“ ทุ่งดอกกระเจียว ป่าหินงาม ”
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม มีทุ่งดอกกระเจียว เปรียบเสมือนเป็นราชินีแห่งมวลดอกไม้ของขุนเขาแห่งนี้ ที่ทุกคนตั้งใจมาดู มาชมความงามตระการตา ดอกสีชมพูอมม่วงที่ดารดาษไปทั้งผืนป่า ตัดกับสีเขียวขจีของหญ้าเพ็กและโขดหิน ประดุจเทพจากสรวงสวรรค์ประทานให้กับแผ่นดินที่นี่ เป็นทุ่งดอกกระเจียวที่ใหญ่ที่สุดและงดงามที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ เมื่อปี พ.ศ. 2536 กรมป่าไม้ได้ทำการสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงอย่างละเอียด และพบว่ายังมีพื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อรวมกับพื้นที่เดิมแล้วมีประมาณ 112 ตารางกิโลเมตร หรือ 70,000 ไร่ ซึ่งมีจุดเด่นที่น่าสนใจทางธรณีวิทยาอีกมากมาย สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้ในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่แห่งนี้ให้เป็น "อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม" นับตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2537 เป็นต้นมา
สถานที่ท่องเที่ยว ลานหินงาม เป็นลานหินที่มีรูปร่างแปลกในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เกิดจากการกัดเซาะเนื้อดินและหินในส่วนที่จับตัวกันอย่างเบาบางหลุดออกไป นานวันเข้าจึงเกิดโขดหินที่มีรูปลักษณ์แตกต่างกัน มองดูสวยงามเป็นที่อัศจรรย์ สำหรับลานหินงามนี้อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ทำการอุทยาน ฯ มีทางรถยนต์เข้าถึง จุดชมวิวสุดแผ่นดิน เป็นหน้าผาสูงชัน และเป็นจุดที่สูงที่สุดของเทือกเขาพังเหยซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม สูงประมาณ 846 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เกิดจากการยกตัวของพื้นที่เป็นที่ราบสูงอีสาน จึงเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสาน ทำให้เรียกบริเวณนี้ว่า "สุดแผ่นดิน" ณ จุดนี้จะเห็นทิวทัศน์ของสันเขาพังเหย และเขตพื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จุดชมวิวนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยาน ฯ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ทุ่งดอกกระเจียว กระเจียวเป็นพืชล้มลุกประเภทหัว เป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นที่ขึ้นมากที่สุดในประเทศไทย ณ ที่แห่งนี้ ปกติจะพบขึ้นกระจายทั่วไป
ตั้งแต่ลานหินงามจนถึงจุดชมวิวสุดแผ่นดิน 1 กิโลเมตร ดอกกระเจียวจะขึ้นและบานเป็นสีชมพูอมม่วงในช่วงต้นฤดูฝนเท่านั้น คือเดือนมิถุนายน สิงหาคมของทุกปี ดอกกระเจียว กระเจียวบัว ปทุมมาหรือบัวสวรรค์ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันติดปาก เป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่น ที่ขึ้นมากที่สุดในประเทศไทยที่อุทยานฯแห่งนี้ ปกติจะขึ้นปะปนกับหญ้าเพ็ก ซึ่งเป็นไม้พื้นล่างของป่าเต็งรัง หรือป่าโคกที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นห่าง ๆ สลับกับหิน ส่วนใหญ่จะมีไม้เหียงเป็นไม้เด่นกระจายอยู่ทั่วไป ตั้งแต่ลานหินงามจนถึงจุดชมวิว"สุดแผ่นดิน" ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
นอกจากนี้ยังพบกระเจียวชนิดนี้ที่ อุทยานแห่งชาติไทรทอง อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งอยู่ในแนวสันเขาพังเหยเดียวกัน
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตั้งอยู่ที่เทือกเขาพังเหยในเขต ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
- ฤดูท่องเที่ยว ทุ่งดอกกระเจียว คือ มิ.ย.-ส.ค. ของทุกปี
- อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 270 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดชัยภูมิประมาณ 100 กิโลเมตร
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 11 รายการ)รีวิวเมื่อ 1 มิ.ย. 55
ดอกกระเจียว หรือชื่อทางการ คือ ปทุมา บ้างก็เรียก กระเจียวบัว หรือ ทิวลิปสยาม (อังกฤษ: Siam Tulip) เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ในดิน จะพักตัวในฤดูหนาวและร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจะเริ่มผลิใบและดอก ต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ใบยาวคล้ายใบพายดอกสีเหลืองในแดง กาบดอกสีม่วง
มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ ขมิ้นโคก (เลย)
รีวิวเมื่อ 1 มิ.ย. 55
กระเจียวเป็นพืชล้มลุกประเภทหัว พบเป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นที่ขึ้นมากที่สุดในประเทศไทย ณ แห่งนี้ ปกติจะพบขึ้นกระจายทั่วไปตั้งแต่ลานหินงามจนถึงจุดชมวิวสุดแผ่นดิน 1 กิโลเมตร ดอกกระเจียวจะขึ้นและบานเป็นสีชมพูอมม่วงในช่วงต้นฤดูฝนเท่านั้น คือ เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี
รีวิวเมื่อ 1 มิ.ย. 55
รีวิวเมื่อ 1 มิ.ย. 55
เป็นลานหินที่มีรูปร่างแปลกในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เกิดจากการกัดเซาะเนื้อดินและหินในส่วนที่จับตัวกันอย่างเบาบางหลุดออกไปนานวันเข้าจึงเกิดโขดหินที่มีรูปลักษณ์แตกต่างกันมองดูสวยงามเป็นที่อัศจรรย์ สำหรับลานหินงามนี้อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีทางรถยนต์เข้าถึง
รีวิวเมื่อ 1 มิ.ย. 55
จุดชมวิวสุดแผ่นดิน
หน้าผาสูงชันและเป็นจุดที่สูงสุดของเทือกเขาพังเหย ซึ่งอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม (846 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ซึ่งเกิดจากการยกตัวของพื้นที่เป็นที่ราบสูงภาคอีสานจึงเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสาน ทำให้เรียกบริเวณนี้ว่า “สุดแผ่นดิน” ณ จุดนี้จะเห็นทิวทัศน์ของสันเขาพังเหยและเขตพื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จุดชุมวิวนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวนิยม ขึ้นไปสัมผัสสายหมอกตอนเช้าและชมพระอาทิตย์ตกตอนเย็น ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร หากเมฆหมอกไม่เยอะ คงได้เห็นความเชียวขจีของผืนป่าเบื้องล่าง
รีวิวเมื่อ 1 มิ.ย. 55
รีวิวเมื่อ 1 มิ.ย. 55
สัตว์ป่า ได้แก่ เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า นิ่ม เม่น อ้น อีเห็น กระรอก ลิง ฯลฯ
รีวิวเมื่อ 1 มิ.ย. 55
----------------------------------------------------
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จากลักษณะของแนวเทือกเขาพังเหยกั้นอยู่ในแนวเหนือ–ใต้ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ที่พัดพาเอาความชุ่มชื้นจากทะเลมาตกเป็นฝนในพื้นที่เป็นปริมาณมากจากข้อมูลของสถานีตรวจอากาศอุทยานแห่งชาติป่าหินงามในระหว่าง พ.ศ. 2543–2546 พบว่ามีปริมาณน้ำฝนตลอดปีเฉลี่ย 1,782.6 มิลลิเมตร มีจำนวนวันที่ฝนตก 109 วัน/ปี โดยมีฝนตกชุกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม วัดได้ 338.3 มิลลิเมตร ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน วัดได้ 33 องศาเซลเซียส และเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนธันวาคม วัดได้ 18.3 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี วัดได้ 24.8 องศาเซลเซียส สำหรับฤดูกาลเมื่อพิจารณาตามลักษณะอุณหภูมิ ประมาณน้ำฝน และความชื้นสัมพัทธ์แล้ว สามารถแบ่งฤดูกาลได้ดังนี้
ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 278.5 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือนตุลาคม - มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย 23.2 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 25.9 องศาเซลเซียส
รีวิวเมื่อ 1 มิ.ย. 55
เป็นเทือกเขา ประกอบไปด้วยภูเขาต่างๆ เช่น เขาพังเหย มีความสูงประมาณ 200 - 800 เมตร ทางธรณีวิทยาของพื้นที่เป็นหมวดหินภูพานหมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง เป็นหินในระหว่างช่วงเวลาประมาณ 180 - 230 ล้านปี ยุคจูแลสสิกและไทรแอสสิก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารลุ่มน้ำชี (แม่น้ำชี) ลำน้ำสนธิซึ่งไหลลงแม่น้ำป่าสัก
รีวิวเมื่อ 1 มิ.ย. 55
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อยู่ในพื้นที่อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ มีสภาพป่าสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำชีและแม่น้ำป่าสักมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งโดยเฉพาะทุ่งดอกกระเจียว มีเนื้อที่ประมาณ 62,437.50 ไร่ หรือ 99.9 ตารางกิโลเมตร
ความเป็นมา เดิมบริเวณลานหินงามเป็นที่รู้จักเฉพาะราษฎรในท้องถิ่น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2528 นายอำเภอเทพสถิต และป่าไม้อำเภอเทพสถิต ได้ออกตรวจพื้นที่และพบกับลานหินธรรมชาติที่มีรูปร่างสวยงามมีคุณค่าควรอนุรักษ์ไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนของบุคคลทั่วไป จึงเสนอเรื่องไปยังกรมป่าไม้ผ่านทางจังหวัดชัยภูมิ ในชั้นต้นกรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นวนอุทยานป่าหินงาม เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2529 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,250 ไร่
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2536 กรมป่าไม้ได้ทำการสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงอย่างละเอียด และพบว่ายังมีพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เมื่อรวบรวมพื้นที่แล้วประมาณ 112 ตารางกิโลเมตร หรือ 70,000 ไร่ โดยพื้นที่ดังกล่าวได้กันหมู่บ้านออกจากพื้นที่เรียบร้อยแล้วโดยการปฏิรูปที่ดิน อีกทั้งพื้นที่เตรียมจัดตั้งนี้มีความโดดเด่นทางธรณีวิทยา มีลานหินที่มีรูปลักษณ์สวยงาม มีพันธุ์ไม้ล้มลุกประจำถิ่น ที่มีดอกสีชมพูอมม่วงชูดอกสะพรั่งในช่วงต้นฤดูฝน มีน้ำตกไหลตลอดปี สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้ในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติ
ต่อมากรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1642/2537 ให้ นายวิวัฒน์ จันทร์เผือก นักวิชาการป่าไม้ 5 ตำแหน่งเลขที่ 2459 อุทยานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย ไปดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติป่าหินงามแห่งนี้ด้วย
ต่อมาปี 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่านายางกลัก ในท้องที่ตำบลโป่งนก ตำบลนายางกลัก ตำบลบ้านไร่ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต และตำบลซับใหญ่ กิ่งอำเภอซับใหญ่ อำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 105 ของประเทศ
รีวิวเมื่อ 1 มิ.ย. 55