“วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2478  วัดนี้ยังเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเษก”

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เป็นโบราณสถานที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญมาแต่โบราณกาล สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 โดยวัดนี้เป็นวัดสำคัญในเขตเมืองเชลียงมาแต่เดิม ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 และในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปปราบชุมชนพระฝางเมืองสวางคบุรี แล้วได้เสด็จสมโภชพระบรมธาตุเมืองเชลียงนี้ด้วย และวัดนี้ยังเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเษก สำหรับพระเจ้าแผ่นดินใหม่ที่จะขึ้นเสวยราชสมบัติมาแต่ครั้งโบราณกาล วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2478  ได้โอนมาขึ้นในปกครองคณะสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ. 2479 ได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2501


การเดินทาง : จากตัวเมืองสุโขทัยไปทางทิศเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ประมาณ 55 กิโลเมตร ปัจจุบันนักท่องเที่ยวและผู้สนใจเข้าชมสามารถนั่งรถ บขส. มาลงได้โดยถ้ามาจากสถานีขนส่ง ที่อ.เมือง สุโขทัย ให้แจ้งว่ามาลงที่ "พระปรางค์" ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวบ้านใช้เรียกขานวัดนี้ เมื่อลงจากรถ บขส. จะเป็นซุ้มประตูทางเข้าวัดโดยผ่านชุมชน

นักท่องเที่ยวสามารถขี่จักรยานชมรอบๆอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยเช่าจักรยานได้ ณ ร้านค้าที่จุดลงจากรถ บขส.นี้และฝากกระเป๋าสัมภาระไว้ที่ร้านค้าได้ เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้ามาจะผ่านชุมชนประมาณ 100 เมตร จะพบสะพานแขวนไม้ข้ามแม่น้ำยม เพื่อไปยังวัดพระปรางค์ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม นักท่องเที่ยวชาวไทยเสียค่าธรรมเนียมบำรุงอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเฉพาะจุดนี้ก่อน 10 บาท และจะได้แผนที่นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยด้วย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย  055-679211

ททท.สำนักงานสุโขทัย(สุโขทัย,กำแพงเพชร)  055-616228-9

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง

แชร์

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย 64130 แผนที่

รีวิว 6 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด,โบราณสถาน

No hours available

055-679211

https://www.thai-tour.com/thai-tour/north/sukhothai/data/place/wat_prasrirattanamahathat.html

6895

แนะนำทริป

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 6 รายการ)

nongview

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 53

อาคารขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลงเป็นแบบฐานปัทม์เพียงชั้นเดียว หักพังไปแล้วเป็นส่วนใหญ่

พระอุโบสถ อยู่ถัดออกมาทางด้านหน้าพระปรางค์ประธานนอกกำแพงแก้ว ได้รับการบูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นโบสถ์ขนาดห้าห้อง มีมุขยื่นอีกหนึ่งห้อง หลังคาลดสามชั้นซ้อนสองตับ ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก องค์พระประธานคือ หลวงพ่อพุทธเรืองฤทธิ์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๔.๐๘ เมตร ประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหาร ซึ่งเป็นพระวิหารใหญ่ขนาด ๗ ห้อง สร้างด้วยศิลาแลง หน้าต่างเจาะเป็นช่องเล็กๆ เบื้องหน้าพระประธานมีพระพุทธรูปยืนปูนปั้นศิลปะสุโขทัย พุทธลักษณะงดงามมาก

กุฏิพระร่วงพระลือ หรือที่เรียกกันว่าศาลพระร่วง-พระลือ ลักษณะเป็นพระมณฑปฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง ๗.๒๐ เมตร หลังคาคล้ายรูปชามคว่ำสี่ชั้น ภายในประดิษฐานรูปพระร่วง พระลือ (จำลอง)

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 53

พระวิหารสองพี่น้อง อยู่ทางด้านซ้ายของพระมณฑปพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลงฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๗ เมตร ขนาดเจ็ดห้อง ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยสององค์ ด้านหลังมีขนาดใหญ่กว่าด้านหน้า
พระวิหารสองพี่น้อง อยู่ทางด้านซ้ายของพระมณฑปพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลงฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๗ เมตร ขนาดเจ็ดห้อง ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยสององค์ ด้านหลังมีขนาดใหญ่กว่าด้านหน้า

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 53

มณฑปพระอัฏฐารส
อยู่ทางด้านหลังพระธาตุมุเตา สันนิษฐานว่า เป็นมณฑปพระสี่อิริยาบถ เป็นพระพุทธรูปประทับยืนทางทิศเหนือ ด้านทิศตะวันออกเหลือส่วนพระชงฆ์ของพระพุทธรูป ด้านหลัง (ทิศใต้) และทางด้านขวาหักพังเสียหายมาก จากการสำรวจโดยรอบพระมณฑป พบเศษกระเบื้องมุงหลังคาดินเผา ตกกระจายอยู่ค่อนข้างหนาแน่น สันนิษฐานว่า หลังคาพระมณฑปน่าจะเป็นเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา
มณฑปพระอัฏฐารส
	อยู่ทางด้านหลังพระธาตุมุเตา สันนิษฐานว่า เป็นมณฑปพระสี่อิริยาบถ เป็นพระพุทธรูปประทับยืนทางทิศเหนือ ด้านทิศตะวันออกเหลือส่วนพระชงฆ์ของพระพุทธรูป ด้านหลัง (ทิศใต้) และทางด้านขวาหักพังเสียหายมาก จากการสำรวจโดยรอบพระมณฑป พบเศษกระเบื้องมุงหลังคาดินเผา ตกกระจายอยู่ค่อนข้างหนาแน่น สันนิษฐานว่า หลังคาพระมณฑปน่าจะเป็นเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 53

พระเจดีย์ราย เป็นเจดีย์ทรงกลม ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บริเวณมุมทั้งสี่ของพระปรางค์ประธาน ขนาดโดยเฉลี่ย ๕ เมตร มีอยู่ห้าองค์
กำแพงวัด เป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร มีคานทับหลังกำแพง เป็นรูปหลังเจดีย์ตัด มีทางเข้าออกที่ด้านหน้าและด้านหลังเหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคายอดแหลมเหมือนช่อฟ้า เหนือซุ้มขึ้นไปเป็นรูปปั้นรูปพรหมพักตร์ และรูปนางอัปสรฟ้อนรำอยู่ต่ำลงมา

พระธาตุมุเตา อยู่ด้านหลังพระปรางค์ประธาน นอกกำแพงแก้ว ก่อด้วยศิลาแลงฐานรูปแปดเหลี่ยม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๒ เมตร ซ้อนกันสี่ชั้น ต่อจากนั้นเป็นชั้นบัวสามชั้น ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปหักพังหมด บริเวณบัวถลาทำเป็นซุ้มหลอกเจ็ดส่วน ซุ้มทางด้านหน้ามีทางเข้าไปภายในแต่หักพังปิดทับหมด มีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้ม
พระเจดีย์ราย เป็นเจดีย์ทรงกลม ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บริเวณมุมทั้งสี่ของพระปรางค์ประธาน ขนาดโดยเฉลี่ย ๕ เมตร มีอยู่ห้าองค์
กำแพงวัด เป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร มีคานทับหลังกำแพง เป็นรูปหลังเจดีย์ตัด มีทางเข้าออกที่ด้านหน้าและด้านหลังเหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคายอดแหลมเหมือนช่อฟ้า เหนือซุ้มขึ้นไปเป็นรูปปั้นรูปพรหมพักตร์ และรูปนางอัปสรฟ้อนรำอยู่ต่ำลงมา

พระธาตุมุเตา อยู่ด้านหลังพระปรางค์ประธาน นอกกำแพงแก้ว ก่อด้วยศิลาแลงฐานรูปแปดเหลี่ยม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๒ เมตร ซ้อนกันสี่ชั้น ต่อจากนั้นเป็นชั้นบัวสามชั้น ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปหักพังหมด บริเวณบัวถลาทำเป็นซุ้มหลอกเจ็ดส่วน ซุ้มทางด้านหน้ามีทางเข้าไปภายในแต่หักพังปิดทับหมด มีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้ม

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 53

พระปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงฉาบแล้วลงสีชาดทับ แต่ปัจจุบันสีได้ลอกออกบางส่วน ลักษณะภายนอกเป็นปรางค์แบบอยุธยา ฐานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง ๓๐ เมตร ฐานเขียงขั้นแรกย่อมุมไม้สิบสอง ฐานล่างสุดก่อผนังแบบทึบ เจาะช่องแสงกันอยู่ด้านในสามชั้น (วิหารคด) เรือนธาตุทางด้านหน้าทำเป็นซุ้มโถง มีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้มทางด้านหลังพระวิหาร ภายในซุ้มโถงมีสถูปขนาดเล็กรูปดอกบัวตูมประดิษฐานอยู่ อาจเป็นที่บรรจุพระธาตุ ตามผนังภายในองค์ปรางค์มีร่องรอยว่าแต่เดิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ส่วนบริเวณเรือนธาตุทางด้านหลัง ทำเป็นบันไดขึ้นสู่องค์ปรางค์เช่นเดียวกัน แต่เป็นประตูหลอก ฐานชั้นล่างสุดมีพระสาวกเดินประณมมือประทักษิณ

พระวิหาร ก่อด้วยศิลาแลง ฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๙.๒๐ เมตร ยาว ๒๕.๒๐ เมตร ฐานสูง ๑.๒๐ เมตร เป็นวิหารขนาดหกห้อง มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า ผนังวิหารเป็นแบบผนังทึบเจาะช่องแสง พระประธานเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ขนาบด้วยพระพุทธรูปยืนขนาดเล็กทั้งขวาและซ้าย ปัจจุบันเหลือเฉพาะฐานพระวิหารและเสาบางส่วน

พระวิหารขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลงอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระวิหารประธานฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ด้านหลังตอนบนทำเป็นซุ้มพระ ทรงโค้งแหลมภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก

ฐานพระวิหารขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลงอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นฐานขนาดห้าห้อง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ด้านหลังทำเป็นซุ้มพระ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งซึ่งชำรุดหักพังเป็นส่วนใหญ่
พระปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงฉาบแล้วลงสีชาดทับ แต่ปัจจุบันสีได้ลอกออกบางส่วน ลักษณะภายนอกเป็นปรางค์แบบอยุธยา ฐานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง ๓๐ เมตร ฐานเขียงขั้นแรกย่อมุมไม้สิบสอง ฐานล่างสุดก่อผนังแบบทึบ เจาะช่องแสงกันอยู่ด้านในสามชั้น (วิหารคด) เรือนธาตุทางด้านหน้าทำเป็นซุ้มโถง มีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้มทางด้านหลังพระวิหาร ภายในซุ้มโถงมีสถูปขนาดเล็กรูปดอกบัวตูมประดิษฐานอยู่ อาจเป็นที่บรรจุพระธาตุ ตามผนังภายในองค์ปรางค์มีร่องรอยว่าแต่เดิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ส่วนบริเวณเรือนธาตุทางด้านหลัง ทำเป็นบันไดขึ้นสู่องค์ปรางค์เช่นเดียวกัน แต่เป็นประตูหลอก ฐานชั้นล่างสุดมีพระสาวกเดินประณมมือประทักษิณ

พระวิหาร ก่อด้วยศิลาแลง ฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๙.๒๐ เมตร ยาว ๒๕.๒๐ เมตร ฐานสูง ๑.๒๐ เมตร เป็นวิหารขนาดหกห้อง มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า ผนังวิหารเป็นแบบผนังทึบเจาะช่องแสง พระประธานเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ขนาบด้วยพระพุทธรูปยืนขนาดเล็กทั้งขวาและซ้าย ปัจจุบันเหลือเฉพาะฐานพระวิหารและเสาบางส่วน

พระวิหารขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลงอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระวิหารประธานฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ด้านหลังตอนบนทำเป็นซุ้มพระ ทรงโค้งแหลมภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก

ฐานพระวิหารขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลงอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นฐานขนาดห้าห้อง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ด้านหลังทำเป็นซุ้มพระ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งซึ่งชำรุดหักพังเป็นส่วนใหญ่

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 53

วัดพระปรางค์ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย ตรงช่วงแหลมโค้งข้อศอกของแม่น้ำยม หันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก และตั้งอยู่นอกกำแพงด้านใต้ของเมืองศรีสัชนาลัยระยะทาง ๑.๙ กิโลเมตร
วัดพระปรางค์ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย ตรงช่วงแหลมโค้งข้อศอกของแม่น้ำยม หันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก และตั้งอยู่นอกกำแพงด้านใต้ของเมืองศรีสัชนาลัยระยะทาง ๑.๙ กิโลเมตร

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

วัดนางพญา อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย วัดนางพญา อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.01 กิโลเมตร

วัดป่าอุดมสัก วัดป่าอุดมสัก (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.18 กิโลเมตร

โบราณสถาน หมายเลข 21 โบราณสถาน หมายเลข 21 (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.25 กิโลเมตร

โบราณสถาน หมายเลข 23 โบราณสถาน หมายเลข 23 (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.30 กิโลเมตร

วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ (รีวิว 1267 รายการ)

ห่าง 0.30 กิโลเมตร

วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดเจดีย์เจ็ดแถว (รีวิว 842 รายการ)

ห่าง 0.32 กิโลเมตร

โบราณสถานวัดทุ่งเศรษฐี โบราณสถานวัดทุ่งเศรษฐี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.35 กิโลเมตร

โบราณสถานวัดสวนแก้วอุทยานน้อย โบราณสถานวัดสวนแก้วอุทยานน้อย (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.43 กิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (รีวิว 11 รายการ)

ห่าง 0.47 กิโลเมตร

วัดช้างล้อม วัดช้างล้อม (รีวิว 994 รายการ)

ห่าง 0.49 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

ศรีสัชนาลัย เฮอริเทจ ศรีสัชนาลัย เฮอริเทจ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.83 กิโลเมตร

ดาวน์ฮิลล์ รีสอร์ท ดาวน์ฮิลล์ รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.49 กิโลเมตร

ลีลาวดี ศรีสัชนาลัย รีสอร์ท ลีลาวดี ศรีสัชนาลัย รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 3.11 กิโลเมตร

น้ำยม รีสอร์ท น้ำยม รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 6.54 กิโลเมตร

เข้าชมล่าสุด

ฮบีมเมอร์ ฮบีมเมอร์ (รีวิว 0 รายการ)