“พระราชวังบางปะอิน เป็นพระราชวังที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 มีโบราณสถานหลายแห่ง เป็นศิลปะงดงามน่าสนใจ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถกอล์ฟพาเที่ยวภายในได้ ”
พระราชวังบางปะอิน ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากเกาะเมืองลงมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร เป็น พระราชวังโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากเป็นที่ประสูติของพระองค์ ใช้เป็นสถานที่ที่ทรงใช้ประทับแรม ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยเป็นพระราชวังใกล้พระนครนั่นเอง
หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยให้รกร้างมาระยะหนึ่ง แต่กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งโดยสุนทรภู่ซึ่งได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ในนิราศพระบาท จนกระทั่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เริ่มการบูรณะพระราชวังขึ้น และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณะครั้งใหญ่ โดยสร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่าง ๆ ขึ้นมากมายเพื่อใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ
ปัจจุบัน พระราชวังบางปะอินอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย แต่ได้เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยต้องแต่งกายให้สุภาพ
การเดินทางมายังพระราชวังบางปะอินนั้น สามารถทำได้หลายทาง เช่น การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ให้มาตามถนนพหลโยธิน เมื่อถึงประตูน้ำพระอินทร์ ให้ข้ามสะพานวงแหวนรอบนอก หลังจากนั้น ให้เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 สู่ทางหลวงหมายเลข 308 อีกประมาณ 7 กิโลเมตรก็จะถึงพระราชวังบางปะอิน หรืออีกเส้นทางต้องผ่านเข้ามายังตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา เมื่อถึงเจดีย์วัดสามปลื้มให้เลี้ยวซ้ายซึ่งจะผ่านวัดใหญ่ชัยมงคลและวัดพนัญเชิง เมื่อถึงสถานีรถไฟบางปะอินให้เลี้ยวขวา แล้วขับไปตามทางจนถึงพระราชวังบางปะอิน
การเดินทางเพิ่มเติมครับ http://www.ayutthaya.org
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่สำนักพระราชวังบางปะอินโทร. (035) 261044, 261549
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 46 รายการ)รีวิวเมื่อ 15 ก.ค. 55
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
เรือนเจ้าจอมมารดาแส ตั้งอยู่ระหว่างพระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีและเรือนเจ้าจอมเอี่ยม เอิบ อาบ เอื้อน และเจ้าจอมมารดาอ่อน
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 25 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศทรงปลอดภัยจากการเดินทาง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างศาลขึ้นมาใหม่ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2432
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์จัดได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเคยได้รับเกียรติให้สร้างจำลองแบบไปแสดงในงานมหกรรมนานาชาติ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อ พ.ศ. 2501
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
ที่เหยีบคันเร่ง และเบรค
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าตั้งอยู่ใกล้กับ พระราชนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และ พระราชานุสาวรีย์ราชานุสรณ์
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
เรือนเจ้าจอมเอี่ยม เอิบ อาบ เอื้อน และเจ้าจอมมารดาอ่อน ตั้งอยู่ระหว่างเรือนเจ้าจอมมารดาแสและพระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ตั้งอยู่ระหว่างพระตำหนักพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา และ เรือนเจ้าจอมมารดาแส
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
ห้องพระป้ายติดกับห้องทรงพระอักษรเป็นที่ประดิษฐานพระวิมาน 3 องค์ติดต่อกัน เรียงจากทิศตะวันตก ไปตะวันออก ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายต่าง ๆ ลงรักปิดสีทองอร่าม
ช่องตะวันตกเป็นสถานที่ประดิษฐานพระป้ายจารึก (อักษรจีน) พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433
ช่องกลางเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป ในการประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย
ช่องตะวันออกเป็นสถานที่ประดิษฐานพระป้ายจารึก(อักษรจีน) พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนามาภิไธย สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470
นอกจากนี้ เสาด้านหน้าพระวิมานได้แขวนป้ายสุภาษิตจีนได้ โดยด้ายซ้ายแปลว่า "ในหมู่ชนจะหาความสามัคคีธรรมเสมอพี่น้องได้ยาก" และด้านขวา แปลได้ว่า "ในใต้หล้าจะหาความผิดในพ่อแม่ไม่มี"
นอกจากนี้ ยังมีห้องอีก 2 ห้อง ได้แก่ ห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และห้องบรรทมสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โดยห้องบรรทมสมเด็จพระบรมราชินีนาถนั้น ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่ง ภายในมีพระแท่นบรรทม 2 องค์ สำหรับทรงใช้ในฤดูร้อนและฤดูหนาว เพดานเหนือพระแท่นมีการแกะสลักลายมังกรดั้นเมฆ ซึ่งหมายถึง พระมหากษัตริย์ที่คอยปกป้องคุ้มครองพระมเหสี
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
ตำหนักเก้าห้อง เป็นตำหนักที่ประทับของพระบรมวงศ์ฝ่ายใน ที่ตามเสด็จฯ คราวแปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน โดยมีสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ก่ออิฐถือปูน มี 2 ชั้น มี 3 มุข ได้แก่ มุขข้าง 2 ด้าน และมุขกลาง (คล้ายรูปตัว E) ผนังระหว่างเสาชั้นล่างเป็นวงโค้ง และชั้นบนเป็นช่องสี่เหลี่ยมมีการประดับด้วยไม้ฉลุลาดขนมปังขิง มีทางขึ้นตำหนัก 5 ทาง ด้านหน้าตำหนัก 3 ทาง และระเบียงหลัง 2 ทาง
ตำหนักเก้าห้อง ตั้งอยู่ระหว่างตำหนักพระราชชายา เจ้าดารารัศมีและพระตำหนักพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ปัจจุบัน ใช้เป็นที่พักของนายทหารของศูนย์รักษาความปลอดภัยตั้งแต่ยศพันตรีขึ้นไป
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
ห้องชั้นบนของพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ ประกอบด้วย 4 ห้องใหญ่ ได้แก่ ห้องบรรทมสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ห้องทรงพระอักษร และห้องพระป้าย โดยมีรายละเอียดดังนี้
[แก้]ห้องทรงพระอักษร
ห้องทรงพระอักษรตั้งอยู่ในทางทิศใต้ของพระที่นั่ง ภายในห้องมีโต๊ะทรงพระอักษรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ ปัจจุบัน ใช้เป็นที่เก็บหนังสือภาษาจีนในรัชสมัยรัชกาลที่ 5
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
โดยบริเวณทางขึ้นท้องพระโรงบนนั้นมีแผ่นหินอ่อนเป็นตราสัญลักษณ์ลัทธิเต๋าของจีน รูปหยินหยางประดับไว้ มีพระราชอาสน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกแผ่นป้ายคำโคลงสรรเสริญข้าราชการที่ทำคุณความดี 9 บท 17 แผ่นป้าย มาประดับไว้ด้วย ส่วนท้องพระโรงบนนั้น เป็นห้องประชุมเสนาบดี และใช้เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 5 โดยมีการตั้งป้าย 8 เหลี่ยมซึ่งเขียนเป็นภาษาจีนว่า "เทียน เหมง เต้ย" และ "ว่าน ว่าน ซุย" ซึ่งแปลว่า ทรงพระเจริญหมื่น ๆ ปี และที่เพดานท้องพระโรงมีอักษรไทยที่เขียนเลียนแบบอักษรจีนเป็นคำว่า "กิม หลวน เต้ย" ซึ่งแปลว่า โอรสจากสวรรค์
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นของถวายของข้าราชการกรมท่าซ้าย คือ พ่อค้าใหญ่ชาวจีน โดยมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฟัก โชติกสวัสดิ์) เป็นนายงาน หลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร) และ หลวงโภคานุกุล (จื๋ว) เป็นผู้ควบคุมในการก่อสร้าง และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถม กรมหมื่นสรรพศาสตร์ศุภกิจ เป็นผู้ควบคุมดูแล
เมื่อพระที่นั่งสร้างเสร็จ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ จัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมขึ้นพระที่นั่งตามแบบจีน เมื่อวันที่ 27 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2432
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55
รีวิวเมื่อ 24 พ.ค. 55