“มีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร ได้ รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และเนิน เขา มีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีหินทรายลักษณะ แปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ เสาเฉลียง ลานหินแตก ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ภาพเขียนโบราณ น้ำตกสร้อยสวรรค์ น้ำตกทุ่งนาเมือง น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกลงรู)”
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นหน่วยงานสังกัดส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในอดีตชาวบ้านท้องถิ่นทำกินในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าภูผา น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในป่าแห่งนี้ เนื่องจากมีความเชื่อว่า “ผาแต้มเป็นเขตต้องห้าม ภูผาเหล่านั้นมีความศักดิ์สิทธิ์นักเป็นภูผาแห่งความตาย ใครล่วงล้ำเข้าไปมักมีอันเป็นไปอาจเจ็บไข้ หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต ” ปัจจุบัน พื้นที่ป่าภูผาแต้ม ได้ถูกเปิดเผยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เมื่อคณะอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มาทำการสำรวจค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม ท้องที่บ้านกุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบกับสภาพป่าในบริเวณใกล้เคียงยังอุดมสมบูรณ์อยู่ จึงได้ทำหนังสือบันทึกจากภาควิชาฯ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 เสนอต่อกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ขอให้จัดตั้งป่าภูผาในบริเวณผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติได้บันทึกสั่งการ ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 ให้ นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชการป่าไม้ 4 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้า อุทยานแห่งชาติดงหินกอง
(ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ) ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมผลการสำรวจปรากฏรายงาน ตามหนังสืออุทยานแห่งชาติดงหินกอง ที่ กส 0708 (ดก) /57 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2524 ว่า “ พื้นที่บริเวณที่ภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากรเสนอขอให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าภูผาปรากฏภาพเขียนสีโบราณ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม สภาพป่าบริเวณใกล้เคียงยังไม่ถูกทำลาย และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงาม การคมนาคมสะดวกเหมาะที่ตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยเห็นควรผนวกบริเวณดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติดงหินกอง ” กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1162/2524 ลงวันที่ 13 กันยายน 2524 ให้นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
(อุทยานแห่งชาติดงหินกองเดิม) ไปดำเนินการควบคุมดูแลรักษาป่าภูผาโดยให้พิจารณาผนวกเข้ากับ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ทั้งนี้บริเวณภูผาดังกล่าวได้ถูกประกาศรวม กับบริเวณป่าใกล้เคียง ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติดงภูโหล่นตามกฎกระทรวงฉบับที่ 603 (พ.ศ.2516) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2526 ต่อมากรมป่าไม้ ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่คนละส่วน และอยู่ห่างไกลกับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตลอดจนมีอาณาเขตกว้างขวาง เกรงว่าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จะดูแลไม่ทั่วถึง และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลตาม โครงการอีสานเขียว และกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และการศึกษาหาความรู้ทางวิชาการ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 991/2532 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ให้ นายวรพล รัตนสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภูโหล่นท้องที่ อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อที่ 340 ตารางกิโลเมตร หรือ 212,500 ไร่
เป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ด้วย กรมป่าไม้โดยกองอุทยานแห่งชาติได้นำเรื่องราวดังกล่าวนี้ เสนอต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 3/2432 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 ผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2534 และได้รับประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้า 90 – 92 เล่มที่ 108 ตอนที่ 245 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ให้เป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74 ของประเทศไทย
ติดต่อ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ตู้ ปณ.5 ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี 34220
โทรศัพท์ 045-318026 โทรสาร 045-318026
ขอบคุณข้อมูล กรมอุทยานแห่งชาติฯ
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 11 รายการ)รีวิวเมื่อ 6 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 ส.ค. 55