“พระสมุทรเจดีย์ พระเจดีย์ริมน้ำ ปากแม่น้ำเจ้าพระยาทางออกสู่ทะเลอ่าวไทย เป็นชุมชนชาวมอญในไทย ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในเขตตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ ”
พระสมุทรเจดีย์ ตามประวัติกล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองจัดสร้างป้อมปราการจำนวน 6 ป้อม ใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งหมด 3 ปีจึงแล้วเสร็จ เมื่อสร้างป้อมเสร็จแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับเจ้าพระยาพระคลัง เป็นผู้อำนวยการสร้างพระเจดีย์ขึ้นที่เกาะหาดทรายท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ เพื่อปกป้องประเทศชาติและพระศาสนา โดยโปรดฯ ให้กรมพระราชวังสถานมงคลมหาศักดิพลเสพ กับพระยาราชสงครามเขียนแบบแผนผังรูปพระเจดีย์ถวาย แล้วทรงเฉลิมพระนามว่า “ พระสมุทรเจดีย์ ”
แต่ยังมิได้ทันก่อสร้างก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีธรรมราชกับเจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองจัดสร้างต่อการก่อสร้างเริ่มเมื่อวันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 (ตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370) แล้วเสร็จเมื่อวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 (ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2371) ลักษณะขององค์พระสมุทรเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลนี้เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง
ต่อมาได้มีผู้ร้ายลักลอบขุดองค์ระฆังลักเอาพระบรมธาตุที่บรรจุอยู่ภายใน สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์ที่กรุงศรีอยุธยามาจัดการก่อสร้างสวมทับพระเจดีย์รูปเดิมไว้ โดยลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลมวัดจากฐานล่างจนถึงยอดสูงสุด 19 วา จากนั้นจึงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ 12 องค์ จากพระบรมมหาราชวังมาบรรจุไว้แทนของเดิมที่สูญหายไป ในการนี้ได้โปรดฯให้สร้างศาลาเก๋งจีน หอเทียน หอระฆัง พระวิหารพร้อมด้วยพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร กับหลักผูกเรือริมน้ำรอบองค์พระสมุทรเจดีย์ ฯลฯ
สิ้นพระราชทรัพย์ในการก่อสร้าง 588 ชั่งเศษ และในรัชกาลต่อมาก็ได้มีการทำนุบำรุง และบูรณะปฏิสังขรณ์พระสมุทรเจดีย์มาโดยตลอด กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระสมุทรเจดีย์เป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2487 และเล่ม 110 ตอนที่ 186 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2536
เปิดให้เข้าชมทุกวัน โดยไม่เสียค่าบริการ
การเดินทาง
รถเมล์ที่ผ่าน สาย 511 (ปอ 11 เดิม) จากสายใต้ใหม่ ไปลงที่ศาลากลางจังหวัด สาย 507 จากสายใต้ใหม่ ไปลงที่ศาลากลางจังหวัด สาย 536 จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปลงที่ศาลากลางจังหวัด สาย 25 จากท่าช้าง ไปลงที่ศาลากลางจังหวัด จากนั้นนั่งเรือข้ามฟาก เรือข้ามฟากในตลาด ค่าบริการท่านละ 3 บาท
ขอบคุณข้อมูลท่องเทียว จาก เว็บไซท์ http://www.ไทยทัวร์.com
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 8 รายการ)รีวิวเมื่อ 14 ก.ค. 56
รีวิวเมื่อ 9 ม.ค. 54
ไปไหว้พระด้วยนะ
รีวิวเมื่อ 9 ม.ค. 54
รีวิวเมื่อ 25 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 25 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 25 ก.ค. 53
รีวิวเมื่อ 25 ก.ค. 53
เป็นเสาที่โคนฝังในดิน มีลักษณะเป็นเสาสี่เหลี่ยม ส่วนเยอดเสาตอนบนทำเป็นเหลี่ยม ฝังไว้รอบองค์พระสมุทรเจดีย์ สันนิษฐานว่าเป็นเสาแสดงเขตองค์พระสมุทรเจดียื ส่วนบนสามารถใช้วางตะเกียงสำหรับชาวเรือที่เดินทางมาที่องค์พระสมุทรเจดีย์ในยามค่ำคืน
เสาหินทราย
เป็นเสาที่โคนฝังในดิน มีลักษณะเป็นเสากลม ฝังไว้รอบองค์พระสมุทรเจดีย์ ประโยชน์ของเสาหินทรายมีไว้เพื่อผูกเรือที่พุทธศาสนิกชนมาสักการะองค์พระสมุทรเจดีย์
รีวิวเมื่อ 25 ก.ค. 53