“อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติของท่านในความองอาจ กล้าหาญ รักชาติและเสียสละ”

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติของท่านในความองอาจ กล้าหาญ รักชาติและเสียสละ  ต้นตระกูล “วิชัยขัทคะ” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ได้พระราชทานนามสกุลของตระกูลพระยาพิชัยดาบหักว่า “วิชัยขัทคะ” อ่านว่า ( วิ ไช ขัด ทะ คะ ) ซึ่งแปลโดยอนุโลมว่า “ดาบวิเศษ

เมื่อครั้งพระยาพิชัยซึ่งครองเมืองพิชัยในสมัยธนบุรี ท่านได้สร้าง เกียรติประวัติไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2316 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยได้ยก ทัพไปสกัดทัพพม่าจนแตกพ่ายกลับไป การรบในครั้งนั้นดาบคู่มือของพระยาพิชัยได้หักไปหนึ่งเล่ม แต่ก็ยังรบได้ชัยชนะต่อทัพพม่าด้วยวีรกรรมดังกล่าว จึงได้สมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"

อนุสาวรีย์แห่งนี้ออกแบบและหล่อโดยกรมศิลปากร ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ความเป็นมาของชื่อ "พระยาพิชัยดาบหัก" ในปี พ.ศ. 2311 พม่าได้ยกทัพมาอีก 1 หมื่นคน พระเจ้าตากพร้อมด้วยหมื่นไวยวรนาถได้เข้าโจมตีจนแตกพ่าย และได้มีการสู้รบปราบก๊กต่าง ๆ อีกหลายคราว เมื่อพระเจ้าตากสินเสด็จกลับกรุงธนบุรี โปรดตั้งเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็น "พระยาสีหราชเดโช" มีตำแหน่งเป็นนายทหารเอกราชองครักษ์ตามเดิม สุดท้ายเมื่อปราบก๊กพระเจ้าฝางได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทหารของพระองค์โดยทั่วหน้า ส่วนพระยาสีหราชเดโช (จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น ได้โปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบให้เป็นพระยาพิชัยปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัย

ในปี พ.ศ. 2313-2316 ได้เกิดการสู้รบกับกองทัพพม่าอีกหลายคราว และทุกคราวที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป ก็สร้างความอัปยศอดสูแก่แม่ทัพนายกองเป็นทวีคูณ พอสิ้นฤดูฝนปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โปสุพลายกกองทัพมาหมายตีเมืองพิชัยอีก "การศึกครั้งนี้พระยาพิชัยจับดาบสองมือคาดด้าย ออกไล่ฟันแทงพม่าอย่างชุลมุน จนเมื่อพระยาพิชัยเสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัวไว้ จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน" กองทัพโปสุพลาก็แตกพ่ายกลับไป

เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 7 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 (ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2316) ถวายชีวิตเป็นราชพลี พระปรางค์วัดราชคฤห์วรวิหาร สถานที่บรรจุอัฐิของพระยาพิชัยดาบหักเมื่อปี พ.ศ. 2325 หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันท์ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเล็งเห็นว่าพระยาพิชัยเป็นขุนนางคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสินที่มีฝีมือและซื่อสัตย์ จึงชวนพระยาพิชัยเข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่แต่พระยาพิชัยไม่ขอรับตำแหน่งด้วยท่านเป็นคนจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์พระเจ้าตากสินฯ และถือคติที่ว่า "ข้าสองเจ้าบ่าวสองนายมิดี" จึงขอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสำเร็จโทษตน เป็นการถวายชีวิตตายตามสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีพระองค์จึงได้ทรงรับสั่งให้สร้างพระปรางค์นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ วัดราชคฤห์วรวิหาร ซึ่งพระปรางคนี้ก็ยังปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างมรดกอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญรวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ 055-414924 , 055-440680
ททท.สำนักงานแพร่(แพร่,น่าน,อุตรดิตถ์) 054-521127

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

แชร์

ต.ท่าอิฐ อ.เมืองอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ 53000 แผนที่

รีวิว 2 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,อนุสาวรีย์

No hours available

055-414924

https://www.thai-tour.com/thai-tour/north/uttaradit/data/place/phrayaphichai-dabhak.html

5753

แนะนำทริป

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 2 รายการ)

Not identifiable

รีวิวเมื่อ 19 ก.พ. 54

สำหรับข้อมูลข้างบน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่คุณดนัย 081-8322989 หรือ สำนักงานกลางวัดราชคฤห์ 02-465-2908, 086-904-2627

ถูกใจ แชร์

Not identifiable

รีวิวเมื่อ 19 ก.พ. 54

ขอเชิญร่วมพิธีเททองหล่อพระ
พระพุทธมงคลนพเก้า และพระยาพิชัยดาบหัก
ณ วัดราชคฤห์วรวิหาร
แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

กำหนดการ
วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2554
เวลา 06.19 น. พีธีบวงสรวงเทวดาอารักษ์
เวลา 10.00 น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญพระพุทธมนต์ และฉันภัตตาหารเพล
เวลา 12.30 น. ประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์เสริมสิริมงคลชีวิต
เวลา 16.45 น. สมเด็จพระมหารัชมงคลาจารย์เป็นประธานในพิธีเททองหล่อ
พระพุทธมงคลนพเก้า และหล่อพระยาพิชัยดาบหัก
เวลา 17.15 น. ประกอบพิธีจุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษก

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

หอวัฒนธรรมอุตรดิตถ์ หอวัฒนธรรมอุตรดิตถ์ (รีวิว 830 รายการ)

ห่าง 0.62 กิโลเมตร

วัดธรรมาธิปไตย วัดธรรมาธิปไตย (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 0.68 กิโลเมตร

หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน (รีวิว 408 รายการ)

ห่าง 1.11 กิโลเมตร

วัดใหญ่ท่าเสา วัดใหญ่ท่าเสา (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 3.07 กิโลเมตร

วัดกลางธรรมสาคร วัดกลางธรรมสาคร (รีวิว 16 รายการ)

ห่าง 4.21 กิโลเมตร

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 5.55 กิโลเมตร

เวียงเจ้าเงาะ เวียงเจ้าเงาะ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 5.84 กิโลเมตร

หนองพระแล หนองพระแล (รีวิว 786 รายการ)

ห่าง 6.35 กิโลเมตร

วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระยืนพุทธบาทยุคล (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 6.42 กิโลเมตร

ลับแล ลับแล (รีวิว 11 รายการ)

ห่าง 6.59 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

ธนาคาร อพาร์ทเม้นท์ ธนาคาร อพาร์ทเม้นท์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.55 กิโลเมตร

เคทู ลิฟวิ่ง อุตรดิตถ์ เคทู ลิฟวิ่ง อุตรดิตถ์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.94 กิโลเมตร

โอยูเอ็ม โอยูเอ็ม (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.13 กิโลเมตร

โรงแรมกู๊ดไทม์บูติก โรงแรมกู๊ดไทม์บูติก (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.25 กิโลเมตร

สุนีย์ บูทีค โฮเต็ล สุนีย์ บูทีค โฮเต็ล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.32 กิโลเมตร

โรงแรมบัวทิพย์ อุตรดิตถ์ โรงแรมบัวทิพย์ อุตรดิตถ์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.45 กิโลเมตร

บ้านริมน้ำจังหวัดอุตรดิตถ์ บ้านริมน้ำจังหวัดอุตรดิตถ์ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.59 กิโลเมตร

โรงแรมฟรายเดย์ โรงแรมฟรายเดย์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.74 กิโลเมตร

สีหราช สีหราช (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.79 กิโลเมตร

แกรนด์วนา แกรนด์วนา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.93 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

เรือนพี่เรือนน้อง เรือนพี่เรือนน้อง (รีวิว 7 รายการ)

ห่าง 6.00 กิโลเมตร