“วัดพิกุลทอง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ เรียกว่า พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี”

วัดพิกุลทอง อยู่ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหารไปประมาณ 9 กม. ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่อแพ (พระเทพสิงหบุราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี) ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี ขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับด้วยโมเสดทองคำธรรมชาติชนิด 24 เค รอบๆ พระวิหารใหญ่มีวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีสวนธรรมะและสิ่งก่อสร้างที่สวยงามน่าสนใจ แวดล้อมด้วยบรรยากาศร่มรื่นสงบ


เที่ยวได้ตลอดทั้งปี

วัดพิกุลทอง

แชร์

ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี 16140 แผนที่

รีวิว 5 รายการ | ครอบครัว,ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด,วัด,โบสถ์

No hours available

036-507135

https://www.thai-tour.com/thai-tour/central/singburi/data/place/wat-pigulthong.htm

5432

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 5 รายการ)

Not identifiable

รีวิวเมื่อ 22 ก.ย. 57

ตั้งอยู่ที่ตำบลพิกุลทองค่ะ ช่วยรบกวนเเก้ไขด้วยน้า

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 55

ประวัติหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ท่านเป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรีโดยกำเนิด มีนามเดิมว่า “แพ ใจมั่นคง” เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2448 ตรงกับ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ณ บ้านสวนกล้วย เลขที่ 93/3 หมู่ที่ 3 ตำบลพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี บิดาชื่อ นายเทียน ใจมั่นคง มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง

เมื่ออายุได้ 8 เดือน มารดาผู้ให้กำเนิดได้ถึงแก่กรรม นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ สามี ภรรยา ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้ขอเด็กชายแพ ที่มีอายุเพียง 8 เดือน จากนายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าไปรับอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม

เมื่ออายุได้ 11 ปี บิดามารดาบุญธรรม พาเด็กชายแพไปฝากอยู่วัด กับสำนักอาจารย์ป้อม เพื่อที่จะศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม คือ การเรียนภาษาไทยภาษาขอม

นอกจากนั้น เด็กชายแพ ยังได้เรียนหนังสือ มูลบทบรรพกิจ ทางธรรมก็มีพระมาลัยสูตร และยังได้หัดอ่านพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ เมื่ออายุได้ 14 ปี บิดามารดาบุญธรรมได้ส่งไปศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์ อาจารย์ สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ การศึกษาในกรุงเทพฯขั้นแรกได้เริ่มเรียนหนังสือโบราณท่องสนธิ เรียนมูลกัจจายนสูตร เป็นเวลา 1 ปี ต่อมา ก็ไปเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ

เมื่อศึกษาหาความรู้จนอายุได้ 16 ปี ก็กลับบ้านเกิด เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ.2463 ณ วัดพิกุลทอง ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี โดยมีพระอธิการพันจันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นเมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร จนในปีพ.ศ. 2468 นายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าก็ถึงแก่กรรม

โดยความมุมานะพยายามเด็กชายแพ โดยอาศัยแสงสว่างจากเทียนไขหรือตะเกียงอ่านหนังสือและทบทวนตำรา ด้วยสาเหตุนี้ นัยน์ตา อันเป็นส่วนสำคัญของสังขาร ก็เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ทุกครั้งที่ตรากตรำอ่านหนังสือมากเกินไปในที่สุด นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้แนะนำ ไม่ให้อ่านหนังสืออีกต่อไป มิฉะนั้น นัยน์ตาอาจพิการได้ ดังนั้นหลังจากสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคแล้ว การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมก็ต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจใฝ่การศึกษา พระภิกษุแพ เขมังกะโร จึงได้ศึกษาปฏิบัติสมถกัมมัฎฐาน วิปัสสนากัมมัฎฐานในสำนักของพระครูภาวนา วัดเชตุพน

สามเณรเปรียญแพ ได้ทำการอุปสมบทเมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ในวันขึ้น 6 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ.2469 ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมีพระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมังกะโร”(แปลว่า ผู้ทำความเกษม ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แพ เขมังกะโร หรือมหาแพ ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดชนะสงคราม เพื่อตั้งใจศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมให้ได้สูงที่สุด จากนั้นไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ปรมจารย์ชื่อดังยุคนั้นเพื่อเรียนวิชาอาคมจนเชี่ยวชาญไม่แพ้เกจิร่วมสำนักรูปอื่น ๆ เลย

ในปี พ.ศ. 2473 อาจารย์หยด พวงมะสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขาบท ทำให้ตำแหน่งว่างลง ชาวบ้านพิกุลทอง และชาวบ้านจำปาทอง จึงนิมนต์ให้พระภิกษุแพมารับเป็นเจ้าอาวาสในเดือน เมษายน พ.ศ. 2474 ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 26 ปี ต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงค์ตำแหน่ง ตามหน้าที่การงานต่างๆ ดังนี้

พ.ศ.2482 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลถอนสมอ

พ.ศ.2483 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น พระอุปัชฌายะ

พ.ศ.2484 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอท่าช้าง

พ.ศ. 2484 เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ทำกิจปริยัติธรรมวินัยที่พระคณุศรีพรหมโสภิต

พ.ศ. 2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ

พ.ศ. 2521 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสุนทรธรรมภาณี

พ.ศ.2525 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดสมณศักดิ์

พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระสิงหคณาจารย์

พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ

วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2535 ในวาระทรงเจริญพระชนม์มายุครบ 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิงหบุราจารย์

พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2539ใน วโรกาสเสด็จครองราชย์ครบ 50 ปี เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมมุนี

นับตั้งแต่พระภิกษุแพ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ได้บำเพ็ญประโยชน์ และสาธารณประโยชน์ทั่วไป ได้แก่ สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอประชุมกุฎิสงฆ์ หอไตร หอฉัน ศาลาวิปัสสนา โรงฟังธรรม ฌาปนสถาน ศาลาเอนกประสงค์ เขื่อนหน้าวัด ฯลฯ ดำเนินการก่อสร้างสารธรณประโยชน์ เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชาชนทั่วไป

1. เป็นประธานก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอท่าช้าง

2. เป็นประธานก่อสร้างที่ว่าการอำเภอท่าช้าง

3. เป็นประธานก่อสร้างสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่าช้าง

4. เป็นประธานก่อสร้างสถานีอนามัยตำบลพิกุลทอง

5. เป็นประธานก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดพิกุลทอง

6. เป็นประธานหาทุนสมทบในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอ อินทร์บุรีและสะพานข้ามแม่น้ำน้อย อำเภอท่าช้าง

7. ดำเนินการก่อสร้างสาธารณประโยชน์ ให้กับโรงพยาบาลสิงห์บุรี

พ.ศ. 2528 ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ 80 ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 4 ชั้น มูลค่า 11,100,000 บาท (สิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน) สามารถให้บริการผู้ป่วยได้ 89 เตียง พร้อมทั้งจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้เป็นค่ายาและเวชภัณฑ์ สำหรับพระภิกษุสามเณรที่อาพาธในโรงพยาบาลสิงห์บุรี เป็นเงิน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน)

พ.ศ. 2532 ก่อสร้างอาคารเอ็กซเรย์ (อาคารหลวงพ่อแพ 86 ปี) เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก สูง 2 ชั้น มูลค่า 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) ก่อสร้างแล้วเสร็จ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2533-35

พ.ศ.2534 ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ 90ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 6 ชั้น มูลค่า 35,095,555 บาท (สามสิบห้าล้านเก้าหมื่นห้าพันห้าร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน) อาคารหลังนี้ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2534 เวลา 09.09 น. และเปิดให้บริการ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 โดยชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 5 เป็นหอผู้ป่วยสามัญ ชั้นที่ 6 เป็นหอผู้ป่วยพิเศษ จำนวน15 ห้อง และทางโรงพยาบาลสิงห์บุรีได้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารหลวงพ่อแพ 90 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙

พ.ศ. 2538 ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 9 ชั้น มูลค่า 120,000,000 บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาทถ้วน) ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 ชั้นที่ 1-2 เป็นแผนกบริการผู้ป่วยนอก ชั้นที่ 3-4 เป็นฝ่ายอำนวยการ ชั้นที่ 5-9 เป็นห้องผู้ป่วย จำนวน 60 ห้อง ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ตลอดชีวิตของหลวงพ่อได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ และได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือตกทุกข์ได้ยากตลอดมาหลวงพ่อแพ เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของประชาชนทั่วไปได้แผ่บารมีช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ จวบจนท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 รวมสิริอายุ 94 ปี

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 19 ส.ค. 55

รูปปั้นพระเกจิอาจารย์ดัง หลวงพ่อแพ
รูปปั้นพระเกจิอาจารย์ดัง หลวงพ่อแพ

ถูกใจ แชร์

heartkub

รีวิวเมื่อ 1 ต.ค. 53

ป้ายด้านหน้าทางเข้าวัด
ป้ายด้านหน้าทางเข้าวัด

ถูกใจ แชร์

heartkub

รีวิวเมื่อ 1 ต.ค. 53

พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี ขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว
พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี ขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

วัดโบสถ์ วัดโบสถ์ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 5.14 กิโลเมตร

วัดกุฎีทอง วัดกุฎีทอง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.50 กิโลเมตร

วัดอัมพวัน สิงห์บุรี วัดอัมพวัน สิงห์บุรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 5.98 กิโลเมตร

วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 7.80 กิโลเมตร

วัดหน้าพระธาตุ สิงห์บุรี วัดหน้าพระธาตุ สิงห์บุรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.90 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

ปาริดา รีสอร์ท สิงห์บุรี ปาริดา รีสอร์ท สิงห์บุรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 9.27 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

กุ้งเผาทองชุบ กุ้งเผาทองชุบ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 6.03 กิโลเมตร

ผัดไทปากปาง ผัดไทปากปาง (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 8.46 กิโลเมตร