“วัดหน้าพระเมรุ นมัสการพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ ”
วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้นต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้น
มีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2046 วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบศึกเมื่อ พ.ศ. 2106ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส
วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระอุโบสถมีขนาดยาว 50 เมตร กว้าง 16 เมตรเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งมีเสาอยู่ภายใน
ต่อมาสร้างขยายออกโดยเพิ่มเสารับชายคาภายนอกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหยียบเศียรนาคและมีรูปราหูสองข้างติดกับเศียรนาค หน้าต่างเจาะเป็นช่องยาวตามแนวตั้ง เสาเหลี่ยมสองแถวๆ ละแปดต้น มีบัวหัวเสาเป็นบัวโถแบบอยุธยา ด้านบนประดับด้วยดาวเพดานเป็นงานจำหลักไม้ลงรักปิดทอง ส่วนลายแกะสลักบานประตูพระวิหารน้อย เป็นลายแกะสลักด้วยไม้สักหนา แกะสลักจากพื้นไม้ไม่มีการนำชิ้นส่วนที่อื่นมาติดต่อเป็นลายซ้อนกันหลายชั้น พระประธานในอุโบสถสร้างปลายสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช มีนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ”
จัดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันและมีความสมบูรณ์งดงามมากสูงประมาณ 6 เมตรหน้าตักกว้างประมาณ 4.40 เมตร ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้โดยรักษาแบบอย่างเดิมไว้
และได้เชิญพระพุทธรูปศิลาสีเขียวหรือพระคันธารราฐประทับนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีจากวัดมหาธาตุมาไว้ในวิหารสรรเพชญ์(หรือเรียกว่า วิหารน้อยเพราะขนาดวิหารเล็ก มีความยาว 16 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร) ซึ่งอยู่ข้างพระอุโบสถ พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่การเก็บรักษาไว้
พระอุโบสถเปิดตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. เที่ยวได้ทุกวัน
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์การท่องเที่ยวอยุธยา โทร. 035-322730-1
- สำนักงาน ททท. ภาคกลางเขต 6 (อยุธยา) โทร. 0-3524-6076 ถึง 7, หรือ
- ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร. 035-336550 และ 035-336647
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 17 รายการ)รีวิวเมื่อ 30 พ.ค. 55
อายุกว่า 500 ปี ไม่ทราบประวัติที่แน่ชัด
รีวิวเมื่อ 30 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 30 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 30 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 30 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 30 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 30 พ.ค. 55
พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดีเช่นพระคันธารราฐ ปรากฏในโลกเพียงหกองค์เท่านั้น คือ วัดพระปฐมเจดีย์ 3 องค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา(อยุธยา) 1 องค์ ที่ประเทศอินโดนีเซีย 1 องค์ และที่วัดหน้าพระเมรุนี้อีก 1 องค์ ซึ่งกล่าวกันว่าเดิม พระคันธารราฐ เป็นพระพุทธรูปศิลาสีเขียว แต่เนื่องจากผ่านกาลเวลามานานจึงทำให้กลายเป็นสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งปัจจุบันดูคล้ายเป็นสีดำ แต่ถ้าลองไปดูใกล้ๆแล้วจะเห็นเป็นเม็ดเล็กๆสีเขียว เพราะทำจากหินทรายแกะสลัก เชื่อกันว่าหากสักการบูชาแล้วจะอายุยืน มั่นคงดั่งศิลา
"พระคันธารราฐ" ที่ประทับอยู่ในวิหารวิหารสรรเพชญ์ หรือวิหารเขียน หรือวิหารน้อย ที่เรียกกันเช่นนี้เนื่องจากวิหารมีขนาดเล็กเพียง 6 เมตร ยาว 16 เมตรเท่านั้น ตั้งอยู่ข้างพระอุโบสถ สร้าง ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ทรงโปรดเกล้าให้พระยาไชยวิชิต (เผือก) เป็นแม่กองบูรณะ ปฏิสังขรณ์ และได้อัญเชิญพระคันธารราฐ พระพุทธรูปศิลาเขียวสมัยทวารวดี ปางปฐมเทศนา ประทับห้อยพระบาท
รีวิวเมื่อ 30 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 30 พ.ค. 55
ประดับกระจกสี บานประตูสลักลายบนเนื้อไม้เป็นรูปนก ผนังภายในวิหารภาพสีเรื่องชาดกและการค้าสำเภา
ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทสมัยทวารวดีเป็นพระพุทธรูปศิลาหินเขียว
รีวิวเมื่อ 30 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 10 เม.ย. 55
รีวิวเมื่อ 10 เม.ย. 55
รีวิวเมื่อ 10 เม.ย. 55
รีวิวเมื่อ 10 เม.ย. 55
รีวิวเมื่อ 10 เม.ย. 55
รีวิวเมื่อ 10 เม.ย. 55
รีวิวเมื่อ 10 เม.ย. 55