“สะพานพระราม9 หรือ สะพานแขวน เป็นสะพานเสาขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อ สะพานพระราม 9 เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา ปี พ.ศ. 2530 ใต้สะพานเป็นสวนสาธารณะ มีประชาชนมาออกกำลังกาย ริมบรรยกาศริมแม่น้ำเจ้าพระยาทุกวัน”
สะพานพระราม 9 เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง ท่าเรือ ช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable Stayed Bridge หรือสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ขึงเป็นระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูงของสะพานเพื่อรับ น้ำหนักของสะพาน เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ตัวสะพาน (Bridge Deck) ประกอบด้วย เหล็กแบบ Box Girder มีคานขวาง (Cross Girder) ทุก ๆ ระยะ 3.60 เมตร ตัวสะพานแบ่งตามความยาวของสะพานออกเป็น 2 ส่วนคือ ตัวสะพานซึ่งอยู่ระหว่างเสาขึงทั้งสองข้างมีความยาว 450 เมตร เรียกว่า Main Span เฉพาะช่วงของ Main Span มีรูปตัดเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูกว้าง 33 เมตร ช่วงของ Back Span มีรูปตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ในส่วนที่บรรจบกับ Main Span มีความกว้าง 33 เมตร และลดลงเป็น 31 เมตร เพื่อต่อกับเชิงลาดของสะพานภายในสะพานมีช่องทางเดินตลอดสะพาน แบ่งเป็น 3 ช่อง มีความสูง 4.00 เมตรเพื่อความสะดวกในการเดินสำรวจสภาพและซ่อมบำรุงภายในสะพาน เสาขึง (Pylon) มี 2 ต้น เป็นเสาเหล็กรูปหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 3.00 x 4.50 เมตร ที่โคนเสาบนพื้นสะพาน และลดลงเป็น 2.50 x 3.00 เมตร ที่ยอดเสาสูง 87 เมตร เสาขึงนี้จะทำหน้าที่ยึดและรับแรงดึงจากสายเคเบิลแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาตอม่อ (Pylon Pier)
ภายในจะมีบันไดและลิฟท์เพื่อใช้ตรวจสอบและซ่อมบำรุง สายเคเบิล (Cable) ประกอบด้วย เส้นลวด (Wire) ขนาดเล็กจำนวนมากขบกัน ในลักษณะบิดเป็นเกลียวรอบจุดศูนย์กลาง เรียกว่า Locked Coil Cable มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 121 167 มิลลิเมตร ความยาว 50 223 เมตร รวมจำนวน 4 ชุด ชุดละ 17 เส้นรวมทั้งหมด 68 เส้น สามารถรับแรงดึงได้ตั้งแต่ 1,500-3,000 ตัน ประวัติความเป็นมา สวนสาธารณะแห่งนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงมหาดไทย การทางพิเศษแห่ง ประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมอบที่ดิน และส่วนประกอบอื่นในบริเวณเชิงสะพานพระราม 9 ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวม 52 ไร่ ให้แก่กรุงเทพมหานคร เพื่อจัดสร้างสวนสาธารณะโดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งสร้างเสร็จพร้อมเปิดบริการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 ได้รับพระราชทานชื่อว่า "สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา"
ลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจในสวน
สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ ได้รับการออกแบบอย่างน่าสนใจ สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยการนำปรากฏการณ์ธรรมชาติ เข้ามาเป็นองค์ประกอบของสวน ได้อย่างลงตัวในลักษณะ Waterfront park ภาพรวมของสวน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแนวกั้นกลางตามธรรมชาติ ช่วยเพิ่มทิวทัศน์ที่งดงาม จึงกลายเป็นจุดชมวิวธรรมชาติ ของแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีเสน่ห์ ในแบบโลกตะวันออก ซึ่งพื้นที่บางส่วนความเจริญทางวัตถุยังเอื้อมมาไม่ถึง บริเวณริมน้ำของสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ จัดไว้เพื่อการพักผ่อน ในบรรยากาศธรรมชาติที่ผ่อนคลาย สงบนิ่ง ท่ามกลางความร่มรื่น งดงามของพันธุ์ไม้เขียวชอุ่ม และสายลมพัดพากลิ่นไอธรรมชาติที่สดชื่น
สวนสาธารณะเปิดทุกวัน วันธรรมดา 16.00 น. ปิดประมาณ 1-2 ทุ่ม
ที่จอดรถ ไม่เพียงพอต่อ ผู้ที่มาใช้บริการ
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 13 รายการ)รีวิวเมื่อ 12 มิ.ย. 59
www.siamtopview.com/ภาพมุมสูง-สะพานพระราม-9/
รีวิวเมื่อ 23 ธ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 1 พ.ค. 54
รีวิวเมื่อ 9 ก.ค. 53
http://www.thai-tour.com/wb/view_topic.php?id_topic=669
รีวิวเมื่อ 9 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 9 ก.ค. 53
สมัยก่อนแถวนี้เป็นโรงไม้ โรงเก็บข้าว และโกดังเก็บสินค้าต่างๆ มากมาย เรือสินค้าที่แล่นมาจากปากอ่าว ผ่านมาจากท่าเรือคลองเตย ก่อนที่จะเข้าเยาวราช ก็มักจะมาพักเรือ หรือเก็บสินค้าแถวย่านนี้... สะพานที่เห็นไกลๆ คือ สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม (ไม่ใช่สะพานพระรามเก้า) น่ะ
รีวิวเมื่อ 9 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 9 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 9 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 9 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 9 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 9 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 9 ก.ค. 53
ด้านฝั่งธ.กสิกร สังเกตุดีๆ จะเห็นเรือสุพรรณหงส์ จอดริมฝั่งอยู่