“ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาครหลังปัจจุบันสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นอาคารเก๋งจีน ที่มีความสวยงามกว่าหลังเดิม พร้อมตกแต่งและภายในและนอกอาคารด้วยศิลปะแบบจีน ”
ศาลหลักเมืองสมุทรสาคร เดิมเมืองสมุทรสาครมีแต่ศาลเจ้าหลักเมือง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า ศาลเทพเจ้าจอมเมือง ตั้งอยู่บริเวณต้นศรีมหาโพธิ ด้านหลังที่ว่าการอำเภอหลังเก่า ปัจจุบันไม่มีแล้ว
การสร้างศาลหลักเมืองสมุทรสาครแทนศาลเดิม เกิดเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2460-2461 โดยเจ้าเมืองสมุทรสาคร นายอำเภอเมือง ฯ และกำนันตำบลท่าฉลอม ในปี พ.ศ.2524
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และคณะสงฆ์ ต้องการให้จังหวัดสร้างศาลหลักเมืองขึ้น ได้สรรหาไม้มงคลมาทำเสาหลักเมือง ได้ไม้ชัยพฤกษ์จากอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจากอำเภอน้ำโสมจังหวัดอุดรธานีโดยกองหัตถ์ศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและแกะสลักมีขนาดสูง 2.80 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05 เมตร เสร็จแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดได้นำขึ้นน้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม เมื่อปี พ.ศ.2524 ณ พระตำหนักจิตรลดา ฯ
ส่วนศาลหลักเมือง กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ออกแบบ มีขนาดกว้าง 30.80 เมตร ยาว 30.80 เมตร สูง 19 เมตร ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อปี พ.ศ.2524 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ เสด็จแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดศาลหลักเมือง เมื่อปี พ.ศ.2526
ประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร หรือ เจ้าพ่อวิเชียรโชติ แกะสลักด้วยไม้โพธิ์ มีลักษณะคล้ายองค์พระสยามเทวาธิราช อยู่ในท่าประทับยืนบนเกี้ยว ซึ่งแกะสลักลวดลายงดงามวิจิต
เป็นหนึ่งในที่ไหว้ศาลเจ้าพ่อ ในเทศกาลกินเจทุกปี
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 9 รายการ)
รีวิวเมื่อ 11 ต.ค. 55


รีวิวเมื่อ 11 ต.ค. 55


รีวิวเมื่อ 11 ต.ค. 55


รีวิวเมื่อ 11 ต.ค. 55


รีวิวเมื่อ 11 ต.ค. 55


รีวิวเมื่อ 11 ต.ค. 55

รีวิวเมื่อ 2 ต.ค. 54


รีวิวเมื่อ 2 ต.ค. 54
และได้อัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองไปประดิษฐาน ณ ที่เดียวกัน โดยได้รื้อศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาครทิ้ง ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับชาวสมุทรสาคร
ในขณะนั้นเป็นอย่างมาก โดยเชื่อกันว่า เป็นการทำให้ชาวสมุทรสาครอยู่กันอย่างไม่มีความสุข การค้าขายไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร
ชาวสมุทรสาครจึงลงความเห็นว่า ควรจะสร้างศาลใหม่ขึ้นในที่เดิม และได้อัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองลงมาประดิษฐานยังศาลที่สร้างขึ้นใหม่แห่งนี้
ด้วยแรงร่วมใจของชาวจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งได้ช่วยกันบริจาคทรัพย์สินตามกำลังศรัทธาจนสร้างศาลหลังใหม่นี้สำเร็จลงด้วยดี


รีวิวเมื่อ 2 ต.ค. 54
จากนั้นจึงสร้างเพิงหลังคามุงจากหลังเล็กๆ ให้ผู้คนที่ผ่านไปมาทั้งทางน้ำ และทางบก ได้สักการบูชา เมื่อมีผู้มาบูชาบนบานศาลกล่าว ปรากฏว่ามีหลายคนประสบความสำเร็จสมหวัง จนเป็นที่เลื่องลือของชาวบ้าน ต่อมาได้พร้อมใจกันสร้างศาลเจ้าขนาดใหญ่ขึ้น ตรงบริเวณกำแพงเมืองเก่า ซึ่งใช้เป็นป้อมปราการริมน้ำในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยป้อมแห่งนี้มี พระวิเชียรโชติ นายทหารใหญ่เจ้าเมืองสาครบุรีเป็นผู้ปกครอง และบังคับบัญชาป้อม ต่อมาเมื่อท่านเจ้าเมืองเสียชีวิต ชาวบ้านเล่าว่าวิญญาณของท่านมาสถิต ณ ศาลตรงป้อมปราการแห่งนี้ด้วย
