“พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก จัดแสดงโบราณวัตถุสมัยก่อนกรุงสุโขทัย เช่น ชามสังคโลก พระพุทธรูปต่างๆ”

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก  ตั้งอยู่ที่ตำบลวังไม้ขอน หลังวัดสวรรคาราม (วัดกวาง) อำเภอสวรรคโลก ห่างจากสุโขทัย 38 กม. มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีกประมาณ 2 กม. พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ชั้นบนจัดแสดงประติมากรรมสมัยต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมบัติของพระสวรรควรนายก และบางส่วนย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปในยุคสมัยต่างๆ ตั้งแต่ก่อนยุคสุโขทัย จนถึงศิลปรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนบริเวณชั้นล่าง จัดแสดงเครื่องถ้วยสังคโลก เพื่อประโยชน์ ในการศึกษาหาความรู้เรื่องเครื่องถ้วยสังคโลก ซึ่งขุดค้นพบมากที่แหล่งโบราณคดี เครื่องถ้วยสังคโลก บ้านเกาะน้อย อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งแสดงเครื่องถ้วยสมบัติใต้ทะเลที่งมได้ มาจากแหล่งเรือจมในอ่าวไทย


เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.0-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท ในกรณีเข้าเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรนำชมควรติดต่อสอบถามก่อน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก  055-641571, 055-643166
ททท.สำนักงานสุโขทัย(สุโขทัย,กำแพงเพชร) 055-616228-9

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก

แชร์

69 ถนนประชาราษฎร์ ตำบลเมือง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย 64110 แผนที่

รีวิว 4 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,พิพิธภัณฑ์

ไม่ทราบเวลาเปิดปิดที่แน่นอน

055-641571

https://www.thai-tour.com/thai-tour/north/sukhothai/data/place/nakhonnayok-museum.html

5776

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 4 รายการ)

Not identifiable

รีวิวเมื่อ 26 ก.ย. 53

อยากได้ประวัติ

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 25 ก.ค. 53

การบริการ
1. บริการบรรยายนำชมภายในพิพิธภัณฑ์ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และแขกของทางราชการที่ขอเข้าชมเป็นหมู่คณะ
2. บริการบรรยายนอกสถานที่ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ได้จัดทำโครงการพิพิธภัณฑสถานสู่สถานศึกษาเป็นประจำ โดยมีเจ้าหน้าที่ออกไปบรรยายประวัติและกิจกรรมต่างๆ ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
3. จัดนิทรรศการและกิจกรรมพิเศษเนื่องในโอกาสสำคัญ อาทิ วันเข้าพรรษา วันพิพิธภัณฑ์ไทย วันอนุรักษ์มรดกไทย และวันเด็กแห่งชาติ
4. จัดทำเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการแก่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
5. จำหน่ายโปสการ์ด สินค้าที่ระลึก และหนังสือวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และโบราณคดี
 

วันและเวลาทำการ
เปิด : วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.
ปิด : วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
 

ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
ชาวไทย 10 บาท
ชาวต่างประเทศ 50 บาท
ยกเว้นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในเครื่องแบบ พระภิกษุ สามเณร
การบริการ
	1. บริการบรรยายนำชมภายในพิพิธภัณฑ์ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และแขกของทางราชการที่ขอเข้าชมเป็นหมู่คณะ
	2. บริการบรรยายนอกสถานที่ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ได้จัดทำโครงการพิพิธภัณฑสถานสู่สถานศึกษาเป็นประจำ โดยมีเจ้าหน้าที่ออกไปบรรยายประวัติและกิจกรรมต่างๆ ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
	3. จัดนิทรรศการและกิจกรรมพิเศษเนื่องในโอกาสสำคัญ อาทิ วันเข้าพรรษา วันพิพิธภัณฑ์ไทย วันอนุรักษ์มรดกไทย และวันเด็กแห่งชาติ
	4. จัดทำเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการแก่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
	5. จำหน่ายโปสการ์ด สินค้าที่ระลึก และหนังสือวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และโบราณคดี
	 

	วันและเวลาทำการ
	เปิด : วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.
	ปิด : วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
	 

	ค่าธรรมเนียมการเข้าชม
	ชาวไทย 10 บาท
	ชาวต่างประเทศ 50 บาท
	ยกเว้นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในเครื่องแบบ พระภิกษุ สามเณร

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 25 ก.ค. 53

โบราณวัตถุที่สำคัญอื่นๆ


โคมไฟ
ศิลปะสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ได้จากการขุดแต่งที่เมืองศรีสัชนาลัย ขนาด ปากกว้าง 15 เซนติเมตร สูง 25 เซนติเมตร เป็นโคมไฟหัวเสา ลักษณะเป็นทรงกระบอกกลม ส่วนบนและล่างโค้ง ยกขอบปากตั้งตรง ส่วนบนเปิด ที่ลาดไหล่ฉลุเป็นลายโปร่ง คงเหลือแต่เถาพรรณไม้หรือลายก้านขด มีแถบคั่นระหว่างช่วงไหล่กับตัวโคม ที่ตัวโคมแบ่งออกเป็น 5 ช่อง โดยมีเส้นนูนแบ่งคั่น ในแต่ละช่องฉลุโปร่งเป็นลายพรรณไม้หรือลายก้านขด ส่วนล่างทึบมีขอบเชิงฐานรองรับ เคลือบสีฟ้าอมเขียว ใต้ก้นมีรอยรูปวงแหวนสีดำ ซึ่งเกิดจากรอยกี๋ทรงกระบอกในระหว่างการเผาเคลือบ

 

กุณฑีเคลือบสองสี
ศิลปะสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ได้จากการขุดแต่งเมืองสุโขทัย ด้านทิศใต้ของวัดมหาธาตุเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย ขนาด ปากกว้าง 2 เซนติเมตร สูง 18 เซนติเมตร เลขประจำวัตถุ สท. 108/2516 ตัวกุณฑีเป็นรูปกลมแป้น คอคอดเรียว ปากมีเชิงบานออกมาโดยรอบคล้ายกับดอกเห็ด พวยเป็นกระเปาะกลม ปากพวยแคบเล็ก เคลือบพื้นด้วยสีขาวนวล ลายเคลือบสีน้ำตาลทองมีลายขูดขีดเดินเส้นรอบลาย คอเป็นลายเส้นวงกลมและลายหยักเหลี่ยมคล้ายฟันปลารอบ ที่ไหล่เป็นลายเครือเถาพรรณไม้อยู่ในขนาบเส้นวงกลม ตัวกาและพวยเป็นลายเครือเถาพรรณไม้หรือก้านขด มีนกกำลังถลาบินใต้พวยตัวหนึ่ง ส่วนเชิงฐานไม่เคลือบ

 

จาน
ศิลปะสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ได้จากแหล่งเรือจมหน้าอ่าวสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ขนาด ปากกว้าง 30 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร เลขประจำวัตถุ 8/2518/323 เป็นจานขนาดใหญ่ก้นลึก ขอบปากหยักเป็นรูปกลีบบัวหรือปากกระจับแบนผายออกขนานกับพื้น ริมขอบปากยกเป็นสันนูนตามรูปปากจาน เคลือบด้วยน้ำเคลือบสีเขียวไข่กา ด้านในตรงกลางก้นจานเป็นรูปดอกบัวบานขนาดใหญ่ อยู่ในวงกลมดอกหนึ่ง และที่ลาดตัวจานด้านในมีลายดอกไม้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับที่พบบนแผ่นหินในอุโมงค์วัดศรีชุม เรียงรายรอบ 3 ดอก ด้านนอกเป็นลายขุดเป็นร่องคล้ายกับกลีบบัว ใต้ก้นมีรอยวงแหวนสีดำซึ่งเกิดจากกี๋ท่อติดอยู่

 

จานเขียนลายใต้เคลือบ
ศิลปะสุโขทัย ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ได้จากแหล่งเรือจมหน้าอ่าวสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ขนาด ปากกว้าง 27 เซนติเมตร เลขประจำวัตถุ 51/2517/729 เป็นจานกลม ขอบปากเรียบ ยกขอบปากเป็นสันนูนเล็กน้อย เขียนลายสีดำใต้เคลือบใสบนพื้น Engobe สีขาวนวล ตรงกลางก้นจานด้านในเขียนลายรูปปลากินสาหร่ายอยู่ในวงกลมสามชั้น ที่ลาดตัวจานด้านในเขียนเป็นลายพรรณไม้น้ำหรือต้นสาหร่าย ขอบปากเขียนเป็นลายรูปสามเหลี่ยมฟันปลาเรียงต่อกันอยู่ในวงกลม ด้านนอกเคลือบ Engobe สีขาวนวลไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสิ้น

 

กระปุกเขียนลายใต้เคลือบ
ศิลปะสุโขทัย ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ได้จากการขุดแต่งเมืองสุโขทัย ปี พ.ศ. 2516 ขนาด สูง 10 เซนติเมตร เลขประจำวัตถุ สท.93/2516 เป็นกระปุกทรงสูง ปากแคบ ช่วงไหล่ลาดกว้างและสอบเข้าหาฐาน ขอบปากตั้งตรง มีเส้นนูนยกเป็นสันลดชั้นที่บริเวณไหล่เขียนลายสีดำใต้เคลือบใสบนพื้น Engobe สีขาวนวล ส่วนบนลาดไหล่เขียนเป็นลายกลีบบัวฟันยักษ์ มีเส้นวงกลมรอบทั้งด้านบนและล่างด้านละ 3 เส้น ตอนกลางของตัวกระปุกแบ่งออกเป็น 4 ช่อง มีเส้นตั้งในแนวดิ่งคั่น ในแต่ละช่องจะเป็นลายต้นไม้หรือลายกอข้าวหรือกอหวาย สลับกับลายขีดทแยงเป็นรูปเหลี่ยมหรือลายราชวัตร ที่บริเวณเอวเขียนเป็นลายรูปสามเหลี่ยมซ้อนกันอยู่ในเส้นวงกลม จากลักษณะรูปทรง แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเครื่องถ้วยจีนและเครื่องถ้วยอันนาม ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20

 

พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ศิลปะสุโขทัย อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ทำจาก สำริด ได้จากวัดสวรรคาราม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ขนาด สูง 121 เซนติเมตร เลขทะเบียน สน.9 องค์พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระขนงโก่งเป็นสัน พระเนตรเรียวเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่งปลายงุ้ม พระโอษฐ์เรียวบาง พระปรางอิ่ม พระหนุอูม ขมวดพระเกศาเล็ก หยักลงตรงกลางพระนลาฏ พระรัศมีเป็นเปลวสูง ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี และเห็นแนวขอบสบงบริเวณบั้นพระองค์ พระพุทธรูปองค์นี้มีจารึกที่ฐานข้อความลบเลือน (ยังไม่ได้อ่านและแปล) ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่วัดหงส์รัตนาราม ธนบุรี (Griswold, 2507, Fig. 13) แต่พระพักตร์ค่อนข้างยาวกว่าองค์ที่อ้างถึง

 

พระพุทธรูปปางลีลา
ศิลปะสุโขทัย อายุราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 19 ทำจาก สำริด ได้จากวัดสวรรคาราม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ขนาด สูง 154 เซนติเมตร เลขทะเบียน สน. 2 องค์พระพุทธรูปยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นแสดงปางประทานอภัย พระกรขวาทอดขนานกับพระวรกาย พระบาทขวาเขย่งในท่าเดิน ลักษณะพระพักตร์เป็นรูปไข่ พระเนตรเป็นรูปกลีบบัว พระขนงโก่งเป็นสัน พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียวบาง พระหนุอูม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นรูปเปลวไฟ ช่วงพระพาหาผายกว้าง ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี มีแนวเส้นขอบสบงเล็กๆ พาดเป็นวงโค้งระหว่างพระโสณี พระพุทธรูปปางลีลาองค์นี้ลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปปางลีลา ในพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด (M.C. subhadrdis, 1978, Fig. 196) และพระพุทธรูปปางลีลาซึ่งพบที่จังหวัดสุโขทัย

 

พระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก
ศิลปะเขมร แบบนครวัดตอนปลายหรือบายนตอนต้น อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ทำจาก ศิลา ได้จากวัดสวรรคาคาม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ขนาด สูง 85 เซนติเมตร ทะเบียนเลขที่ ลบ. 73 พระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ประทับขัดสมาธิราบแสดงปางสมาธิบนขนดนาค 7 เศียร พระพักตร์เคร่ง พระนลาฏกว้าง พระขนงทำเป็นสันนูนเกือบจะอยู่ในแนวเส้นตรง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกแบนใหญ่ พระโอษฐ์หนา ขอบสลักเป็นสัน ทรงกระบังหน้า กุณฑล พาหุรัด ทองพระกร และกรองศอทำเป็นแผ่นใหญ่ ตกแต่งด้วยแนวลายลูกประคำดอกประจำยามและลายใบไม้ 3 เหลี่ยม ปลายแหลมตามแบบพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะเขมรแบบนครวัด (ราว พ.ศ. 1650 - 1715) เปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปนาคปรกจากมงคลบุรี (Boisselier, 1966, PL. XLIII, 2) อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ยังมีข้อแตกต่างอยู่บ้างคือ ทรงกุณฑล และแนวกระบังหน้าในศิลปะเขมรแบบนครวัด นิยมใช้แนวลายประจำยาม หรือลายดอกไม้รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียงอยู่ตรงกลางระหว่างแนวลายลูกประคำทางด้านล่าง และลายใบไม้สามเหลี่ยมนั้นกลับเปลี่ยนเป็นลายดอกไม้ทรงกลม เรียงต่อเนื่องกันตามแบบศิลปะเขมรแบบบายน ราว พ.ศ. 1720 - 1780 (ม.จ. สุภัทรดิศ, 2515, หน้า 37) แสดงให้เห็นถึงความสืบเนื่องของรูปแบบ หรือวิวัฒนาการในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างศิลปะเขมรแบบนครวัด-บายน  
โบราณวัตถุที่สำคัญอื่นๆ

	
	โคมไฟ
	ศิลปะสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ได้จากการขุดแต่งที่เมืองศรีสัชนาลัย ขนาด ปากกว้าง 15 เซนติเมตร สูง 25 เซนติเมตร เป็นโคมไฟหัวเสา ลักษณะเป็นทรงกระบอกกลม ส่วนบนและล่างโค้ง ยกขอบปากตั้งตรง ส่วนบนเปิด ที่ลาดไหล่ฉลุเป็นลายโปร่ง คงเหลือแต่เถาพรรณไม้หรือลายก้านขด มีแถบคั่นระหว่างช่วงไหล่กับตัวโคม ที่ตัวโคมแบ่งออกเป็น 5 ช่อง โดยมีเส้นนูนแบ่งคั่น ในแต่ละช่องฉลุโปร่งเป็นลายพรรณไม้หรือลายก้านขด ส่วนล่างทึบมีขอบเชิงฐานรองรับ เคลือบสีฟ้าอมเขียว ใต้ก้นมีรอยรูปวงแหวนสีดำ ซึ่งเกิดจากรอยกี๋ทรงกระบอกในระหว่างการเผาเคลือบ

	 

	กุณฑีเคลือบสองสี
	ศิลปะสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ได้จากการขุดแต่งเมืองสุโขทัย ด้านทิศใต้ของวัดมหาธาตุเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย ขนาด ปากกว้าง 2 เซนติเมตร สูง 18 เซนติเมตร เลขประจำวัตถุ สท. 108/2516 ตัวกุณฑีเป็นรูปกลมแป้น คอคอดเรียว ปากมีเชิงบานออกมาโดยรอบคล้ายกับดอกเห็ด พวยเป็นกระเปาะกลม ปากพวยแคบเล็ก เคลือบพื้นด้วยสีขาวนวล ลายเคลือบสีน้ำตาลทองมีลายขูดขีดเดินเส้นรอบลาย คอเป็นลายเส้นวงกลมและลายหยักเหลี่ยมคล้ายฟันปลารอบ ที่ไหล่เป็นลายเครือเถาพรรณไม้อยู่ในขนาบเส้นวงกลม ตัวกาและพวยเป็นลายเครือเถาพรรณไม้หรือก้านขด มีนกกำลังถลาบินใต้พวยตัวหนึ่ง ส่วนเชิงฐานไม่เคลือบ

	 

	จาน
	ศิลปะสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ได้จากแหล่งเรือจมหน้าอ่าวสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ขนาด ปากกว้าง 30 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร เลขประจำวัตถุ 8/2518/323 เป็นจานขนาดใหญ่ก้นลึก ขอบปากหยักเป็นรูปกลีบบัวหรือปากกระจับแบนผายออกขนานกับพื้น ริมขอบปากยกเป็นสันนูนตามรูปปากจาน เคลือบด้วยน้ำเคลือบสีเขียวไข่กา ด้านในตรงกลางก้นจานเป็นรูปดอกบัวบานขนาดใหญ่ อยู่ในวงกลมดอกหนึ่ง และที่ลาดตัวจานด้านในมีลายดอกไม้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับที่พบบนแผ่นหินในอุโมงค์วัดศรีชุม เรียงรายรอบ 3 ดอก ด้านนอกเป็นลายขุดเป็นร่องคล้ายกับกลีบบัว ใต้ก้นมีรอยวงแหวนสีดำซึ่งเกิดจากกี๋ท่อติดอยู่

	 

	จานเขียนลายใต้เคลือบ
	ศิลปะสุโขทัย ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ได้จากแหล่งเรือจมหน้าอ่าวสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ขนาด ปากกว้าง 27 เซนติเมตร เลขประจำวัตถุ 51/2517/729 เป็นจานกลม ขอบปากเรียบ ยกขอบปากเป็นสันนูนเล็กน้อย เขียนลายสีดำใต้เคลือบใสบนพื้น Engobe สีขาวนวล ตรงกลางก้นจานด้านในเขียนลายรูปปลากินสาหร่ายอยู่ในวงกลมสามชั้น ที่ลาดตัวจานด้านในเขียนเป็นลายพรรณไม้น้ำหรือต้นสาหร่าย ขอบปากเขียนเป็นลายรูปสามเหลี่ยมฟันปลาเรียงต่อกันอยู่ในวงกลม ด้านนอกเคลือบ Engobe สีขาวนวลไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสิ้น

	 

	กระปุกเขียนลายใต้เคลือบ
	ศิลปะสุโขทัย ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ได้จากการขุดแต่งเมืองสุโขทัย ปี พ.ศ. 2516 ขนาด สูง 10 เซนติเมตร เลขประจำวัตถุ สท.93/2516 เป็นกระปุกทรงสูง ปากแคบ ช่วงไหล่ลาดกว้างและสอบเข้าหาฐาน ขอบปากตั้งตรง มีเส้นนูนยกเป็นสันลดชั้นที่บริเวณไหล่เขียนลายสีดำใต้เคลือบใสบนพื้น Engobe สีขาวนวล ส่วนบนลาดไหล่เขียนเป็นลายกลีบบัวฟันยักษ์ มีเส้นวงกลมรอบทั้งด้านบนและล่างด้านละ 3 เส้น ตอนกลางของตัวกระปุกแบ่งออกเป็น 4 ช่อง มีเส้นตั้งในแนวดิ่งคั่น ในแต่ละช่องจะเป็นลายต้นไม้หรือลายกอข้าวหรือกอหวาย สลับกับลายขีดทแยงเป็นรูปเหลี่ยมหรือลายราชวัตร ที่บริเวณเอวเขียนเป็นลายรูปสามเหลี่ยมซ้อนกันอยู่ในเส้นวงกลม จากลักษณะรูปทรง แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเครื่องถ้วยจีนและเครื่องถ้วยอันนาม ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20

	 

	พระพุทธรูปปางมารวิชัย
	ศิลปะสุโขทัย อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ทำจาก สำริด ได้จากวัดสวรรคาราม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ขนาด สูง 121 เซนติเมตร เลขทะเบียน สน.9 องค์พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระขนงโก่งเป็นสัน พระเนตรเรียวเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่งปลายงุ้ม พระโอษฐ์เรียวบาง พระปรางอิ่ม พระหนุอูม ขมวดพระเกศาเล็ก หยักลงตรงกลางพระนลาฏ พระรัศมีเป็นเปลวสูง ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี และเห็นแนวขอบสบงบริเวณบั้นพระองค์ พระพุทธรูปองค์นี้มีจารึกที่ฐานข้อความลบเลือน (ยังไม่ได้อ่านและแปล) ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่วัดหงส์รัตนาราม ธนบุรี (Griswold, 2507, Fig. 13) แต่พระพักตร์ค่อนข้างยาวกว่าองค์ที่อ้างถึง

	 

	พระพุทธรูปปางลีลา
	ศิลปะสุโขทัย อายุราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 19 ทำจาก สำริด ได้จากวัดสวรรคาราม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ขนาด สูง 154 เซนติเมตร เลขทะเบียน สน. 2 องค์พระพุทธรูปยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นแสดงปางประทานอภัย พระกรขวาทอดขนานกับพระวรกาย พระบาทขวาเขย่งในท่าเดิน ลักษณะพระพักตร์เป็นรูปไข่ พระเนตรเป็นรูปกลีบบัว พระขนงโก่งเป็นสัน พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียวบาง พระหนุอูม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นรูปเปลวไฟ ช่วงพระพาหาผายกว้าง ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี มีแนวเส้นขอบสบงเล็กๆ พาดเป็นวงโค้งระหว่างพระโสณี พระพุทธรูปปางลีลาองค์นี้ลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปปางลีลา ในพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด (M.C. subhadrdis, 1978, Fig. 196) และพระพุทธรูปปางลีลาซึ่งพบที่จังหวัดสุโขทัย

	 

	พระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก
	ศิลปะเขมร แบบนครวัดตอนปลายหรือบายนตอนต้น อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ทำจาก ศิลา ได้จากวัดสวรรคาคาม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ขนาด สูง 85 เซนติเมตร ทะเบียนเลขที่ ลบ. 73 พระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ประทับขัดสมาธิราบแสดงปางสมาธิบนขนดนาค 7 เศียร พระพักตร์เคร่ง พระนลาฏกว้าง พระขนงทำเป็นสันนูนเกือบจะอยู่ในแนวเส้นตรง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกแบนใหญ่ พระโอษฐ์หนา ขอบสลักเป็นสัน ทรงกระบังหน้า กุณฑล พาหุรัด ทองพระกร และกรองศอทำเป็นแผ่นใหญ่ ตกแต่งด้วยแนวลายลูกประคำดอกประจำยามและลายใบไม้ 3 เหลี่ยม ปลายแหลมตามแบบพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะเขมรแบบนครวัด (ราว พ.ศ. 1650 - 1715) เปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปนาคปรกจากมงคลบุรี (Boisselier, 1966, PL. XLIII, 2) อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้ยังมีข้อแตกต่างอยู่บ้างคือ ทรงกุณฑล และแนวกระบังหน้าในศิลปะเขมรแบบนครวัด นิยมใช้แนวลายประจำยาม หรือลายดอกไม้รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียงอยู่ตรงกลางระหว่างแนวลายลูกประคำทางด้านล่าง และลายใบไม้สามเหลี่ยมนั้นกลับเปลี่ยนเป็นลายดอกไม้ทรงกลม เรียงต่อเนื่องกันตามแบบศิลปะเขมรแบบบายน ราว พ.ศ. 1720 - 1780 (ม.จ. สุภัทรดิศ, 2515, หน้า 37) แสดงให้เห็นถึงความสืบเนื่องของรูปแบบ หรือวิวัฒนาการในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างศิลปะเขมรแบบนครวัด-บายน  

ถูกใจ แชร์

nongview

รีวิวเมื่อ 25 ก.ค. 53

ประเภทการจัดแสดง
การจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ได้แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- เครื่องถ้วยประเภทต่างๆ
- พุทธประติมากรรมในศิลปะต่างๆ
โดยแบ่งห้องจัดแสดงออกเป็น 4 ห้อง ดังนี้
- ห้องจัดแสดงชั้นล่าง
- ห้องจัดแสดงชั้นบน
- ห้องจัดแสดงมุขใต้ชั้นล่าง
- ห้องจัดแสดงมุขใต้ชั้นบน 
โบราณวัตถุที่จัดแสดง
การจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จะนำเสนอเรื่องพัฒนาการของเครื่องถ้วยสุโขทัย และพระพุทธประติมากรรมในศิลปะต่างๆ
ประเภทการจัดแสดง
	การจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ได้แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
	- เครื่องถ้วยประเภทต่างๆ
	- พุทธประติมากรรมในศิลปะต่างๆ
	โดยแบ่งห้องจัดแสดงออกเป็น 4 ห้อง ดังนี้
	- ห้องจัดแสดงชั้นล่าง
	- ห้องจัดแสดงชั้นบน
	- ห้องจัดแสดงมุขใต้ชั้นล่าง
	- ห้องจัดแสดงมุขใต้ชั้นบน 
	โบราณวัตถุที่จัดแสดง
	การจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จะนำเสนอเรื่องพัฒนาการของเครื่องถ้วยสุโขทัย และพระพุทธประติมากรรมในศิลปะต่างๆ

ถูกใจ แชร์

โรงแรมใกล้เคียง

โรงแรมสวรรคบุรี บูติค โรงแรมสวรรคบุรี บูติค (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.83 กิโลเมตร

บ้านเอสพี รีสอร์ท บ้านเอสพี รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.52 กิโลเมตร

น้ำยม รีสอร์ท น้ำยม รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 6.20 กิโลเมตร