“พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง ขนาดเท่าครึ่งของคนทั่วไป ในรูปทรงประทับยืน ใกล้วัดพระศรีสรรเพชญ์และวัดพระราม”
พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง ประดิษฐานอยู่ระหว่างบึงพระรามกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระบรมรูปของพระเจ้าอู่ทองมีขนาดเท่าครึ่งของคนธรรมดา หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์และรมด้วยน้ำยาสีเขียว ใน พระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระเกล้าเกศา ฉลองพระองค์แบบพระมหากษัตริย์สมัย กรุงศรีอยุธยาตอนต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2513
เยี่ยมชมได้ตลอด
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 6 รายการ)รีวิวเมื่อ 21 ก.ค. 56
พระเจ้าอู่ทองนั้นมีพระโอรสองค์หนึ่ง (ไม่ปรากฏชื่อในตอนแรก ภายหลังได้ เป็นพระราเมศวร ตำแหน่งพระอุปราชต่อมา พระเจ้าอู่ทองนั้น ได้อพยพผู้คนมาจากเมืองอู่ทอง (บ้างอ้างว่ากันดารน้ำและเกิดโรคระบาด) มาตั้งอยู่ที่ตำบล เวียงเหล็ก พออยู่ได้ 3 ปี ใน พ.ศ.1893 จึงย้ายสถานที่ข้ามแม่น้ำ เจ้าพระยาไปทำการสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นที่ตำบลหนองโสน
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ได้ระบุว่า เมื่อ พ.ศ.1893 นั้น ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ (อาจจะเป็นอหิวาตกโรคหรือ กาฬโรค เพราะระหว่างปี พ.ศ.1878 – 1893 (ค.ศ.1335 – 1350 ) ได้เกิดกาฬโรคโคจรจากเมืองจีน และได้ระบาดไปทั่วโลก) ทำให้ต้องมีการย้ายเมืองจากด้านตะวันออกมาสร้างใหม่ที่หนองโสน ส่วนเหตุที่ทำให้พระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองจากตำบลเวียงเหล็ก มาสร้างกรุงศรีอยุธยา นั้นมีข้อสันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทองนั้นได้ครองเมืองเทพนคร (เมืองอโยธยา) อยู่ 6 ปีด้วย
ส่วนเรื่องที่รับรู้กันมาว่า เมื่อพระเจ้าอู่ทองครองเมืองอู่ทอง พ.ศ. 1889 นั้น พอครองเมืองได้ 1 ปี (พ.ศ.1890) ก็เกิดภาวะธรรมชาติกล่าวคือ ลำน้ำจระเข้สามพันที่ผ่านเมืองอู่ทอง นั้นได้เกิดตื้นเขิน และเปลี่ยนทางน้ำ จนกันดารน้ำต้องขุดบ่อ สระขังน้ำไว้ใช้ในไม่ช้าก็เกิดโรคระบาดดังกล่าวขึ้น (ซึงมาทางเรือสินค้าจากจีน) โดยเข้ามาตามแม่น้ำท่าจีน) พระเจ้าอู่ทอง จึงอพยพย้ายผู้คนมาตั้งเมืองอยู่บริเวณแคว้นอโยธยา คือ ตำบลเวียงเหล็ก เมื่อ พ.ศ.1890 และเมืองอู่ทองนั้น คงไม่ถูกทิ้งร้างยังมีผู้คนอาศัยอยู่ เป็นข้อสันนิษฐานเดิมที่เชื่อกันเช่นนี้
ดังนั้น เรื่อง การย้ายเมืองของพระเจ้าอู่ทอง จึงมีข้อศึกษาใหม่ว่า พระเจ้าอู่ทองนั้น น่าจะดำริถึง อาณาจักรใหม่ที่พระองค์ได้รรับสิทธิปกครองดูแลนั้น คือ แคว้นสุวรรณภูมิ (ของมเหสี) แคว้นอโยธยา (ของมารดา) แคว้นศิริธรรมราช (ของบิดา) ซึ่งแต่ละแคว้นนั้นต่างมีเมืองสำคัญ ตั้งอยู่ห่างไกลกันมาก หากจะให้เมืองอู่ทองเป็นราชธานีของแคว้นทั้งหมด ก็มีทำเลไม่เหมาะสม ด้วยเหตุที่เมืองอู่ทองนั้น ไม่เป็นศูนย์กลางที่จะดูแลแคว้นนั้นได้สะดวก และมีแม่น้ำใหญ่เพียงสายเดียว ทำให้ขัดข้องในการติดต่อกับแคว้นอื่น ๆ ได้
พระองค์จึงได้ทำการอพยพ ผู้คนสำรวจสถานที่สร้างเมืองใหม่ขึ้น เพื่อหาทำเลที่จะตั้งเมือง ให้เป็นศูนย์กลางอาณาจักรที่สามารถปกครองดูแลหรือติดต่อถึงกันได้โดยสะดวกขึ้น โดยเฉพาะทำเลที่มีแม่น้ำหลายสาย ไหลผ่านและใช้เป็นเส้นทางที่จะติดต่อไปยังเมืองใหญ่ของแคว้นทั้งหมดได้ คือ เมืองนครศิริธรรมราช(เมืองนครศรีธรรมราช) เมืองอู่ทอง (ภายหลังย้ายมาสร้างเมืองสุพรรณบุรี) เมืองสรรค์บุรี (เมืองแพรก ) เมืองชัยนาท เมืองอโยธยา เมืองละโว้ เมืองนครปฐมโบราณ (เมืองนครไชยศรี) เป็นต้น
ประกอบกับเมืองอโยธยาเดิมนั้น มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านและเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่อยู่แล้ว ในครั้งแรกนั้นพระเจ้าอู่ทองได้กลับมาครองแคว้นอโยธยาอยู่ 6 ปี ก็เห็นว่าที่ตำบลเวียงเหล็ก นั้นน่าจะเป็นทำเลสร้างเมืองใหม่เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองทั้ง 3 แคว้น นั้นได้ จึงอพยพไปตั้งเมืองอยู่ที่ตำบลเวียงเหล็กก่อน (ส่วนเมืองอโยธยานั้นได้ให้เจ้าแก้วเจ้าไทย ครอง) ครั้นอยู่ที่ตำบลเวียงเหล็ก 3 ปี จึงเห็นว่าบริเวณตำบลหนองโสนนั้น มีทำเลเหมาะสมกว่าและเป็นพื้นที่มีลักษณะเหมือนสังขทักษิณาวรรตที่มีแม่น้ำ 3 สายไหลออกดุจน้ำไหลออกจากสังข์ และเป็นแม่น้ำที่ใช้ เป็นเส้นทางติดต่อได้ สะดวกกว่าที่เดิม (เมืองอโยธยา) ประจวบกับเวลานั้นเกิดโรคอหิวาระบาดใหญ่ จนเป็นเหตุให้เจ้าแก้วเจ้าไทยสิ้นพระชนม์ (จนเมืองอโยธยาร้างผู้คน) พระองค์จึงตัดสินพระทัยอพยพมาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ตำบลหนองโสน
รีวิวเมื่อ 21 ก.ค. 56
ต่อมาพระเจ้าแสนเมืองมิ่ง เจ้าเมืองมอญได้ยกทัพมาตีเอาเมืองทะวาย เมืองตะนาวศรี ครั้งนั้น พระเจ้าอู่ทองจึงได้แสดงความสามารถนำทัพไปตีเอาเมืองทวาย กับเมืองตะนาวศรี กลับคืนมาได้ ทำให้ได้รับการยกย่องรักใคร่ของอาณาประชาราษฎร์ ครั้นเมื่อพระยาอู่ทอง กษัตริย์แคว้นสุวรรรภูมิสิ้นพระชนม์ลงราษฎร์จึงพากันยกให้พระเจ้าอู่ทอง ขณะนั้นมีพระชนม์พรรษา 30 ปี ครองแคว้นสุวรรณภูมิต่อมา (ทำไมขุนหลวงพระงั่ว ไม่ได้ครองเมืองสุวรรณภูมิ)
รีวิวเมื่อ 29 พ.ค. 55
ดังนั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงเป็นนามมงคลที่เกิดขึ้นในธรรมเนียมของ แคว้นสุวรรณภูมิ และพระเจ้าอู่ทององค์นี้เป็นทายาทที่สืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าไชยศิริ กษัตริย์ราชวงศ์ชัยปรากการ (เชียงราย) มาจนถึง พระเจ้าศิริชัยหรือศรีวิชัย
พระเจ้าศิริชัย องค์นี้ครองอยู่แคว้นศิริธรรมราช ทรงพระนามว่า พระเจ้าศิริชัยเชียงแสน ครั้นเมื่อพระยาตรัยตรึงส์ กษัตริย์แคว้นอโยธยา ผู้เป็นพระบิดาของพระมเหสีนั้นได้สิ้นพระชนม์ ลง พระเจ้าศิริชัยเชียงแสนจึงได้ครองแคว้นอโยธยาด้วย
รีวิวเมื่อ 18 เม.ย. 55
เมืองพระยามหานคร ในดินแดนทางตอนใต้นั้น คือ แคว้นอโยธยา มีเมืองแพรกหรือเมืองสรรค์(เมืองตรัยตรึงส์) เป็นราชธานี (เดิมนั้นเมืองอโยธยาขึ้นกับเมืองละโว้) และแคว้นสุวรรณภูมิ มีเมืองอู่ทอง เป็นราชธานี
เจ้าผู้ครองแคว้นดังกล่าวนั้น น่าจะเป็นเชื้อพระวงศ์ที่อพยพลงมาพร้อมกับพระเจ้าไชยศิริ โดยพระเจ้าไชยศิรินั้นได้อพยพมาตั้งอยู่ที่เมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้าง (เมืองร้างนี้ น่าจะเป็นเมืองนครปฐมโบราณมากกว่าเมืองเก่าทางเมืองกำแพงเพชร) อยู่ในแคว้นสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอู่ทอง ที่เป็นราชธานี
ต่อมานั้น พระเจ้าไชยศิริได้ทำการขยายอาณาเขตไปทางตอนใต้ จนได้ปกครองแคว้น ศิริธรรมราชครั้งนั้น พระเจ้าไชยศิริได้ตั้งเมืองนครศิริธรรมราช (นครศรีธรรมราช) ขึ้นเป็นราชธานีปกครองแคว้นดังกล่าว โดยมีกษัตริย์ครองแคว้นศิริธรรมราชต่อมาหลายรัชกาล จนถึง พระเจ้าศิริธรรมราชผู้เป็นพระอัยการของพระเจ้าอู่ทอง
รีวิวเมื่อ 18 เม.ย. 55
รีวิวเมื่อ 18 เม.ย. 55