“วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ พระฝาง(พระพุทธรูป)คู่บ้านคู่เมือง พระมหาธาตุบรรจุพระรากขวัญของพระพุทธเจ้า เคยเป็นศูนย์กลางเมืองสำคัญริมน้ำน่านทางตะวันออก”
วัดพระฝาง หรือ วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี พ.ศ. 1700 (ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช) วัดพระฝางนับว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานของเมืองฝางสวางคบุรี (สว่างคบุรี เพี้ยนมาจาก สวรรคบุรี) เพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยสุโขทัย และเป็นวัดพระมหาธาตุประจำเมืองสว่างคบุรี เมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ “เจ้าพระฝาง” เมืองสวางคบุรี ผู้นำชุมนุมเจ้าพระฝางในคราวเสียสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วัดพระฝาง มีปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดคือพระมหาธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ตั้งอยู่กลางกลุ่มโบราณสถานวัดพระฝาง สันนิษฐานว่าพระเจดีย์องค์นี้สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์สำคัญของอาณาจักรมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านว่า พระมหาธาตุองค์นี้ได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นพุทธปูชนียสถานสำคัญของอาณาจักรคู่กับรอยพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงเสด็จขึ้นทำศึกชนะเจ้าพระฝางและตั้งงานสมโภชพระมหาธาตุเมืองพระฝางถึง 3 วัน เทียบเท่างานนมัสการพระพุทธชินราช
แต่ความศรัทธาในพระมหาธาตุเมืองฝางคงได้เสื่อมถอยลงในช่วงหลัง จากความเสื่อมของเมืองสวางคบุรี หลังชุมนุมเจ้าพระฝางถูกตีแตกในสมัยธนบุรี จนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์องค์เดิมได้ปรักหักพังไปมาก ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะพระมหาธาตุเมืองพระฝางใหม่ แปลงเป็นแบบเจดีย์ทรงลังกาดังที่เห็นในปัจจุบัน
ปัจจุบันวัดพระฝางได้รับขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ได้รับประกาศเป็นโบราณสถานประมาณ 32 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา องค์พระฝาง(องค์จริง) ประดิษฐานบนบุษบกหน้าพระวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานครฯ
*ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย และ แผ่นพับของวัดพระฝาง "ประวัติศาสตร์เมืองสวางคบุรี โดยนายอนุสรณ์ ผลสวัสดิ์"*
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ 055-414924 , 055-440680
ททท.สำนักงานแพร่(แพร่,น่าน,อุตรดิตถ์) 054-521127
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 18 รายการ)
รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53

รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53

รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53
วัดพระฝางปรากฏชื่ออยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 ซึ่งได้กล่าวถึงพระมหาเถรศรีศรัทธา ซึ่งเชื่อว่าเป็นหลานของพ่อขุนผาเมือง ว่าก่อนที่ท่านจะเดินทางไปจาริกแสวงบุญที่ลังกา ในสมัยพญาเลอไท ได้แวะมานมัสการพระธาตุวัดพระฝาง แล้วจึงเดินทางต่อไปยังเมืองแพร่ ลำพูน และลงเรือที่อ่าวเมาะตะมะไปลังกา นอกจากนี้ในศิลาจารึกหลักที่ 3 ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1900 ก็ได้ปรากฏชื่อเมืองฝางอยู่ด้วยเช่นกัน ในจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ุ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์นในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ. 2230 ) ก็ได้กล่าวถึงความศรัทธาของคนสยามต่อพระทันตธาตุเมืองพระฝางไว้เช่นเดียวกัน แสดงถึงความสำคัญของพระบรมธาตุเมืองฝางในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53
สภาพดูเหมือนเพิ่งได้รับการปรับปรุงทั้งตัววิหาร ประตูและองค์พระ
แต่ว่า...ผมดูแล้วสกปรกมาก ขาดความเอาใจใส่ดูแลเรื่องความสะอาด เช่น น้ำเลอะ เฉอะแฉะ ขึ้นกพิราบเต็มพื้นและเพดาวิหาร ไม่เหมาะแก่ผู้มาเยือน เกรงว่าจะติดเชื่อโรดได้โดยง่าย ไม่สมกับเป็นวัดที่เคยความรุ่งเรื่องในอดีต (ขอติเพื่อปรับปรุงนะครับ)


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53
บานประตูเก่าวิหารวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ เดิมนั้นอยู่วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ แต่เนื่องจากวิหารชำรุดทรุดโทรมมาก อีกทั้งวัดพระฝางในขณะนั้นไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช) เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้นจึงได้ขออนุญาตกรมศิลปากรนำมาเก็บรักษาไว้ที่ อาคารธรรมสภา วัดธรรมาธิปไตย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 ทิ้งไว้แต่ตัววิหารปล่าว ปราศจากบานประตูอันวิจิตรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53


รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53
