“วัดขุนอินทประมูล ชมพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย”
วัดขุนอินทประมูล เป็นวัดโบราณ พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคาดคะเนว่าเป็นวัดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวถึง 50 เมตร (25 วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหาร แต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนนานนับเป็นร้อย ๆ ปี องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. 2296 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ในปี พ.ศ. 2221 และ พ.ศ. 2451
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จฯ มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ. 2516 และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2518 พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจนอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ซึ่งเหลือเพียงฐาน และผนังบางส่วนและพระพุทธรูป ด้านหน้าพระนอนมีศาลรูปปั้น ขุนอินทประมูล ซึ่งตามประวัติ กล่าวว่าเป็นผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ พระนอนวัดขุนอินทประมูล ประดิษฐานอยู่ ณ วัดขุนอินทประมูล ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้าง ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง อยู่ห่างจากตัวเมืองอ่างทองประมาณ 7 กิโลเมตร องค์พระยาว 2 เส้น 5 วา ซึ่งนับเป็นพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ที่ยาวเป็นอันดับที่สอง รองจากพระนอนจักรสีห์ ประวัติและความเป็นมา จากตำนานกล่าวว่า ขุนอินทประมูล ได้ยักยอกเงินหลวงมาสร้าง ครั้งถูกสอบถามว่าเอาเงินจากใหนมาสร้างพระ ขุนอินทประมูลก็ไม่ยอมบอกความจริง จึงถูกลงโทษจนตาย คงมีความชื่อที่ว่า ถ้าบอกแหล่งที่มาของเงินแล้ว ตนจะไม่ได้กุศลตามที่ปรารถนา
จากการสันนิฐานมีความเห็นว่าได้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระพักตรหันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก เมื่อมองตลอดทั้งองค์มีความสง่างามมาก พระพักตรงดงามได้สัดส่วน แสดงออกถึงความมีเมตตา ปัจจุบัน องค์พระนอนอยู่กลางแจ้งไม่มีวิหารคลุมเช่นพระนอนองค์อื่น เนื่องจากวิหารเดิมคงหักพังไปนานแล้ว ดังจะเห็นได้จาก เสาพระวิหารที่ยังปรากฏอยู่รอบองค์พระนอน รอบ ๆ องค์พระมีต้นไม้ขนาดใหญ่หลายต้นขึ้นอยู่โดยรอบ ทำให้มีความสงบร่มเย็น เหมาะแก่การไปนมัสการให้เกิดความสุข สงบ ตามธรรมชาติ ซึ่งแปลกออกไปจากบรรยากาศในพระวิหาร ไม่พบว่ามีการนมัสการประจำปี อาจจะเนื่องจากอยู่ที่วัดร้างกลางทุ่งนา ห่างไกลจากชุมชนมาก
การเดินทาง
สามารถใช้เส้นทางได้ 3 สาย คือ สายอ่างทอง อำเภอโพธิ์ทอง (เส้นทาง 3064) แยกขวาที่กม. 9 เข้าไปอีกประมาณ 2 กม. จากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกม.ที่ 8 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง 4 กม. จากเส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง (ถนนเลียบคลองชลประทาน) เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีก 2 กม.
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 9 รายการ)รีวิวเมื่อ 21 ต.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 ต.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 ต.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 ต.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 ต.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 ต.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 ต.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 ต.ค. 55
รีวิวเมื่อ 21 ต.ค. 55