“วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท สมัยรัชกาลที่ 2 มีพระอุโบสถ และพระประธานสวยงาม เดินทางสะดวก ”
วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลบางผึ้ง อำเภอพระประแดง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ทรงสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 มีพระอุโบสถและพระวิหารที่งดงาม ในพระอุโบสถมีพระประธานปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัย อยู่บนบุษบกยอดปรางค์จตุรมุข ประวัติวัด ตามราชพงศาวดารัชกาลที่ 2 สมเด็จกรมพระยา ดำรงทรงพระนิพนธ์กล่าวถึงวัดนี้ว่า "ในคราวเมื่อสร้างป้อมเมืองสมุทรปราการนั้น ทรงพระ ราชดำริว่าป้อมที่ได้สร้างขึ้นที่เมืองนคร เขื่อนขันธ์แต่ก่อน ยังคงค้างอยู่ไม่สำเร็จบริบูรณ์ จึงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิ พลเสพเป็นแม่กองทำ
การสร้างเมืองนครเขื่อน ขันธ์ที่ยังค้างอยู่ ได้สร้างป้อมขึ้นอีกป้อม หนึ่ง ชื่อ ป้อมเพชรหึง และให้ขุดคลองลัดหลังเมือง นครเขื่อนขันธ์คลองหนึ่ง มาทะลุออกคลองตาลาว คลองลัดที่ขุดใหม่นี้เมื่อขุดนั้น กว้าง 6 วา ลึก 5 ศอกยาว 50 เส้น กรมหมื่นศักดิพล เสพ ทรงสร้างวัดขึ้นในคลองที่ขุดใหม่วัด หนึ่ง พระราชทานนามว่า "วัดไพชยนต์พลเสพ "
พระยาเพชรพิไชย (เกษ) ซึ่งเป็น นายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ สร้างวัดขึ้นอีก วัดหนึ่งตรงข้ามวัดไพชยนต์ฯ ชื่อ วัดโปรดเกศเชษฐาราม ยังเป็นอารามหลวงอยู่จนทุกวันนี้ ทั้ง 2 วัด สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานเกี่ยว กับการตั้งชื่อวัดนี้ว่า ในรัชกาลที่ 2 เห็นจะเรียกว่า "วัดกรมศักดิ์" หรือ "วัดปากลัด" พอถึงรัชกาลที่ 3 คนทั้งหลายก็คงจะเรียกว่า "วัดวัง หน้า" การที่ในพระราชพงศาวดาอ้างว่า นาม "วัดไพชยนต์พลเสพ" นั้น พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย คงจะไม่ได้เป็นผู้ พระราชทานนามนี้ไว้ตั้งแต่แรกสร้าง กรม พระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงพระวินิจฉัยจาก เค้าเงื่อนใน "สารน์สมเด็จ" ว่าผู้ที่พระ ราชทานนามว่า "วัดไพชยนต์พลเสพ" คือ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
เที่ยวได้ทุกวัน หากประสงค์ที่เข้าชมพระประธานในพระอุโบสถต้องติดต่อพระภิกษุ เพราะจะเปิดให้พระอุโบสถในวันสำคัญๆ เท่านั้น
การเดินทาง
ขึ้นสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม หรือสะพานภูมิพล 1 ลง ถนนสุขสวัสดิ์ กลับรถทางไปอ.พระประแดง ประมาณ1 2 กม.วัดอยู่ซ้ายมือ
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 1 รายการ)รีวิวเมื่อ 6 มี.ค. 54
บุษบกยอดปรางค์ นี้ กรมพระราชวังบวรในรัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ มีเรื่องปรากฎว่า เมื่อกรมพระ ราชวังบวรฯ พระองค์นั้นสวรรคตแล้วการพิทักษ์ รักษาในวังหน้าก็หละหลวมถึงผู้ร้ายขึ้นลัก เครื่องบูชาในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบาท สมเด็จพระพุทยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดฯ ให้ อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาไว้ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ปรากฏในจด หมายเหตุครั้งรัชกาลที่ ๓ ว่าตั้งไว้บน ฐานชุกชีทางด้านใต้)
แต่บุษบกยอดปรางค์นั้น ยังตั้งอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จน สิ้นรัชกาลที่ ๑ ครั้นถึงรัชกาลที่ ๒ ได้เชิญพระพุทธสิหิงค์ไปไว้วังหน้า ( จะเอาไปไว้ที่ไหนไม่ปรากฏ) แล้วตั้ง พระที่นั่งเศวตฉัตรในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แทนบุษบกนั้น ถึงรัชกาลที่ ๓ กรมพระราช วังบวรมหาศักดิพลเสพ จึงโปรดฯให้เอายอด ปรางค์นั้นไปตั้งเป็นที่ประดิษฐานพระประธานที่ใน พระอุโบสถวัดไพชยนต์พลเสพ ซึ่งเป็นวัดที่พระ องค์ได้ทรงสร้างขึ้น