“พระอุโบสถ มีลักษณะทรวดทรงเหมือนพระอุโบสถของวัดสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังตามแบบศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์”
วัดอัมพวันเจติยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ปากคลองอัมพวาด้านเหนือ เดิมเรียกกันว่า "วัดอัมพวา" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอัมพวันเจติยาราม" มีความหมายว่า "วัดที่มีเจดีย์และมีสวนมะม่วงเป็นที่รื่นรมย์และเกษมสำราญน่าเคารพบูชา" วัดนี้เป็นวัดต้นวงศ์ราชินิกุล โดยสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี (สั้น) พระชนนีในสมเด็จพระอัมรินทรามาตย์ (นาก) ทรงบริจาคที่ดินและสมเด็จพระอัมรินทรามาตย์ได้ทรงรวบรวมพระพี่พระน้องร่วมกันสร้างเป็นวัดขึ้นมา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะใหญ่และทรงสร้างพระปรางค์ เป็นที่บรรจุพระบรมสรีรังคารและพระบรมอัฐิบางส่วนของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมราชชนก นอกจากนี้ยังทรงสร้างพระวิหารและพระที่นั่งทรงธรรมขึ้นอีกด้วย
เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.
การเดินทางไปวัดอัมพวันเจติยาราม
- ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 ถนนพระราม 2 (ถนนธนบุรี-ปากท่อเดิม) ไปถึงหลัก กม.ที่ 63 ชิดซ้ายใช้ทางคู่ขนานต่างระดับ เข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ถึงสี่แยกเลี้ยวขวา เลี้ยวซ้ายข้ามทางรถไฟ เลี้ยวขวาถึงสามแยกไฟแดงเลี้ยวซ้ายวิ่งตรงไปประมาณ 6 กม. ถึงสามแยกอัมพวาชิดซ้ายเข้าอัมพวา วิ่งตรงผ่านตลาดอัมพวา ข้ามสะพานคลองอัมพวา(สะพานเดชาดิศร) ซุ้มประตูวัดทางเข้าอยู่ซ้ายมือ - รถประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้ รถสาย 76 กทม. ดำเนินสะดวก เป็นรถปรับอากาศผ่านจังหวัดจังหวัดสมุทรสงครามถึงตลาดอัมพวา เดินผ่านตลาด ข้ามคลองอัมพวา ตรงไปถึงวัด สาย 967 กทม. สมุทรสงคราม ถึงสถานีขนส่งสมุทรสงคราม ขึ้นรถประจำทางสาย 333 แม่กลอง อัมพวา บางนกแขวก ผ่านหน้าวัด
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 5 รายการ)รีวิวเมื่อ 25 มิ.ย. 55
รีวิวเมื่อ 25 มิ.ย. 55
เดิมเป็นตำหนักไม้ที่ประทับของสมเด็จพระรูปฯ ก่อนรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งทรงธรรม" เพราะสมเด็จพระรูปฯ เมื่อคราวบวชชีได้ทรงฟังธรรมในที่นั้นเป็นประจำ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีรูปทรงดังปรากฏในปัจจุบัน ในคราวบูรณะใหญ่ปี พ.ศ. 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ (สธ) ไว้ที่หน้าบัน
รีวิวเมื่อ 17 เม.ย. 55
อยู่ด้านในพระวิหาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบริเวณสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อบรรจุพระบรมสรีรังคารและพระบรมอัฐิบางส่วนของพระราชชนก
รีวิวเมื่อ 17 เม.ย. 55
ประดิษฐานอยู่ใกล้พระอุโบสถทางด้านหน้าพระวิหาร ทำการหล่อที่กรมศิลปากร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ เสด็จ เททองเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2509 และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกถฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2520
รีวิวเมื่อ 17 เม.ย. 55
มีลักษณะทรวดทรงเหมือนพระอุโบสถของวัดสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เขียนขึ้นตามแบบศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเรื่องราวเกี่ยวกับบทพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ไกรทอง อิเหนาและคาวี ภาพจิตรกรรมบริเวณผนังระหว่างช่องประตูด้านล่าง ซึ่งเป็นภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เป็นส่วนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงลงฝีพระหัตถ์พระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หน้าทหารกลอง และต้นไม้ข้างป้อมริมกำแพง