สระว่ายน้ำ และยังจัดเป็นที่กางเต็นท์พักแรมของเด็กนักเรียน ซึ่งสามารถศึกษานกหลายชนิดที่มีอยู่เองตามธรรมชาติได้อีกด้วย เพราะในสวนมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก
บริเวณภายใน เข้ามาในสวนเริ่มเห็นผู้คนหนาตาขึ้น ยิ่งถ้าเป็นวันเสาร์ อาทิตย์คนจะเยอะกว่าวันธรรมดามาก มีตลาดนัดขายอาหาร ของกิน ของใช้ แนวถูกใจแม่บ้านคุณผู้หญิง ซึ่งในวันธรรมดาไม่มีเพราะคนมากันน้อย จะเลือกเดินหรือวิ่ง ออกกำลังก็ได้ แต่ขอแนะนำกิจกรรมขี่จักรยาน ซึ่งเราคิดว่าดูน่าสนุกและมีสีสันกว่า มีร้านค้าให้เช่าจักรยานอยู่หลายร้าน มีจักรยานหลายแบบหลายทรงให้เลือก ทั้งแบบจักรยานเสือภูเขา นั่งได้คนเดียว จักรยานแม่บ้าน สำหรับเด็กเล็ก ผู้หญิง ผู้สูงวัย จักรยาน LA แบบมีเบาะซ้อน (คาดว่าเหมาะสำหรับหนุ่มสาว คู่รัก คู่กิ๊กแน่ ๆ เลย) สอบถามร้านให้เช่าร้านหนึ่งบอกว่าจักรยานของที่นี่รวมทั้งหมดแล้วมีมากกว่าสามพันคัน เยอะมาก สำหรับค่าเช่าประมาณคันละ 20 30 บาทแล้วแต่รุ่นของจักรยาน (เสือภูเขามีเกียร์ ดีสุด แพงสุด คันละ 30 บาท) ซึ่งทางร้านเขาจะไม่กำหนดเวลา จะขี่นานเท่าไหร่ก็ได้ ขอให้คืนก่อน 19.30 น.ก็แล้วกัน โดยวางบัตรประชาชนมัดจำไว้
หลายร้านมีโปรโมชั่นเป็นบัตรประทับตรา ปั๊มตราครบ 5 ครั้งได้ขี่ฟรี 1 ครั้ง บางร้าน เช่า 6 7 คันแถมฟรี 1 คัน สำหรับกลุ่มที่มากันหลาย ๆ คน ก็เข้าท่าดีเหมือนกัน ถ้าเป็นวันธรรมดาที่ไม่ใช่วันเสาร์ อาทิตย์ บางร้านเช่า 1 คันแถมเสื่อเอาไปปูรองนั่งด้วยก็มี (ปกติค่าเช่าเสื่อ 20 บาท) แวะชมผีเสื้อสวย ๆ ที่อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ ขี่ผ่านมาเห็นกรงตาข่ายขนาดใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ ที่จัดไว้ให้ชมผีเสื้อ มีประมาณ 20 ชนิด รวมแล้วมากกว่า 500 ตัว ให้เดินชมแบบ walk in โดยจัดภูมิทัศน์แบบธรรมชาติ ประกอบด้วยพรรณไม้ต่าง ๆ บ่อน้ำ ลำธาร น้ำตกเล็ก ๆ รวมทั้งพืชอาหารของผีเสื้อ ภายในตึกจัดเป็นนิทรรศการแสดงเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผีเสื้อ สำหรับที่นี่เปิดให้เข้าชมฟรี ทุกวันอังคาร – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.30 16.30 น. ปิดวันจันทร์ เรามาถึงในช่วงที่เขาเปิดพอดี จอดรถไว้ข้างหน้า แล้วลองแวะเข้าไปเดินเยี่ยมชมกันหน่อยดีกว่า
ที่ตั้ง : ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 ขนาดพื้นที่ :375 ไร่ เวลาทำการ : 05.00 21.00 น. ทุกวัน ประเภทของสวน :สวนสาธารณะขนาดกลางหรือ สวนระดับเขต หน่วยงานรับผิดชอบ :สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม รถประจำทาง: ผ่านบริเวณใกล้เคียง (สวนจตุจักรด้าน ถนนพหลโยธิน) สาย 3 8 26 27 28 34 38 39 44 63 90 96 104 112 134 138 ปอ.2 3 9 10 12 13 ประชาชนผู้มาใช้บริการ: วันธรรมดา 2,000 5,000 คน วันหยุดราชการ 5,000 10,000 คน
การเดินทาง สวนรถไฟอยู่เขตจตุจักร ติดกับสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ใกล้ ๆ สวนจตุจักรนี่เอง ทางเข้าจะอยู่ใกล้กับตึก ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ้ามาจาก ถ.วิภาวดีรังสิต แยกสุทธิสาร จะต้องขึ้นสะพานลอยข้ามแยก (ด้านนอก) ให้เลือกช่อง “ดอนเมือง” อย่าผิดช่องเพราะมีหลายทางเลือกมาก เมื่อลงสะพานลอยให้ชิดซ้ายตัดเข้าถนนเล็ก ๆ ตรงทางเข้า ตรงจุดนี้ควรใช้ความระมัดระวังด้วย เพราะระยะทางค่อนข้างกระชั้นชิด ถ้ามาจากทางอื่นไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก แล้วเลี้ยวเข้าซอยข้าง ปตท.ซึ่งจะเห็นป้ายชื่อสวนวชิรเบญจทัศขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ถ้านำรถมาเสียค่าบำรุงสถานที่ 10 บาท
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 11 รายการ)รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 23 ก.ค. 54