“พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ชมการแสดงแสง สี เสียง ในงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ ”
พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ประกอบด้วยพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระคชาธารออกศึก และองค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะ ในสงครามยุทธหัตถี ที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่าเมื่อปี พ.ศ.2134 ภายในองค์เจดีย์ได้มีการสร้างห้องแสดงประวัติศาสตร์ทั้งภาพแสงสีเสียงและหุ่นจำลอง การยกทัพของพม่าและไทย หลายร้อยตัว เป็นสถานที่ได้ทั้งความรู้และเพลิดเพลิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ได้เสด็จทรงประกอบพิธีบวงสรวง และเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2502 ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ และถือเป็นวันกองทัพไทยด้วยพร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มี งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์เฉลิมฉลองด้วย
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราช สมภพเมื่อเดือน 1 ขึ้น 1 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. 2098 ณ พระราชวัง จันทรเกษม จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 แห่งสมเด็จพระมหาธรรมราชา และสมเด็จพระวิสุทธิกษัตรี อันเป็นพระราชธิดาแห่งสมเด็จพระศรีสุริโยทัย และพระมหาจักรพรรดิ์ พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีคือ สมเด็จพระศรีสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก หงสาวดีบุเรงนองได้นำสมเด็จพระนเรศวรไปยังหงสาวดีเพื่อเป็นตัวประกัน ขณะเมื่อทรงมีพระชันษาได้เพียง 8 พระชันษา ครั้นหงสาวดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ หงสาวดีนันทบุเรง ขึ้นครองราช ทรงมีพระโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า มังรายกะยอชะวา (ต่อมาได้สถาปนาเป็น พระมหาอุปราชา) ซึ่งมีนิสัยเย่อหยิ่ง
ครั้งหนึ่งมังรายกะยอชะวาเอาไก่ชนมาชนกับไก่ของสมเด็จพระนเรศวรแล้วแพ้ จึงกล่าวกับพระนเรศวรว่า " อ้ายไก่เชลยที่พลัดบ้านเมืองมา ไม่ครนามือกู" พระนเรศวรจึงตรัสตอบว่า "แม้เป็นไก่เชลย แต่ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่ตีเพื่อความสนุกเลย เดิมพันเอาบ้านเอาเมืองก็ยังได้"สมเด็จพระนเรศวรทรงเจริญพระชันษาในราชสำนักหงสาวดี พร้อมกับฝีมือการต่อสู้ที่กร้าวแกร่ง ต่อมาพระศรีสุพรรณกัลยาณีได้เสียสละอย่างสูงสุด เดินทางไปถวายตัวกับพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง เพื่อแลกตัวสมเด็จพระนเรศวรกลับยังกรุงศรีอยุธยา ครั้งหนึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้เรียกให้พระนเรศวรยกทัพไปร่วมทัพที่กรุงหงสาวดี เพื่อจะไปตีเมืองอังวะ แต่ได้ออกอุบายให้ พระยาเกียรติพระยาราม สองขุนศึกมอญลอบปลงพระชนม์ แต่พระยาเกียรติพระยารามได้นำความไปเล่าให้พระมหาเถรคันฉ่องซึ่งเป็นพระอาจารย์ฟัง
พระมหาเถรจึงนำพระยาเกียรติพระยารามเข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องราวแก่สมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงมีปฐมบรมราชโองการประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแครง ว่า "กูสมเด็จพระนเรศวร ขอประกาศความเป็นอิสระภาพ ไม่ขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป " หงสาวดีนันทบุเรงทรงพิโรธ สั่งให้สุกรรมา นายทัพคู่ใจ ออกไปสกัดทัพไว้ที่แม่น้ำสะโตง สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนยิงสุกรรมาเสี ยชีวิตบนหลังช้าง ทรงพระราชทานนามพระแสงปืนนั้นว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" ในปี พ.ศ. 2133 พระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต หงสาวดีนันทบุเรงถือเป็นโอกาส จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาให้ยกทัพมาตีกรุงศรี แต่ก็ต้องพ่ายแพ้กลับไป จนปี พ.ศ. 2135
เที่ยวได้ทุกวัน แต่การแสดงจะมีแสดงทุกปีในช่วงวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี ประกอบด้วยการแสดงของเหล่านักแสดงนับพันคนและการชนช้างการฟ้อนรำที่งดงาม และเรื่องราวของประวัติศาสตร์สมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ให้ทั้งความรู้ ความสนุกสนาน และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 5 รายการ)รีวิวเมื่อ 10 ก.ย. 53
รีวิวเมื่อ 10 ก.ย. 53
รีวิวเมื่อ 10 ก.ย. 53
รีวิวเมื่อ 10 ก.ย. 53
รีวิวเมื่อ 10 ก.ย. 53