“ พระพุทธรูปองค์แสน จิตรกรรมฝาผนังทั้งด้านในและด้านนอกวิหาร หอไตร ตัววิหาร เป็นโบราณสถานอายุกว่า 400 ปี ”

วัดโพธิ์ชัยนาพึง มีพระพุทธรูปสำคัญศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพของชาวบ้าน คือ พระเจ้าองค์แสน หรือพระพุทธรูปฝนแสนห่า ตามประวัติเล่าว่า เสด็จมาจากเมืองเชียงแสนด้วยพระองค์เอง มาประดิษฐานอยุ่ที่วัดโพธิ์ชัย โดยมีฆ้องห้อยศอกมา 1 อัน และลูกแก้วเป็นทองสัมฤทธิ์มาด้วย 1 องค์ พร้อมด้วยปืน 1 กระบอก ต่อมาเจ้าเมืองเชียงของทราบข่าวจึงยกขบวนพลช้าง พลม้า เพื่อที่จะอัญเชิญไปเชียงของ แต่ไม่สามารถอัญเชิญไปได้ และเล่ากันต่อมาว่า ถ้าพระพุทธรูปองค์นี้เสด็จไปประดิษฐาน ณ ที่ใด ที่นั้นจะไม่มีการแล้ง จึงได้ชื่อว่าพระพุทธรูปฝนแสนห่า

พระพุทธรูปองค์แสน เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก กว้าง 34 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร เนื้อองค์เป็นทองสัมฤทธิ์ พระสังฆาฏิเป็นทองนาค พอถึงฤดูตรุษสงกรานต์ ชาวบ้านจะนำพระพุทธรูปองค์แสนมาสรงน้ำและทำพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงทุกปี โบสถ์และวิหารที่วัดแห่งนี้ก่อสร้างด้วยฝีมือประณีตภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติต่างๆ กรมศิลปากรได้ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่าทั้งโบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปนั้นมีอายุ 400 ปี นับเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่งของจังหวัดเลย

วัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง ได้ก่อตั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง โดยมีขุนแกนเป็นผู้นำในการก่อสร้างได้รวบรวมคนในพื้นที่ทุกคนร่วมมือกันก่อสร้าง วิหาร โบสถ์ เจดีย์ กำแพงรอบวัด ฯลฯ ก่อด้วยอิฐและฉาบด้วยหินปูน ผสมยางไม้และหนังสัตว์ ที่ได้รับการต้มและเคี่ยวให้เหลว วัดโพธิ์ชัยแห่งนี้ เป็นวัดใหญ่ที่สังเกตเห็นได้ถึงอุโบสถ์สร้างผสมผสานกันระหว่างล้านช้างและล้านนา แล้วยังมีจิตรกรรม

 


เที่ยวได้ตลอดทั้งปี

วัดโพธิ์ชัยนาพึง

แชร์

หมู่ 1 ต.นาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย 42170 แผนที่

รีวิว 20 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,วัด

ปิด

จ.6.00 - 6.30
อ.6.00 - 6.30
พ.6.00 - 6.30
พฤ.6.00 - 6.30
ศ.6.00 - 6.30
ส.6.00 - 6.30
อา.6.00 - 6.30

n/a

https://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/loei/data/place/pic_wat-phochainapueng.htm

42822

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 20 รายการ)

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 21 มี.ค. 59

พระเจ้าองค์แสน เดิมประทับ อยู่ที่เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า ต่อมาได้ย้ายมาประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดลำพูน จากเมืองลำพูน ไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และจากเมืองหลวงพระบาง เสด็จมาประทับที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย ตามประวัติของพระเจ้าองค์แสน ได้เล่าสืบทอดต่อกันมาว่า พระเจ้าองค์แสน เมื่อไปประดิษฐาน ณ ที่แห่งใด จะมีฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เมื่อครั้งที่ พระเจ้าองค์แสน ประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ได้เสด็จมาทางอากาศ ขณะที่เสด็จมานั้นได้นำฆ้องน้อยห้อยที่ศอก และปืนห้อยศอกมาด้วย 1 กระบอก พร้อมกับมีพระพุทธรูปองค์เล็กติดตามมาด้วย 2 องค์ มีชื่อว่า พระเจ้าแก้ว หรือชาวบ้านเรียกว่า ลูกพระเจ้าองค์แสน

เมื่อ พระเจ้าองค์แสน เหาะมาประทับที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ก็เกิดความอัศจรรย์แก่คนในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก และได้นำเอาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ ทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้สร้างพระเจ้าองค์แสนอีกองค์หนึ่ง คู่กับพระเจ้าองค์แสน เรียกชื่อว่า "พระเจ้าองค์แสนเทียม" นอกจากนี้ ยังเชื่ออีกว่า หากแยกพระเจ้าองค์แสน กับพระเจ้าองค์แสนเทียม ออกจากกัน จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ประชาชนเดือดร้อนในอดีตกล่าวกันว่า พระเจ้าองค์แสนเสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง บางครั้งก็เสด็จไปประทับที่อื่นบ้างอยู่เป็นประจำ โดยใช้แก้วที่อยู่พระเกศนำพาเสด็จ แต่เมื่อครั้งที่ไฟไหม้พระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยนาพึง พระเจ้าองค์แสนได้เสด็จออกมาและเกิดเหตุไปชนกับประตูโบสถ์ ทำให้เกศแก้วหัก แก้วที่อยู่บนเกศเสด็จไปอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์ภายในวัด พอถึงวันสำคัญก็จะส่องแสงสว่างไปทั่ววัดเป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาก็หายไป

พระเจ้าองค์แสน ก็ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง บ้านนาพึงตั้งแต่นั้นมา โดยไม่ได้เสด็จไปไหนอีกเลย อภินิหารอย่างหนึ่งของพระเจ้าองค์แสน คือ ทางเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป.ลาว ได้สืบค้นหาพระเจ้าองค์แสน จนทราบว่าท่านได้เสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ทางเจ้าเมืองหลวง พระบาง จึงมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับเมืองหลวงพระบาง โดยจัดขบวนช้างมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับ แต่ไม่สามารถนำกลับไปได้ เนื่องจากช้างไม่ยอมก้าวเดิน จึงต้องอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนประทับอยู่ที่เดิม และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของบ้านนาพึงมาจนถึงทุกวันนี้

จากการสันนิษฐานของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติและผู้รู้บางท่าน ซึ่งได้มีการนำเอารูปถ่ายของเกศในสมัยต่างๆ ไปเปรียบเทียบกับพระเจ้าองค์แสน พบว่า เป็นพระเชียงแสนยุคหลัง เป็นศิลปะลักษณะคล้ายไปทางหลวงพระบาง ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถ้ามองแบบทางสุโขทัยก็เป็นยุคปลายสุโขทัย ข้อมูลนี้บันทึกโดย ปู่ช่วย บ้านนาพึง เรียบเรียงโดย นายอดิเรก คุณศิริ อาสาพัฒนารุ่นที่ 61 มีติดไว้ที่กุฏิเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย พุทธศาสนิกชน ที่มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวเมืองเลย ควรแวะเข้าไปกราบขอพรจาก "พระเจ้าองค์แสน" หรือ "พระเจ้าแสนห่า" พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเลย เพื่อความเป็นสิริมงคล

ที่มา นสฟ ข่าวสด

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 21 มี.ค. 59

พระเจ้าองค์แสน เดิมประทับ อยู่ที่เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า ต่อมาได้ย้ายมาประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดลำพูน จากเมืองลำพูน ไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และจากเมืองหลวงพระบาง เสด็จมาประทับที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย ตามประวัติของพระเจ้าองค์แสน ได้เล่าสืบทอดต่อกันมาว่า พระเจ้าองค์แสน เมื่อไปประดิษฐาน ณ ที่แห่งใด จะมีฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เมื่อครั้งที่ พระเจ้าองค์แสน ประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ได้เสด็จมาทางอากาศ ขณะที่เสด็จมานั้นได้นำฆ้องน้อยห้อยที่ศอก และปืนห้อยศอกมาด้วย 1 กระบอก พร้อมกับมีพระพุทธรูปองค์เล็กติดตามมาด้วย 2 องค์ มีชื่อว่า พระเจ้าแก้ว หรือชาวบ้านเรียกว่า ลูกพระเจ้าองค์แสน

เมื่อ พระเจ้าองค์แสน เหาะมาประทับที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ก็เกิดความอัศจรรย์แก่คนในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก และได้นำเอาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ ทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้สร้างพระเจ้าองค์แสนอีกองค์หนึ่ง คู่กับพระเจ้าองค์แสน เรียกชื่อว่า "พระเจ้าองค์แสนเทียม" นอกจากนี้ ยังเชื่ออีกว่า หากแยกพระเจ้าองค์แสน กับพระเจ้าองค์แสนเทียม ออกจากกัน จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ประชาชนเดือดร้อนในอดีตกล่าวกันว่า พระเจ้าองค์แสนเสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง บางครั้งก็เสด็จไปประทับที่อื่นบ้างอยู่เป็นประจำ โดยใช้แก้วที่อยู่พระเกศนำพาเสด็จ แต่เมื่อครั้งที่ไฟไหม้พระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยนาพึง พระเจ้าองค์แสนได้เสด็จออกมาและเกิดเหตุไปชนกับประตูโบสถ์ ทำให้เกศแก้วหัก แก้วที่อยู่บนเกศเสด็จไปอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์ภายในวัด พอถึงวันสำคัญก็จะส่องแสงสว่างไปทั่ววัดเป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาก็หายไป

พระเจ้าองค์แสน ก็ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง บ้านนาพึงตั้งแต่นั้นมา โดยไม่ได้เสด็จไปไหนอีกเลย อภินิหารอย่างหนึ่งของพระเจ้าองค์แสน คือ ทางเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป.ลาว ได้สืบค้นหาพระเจ้าองค์แสน จนทราบว่าท่านได้เสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ทางเจ้าเมืองหลวง พระบาง จึงมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับเมืองหลวงพระบาง โดยจัดขบวนช้างมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับ แต่ไม่สามารถนำกลับไปได้ เนื่องจากช้างไม่ยอมก้าวเดิน จึงต้องอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนประทับอยู่ที่เดิม และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของบ้านนาพึงมาจนถึงทุกวันนี้

จากการสันนิษฐานของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติและผู้รู้บางท่าน ซึ่งได้มีการนำเอารูปถ่ายของเกศในสมัยต่างๆ ไปเปรียบเทียบกับพระเจ้าองค์แสน พบว่า เป็นพระเชียงแสนยุคหลัง เป็นศิลปะลักษณะคล้ายไปทางหลวงพระบาง ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถ้ามองแบบทางสุโขทัยก็เป็นยุคปลายสุโขทัย ข้อมูลนี้บันทึกโดย ปู่ช่วย บ้านนาพึง เรียบเรียงโดย นายอดิเรก คุณศิริ อาสาพัฒนารุ่นที่ 61 มีติดไว้ที่กุฏิเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย พุทธศาสนิกชน ที่มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวเมืองเลย ควรแวะเข้าไปกราบขอพรจาก "พระเจ้าองค์แสน" หรือ "พระเจ้าแสนห่า" พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเลย เพื่อความเป็นสิริมงคล

ที่มา นสฟ ข่าวสด

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

ประวัติ
พระเจ้าองค์แสน เดิมประทับ อยู่ที่เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า ต่อมาได้ย้ายมาประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดลำพูน จากเมืองลำพูน ไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และจากเมืองหลวงพระบาง เสด็จมาประทับที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย
ตามประวัติของพระเจ้าองค์แสน ได้เล่าสืบทอดต่อกันมาว่า พระเจ้าองค์แสน เมื่อไปประดิษฐาน ณ ที่แห่งใด จะมีฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เมื่อครั้งที่ พระเจ้าองค์แสน ประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ได้เสด็จมาทางอากาศ ขณะที่เสด็จมานั้นได้นำฆ้องน้อยห้อยที่ศอก และปืนห้อยศอกมาด้วย 1 กระบอก พร้อมกับมีพระพุทธรูปองค์เล็กติดตามมาด้วย 2 องค์ มีชื่อว่า พระเจ้าแก้ว หรือชาวบ้านเรียกว่า ลูกพระเจ้าองค์แสน

เมื่อ พระเจ้าองค์แสน เหาะมาประทับที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ก็เกิดความอัศจรรย์แก่คนในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก และได้นำเอาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ ทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้สร้างพระเจ้าองค์แสนอีกองค์หนึ่ง คู่กับพระเจ้าองค์แสน เรียกชื่อว่า 'พระเจ้าองค์แสนเทียม' นอกจากนี้ ยังเชื่ออีกว่า หากแยกพระเจ้าองค์แสน กับพระเจ้าองค์แสนเทียม ออกจากกัน จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ประชาชนเดือดร้อน

ในอดีตกล่าวกันว่า พระเจ้าองค์แสนเสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง บางครั้งก็เสด็จไปประทับที่อื่นบ้างอยู่เป็นประจำ โดยใช้แก้วที่อยู่พระเกศนำพาเสด็จ แต่เมื่อครั้งที่ไฟไหม้พระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยนาพึง พระเจ้าองค์แสนได้เสด็จออกมาและเกิดเหตุไปชนกับประตูโบสถ์ ทำให้เกศแก้วหัก แก้วที่อยู่บนเกศเสด็จไปอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์ภายในวัด พอถึงวันสำคัญก็จะส่องแสงสว่างไปทั่ววัดเป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาก็หายไป

พระเจ้าองค์แสนก็ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง บ้านนาพึงตั้งแต่นั้นมา โดยไม่ได้เสด็จไปไหนอีกเลย อภินิหารอย่างหนึ่งของพระเจ้าองค์แสน คือ ทางเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป.ลาว ได้สืบค้นหาพระเจ้าองค์แสน จนทราบว่าท่านได้เสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ทางเจ้าเมืองหลวง พระบาง จึงมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับเมืองหลวงพระบาง โดยจัดขบวนช้างมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับ แต่ไม่สามารถนำกลับไปได้ เนื่องจากช้างไม่ยอมก้าวเดิน จึงต้องอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนประทับอยู่ที่เดิม และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของบ้านนาพึงมาจนถึงทุกวันนี้

จากการสันนิษฐานของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติและผู้รู้บางท่าน ซึ่งได้มีการนำเอารูปถ่ายของเกศในสมัยต่างๆ ไปเปรียบเทียบกับพระเจ้าองค์แสน พบว่า เป็นพระเชียงแสนยุคหลัง เป็นศิลปะลักษณะคล้ายไปทางหลวงพระบาง ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถ้ามองแบบทางสุโขทัยก็เป็นยุคปลายสุโขทัย ข้อมูลนี้บันทึกโดย ปู่ช่วย บ้านนาพึง เรียบเรียงโดย นายอดิเรก คุณศิริ อาสาพัฒนารุ่นที่ 61 มีติดไว้ที่กุฏิเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย พุทธศาสนิกชน ที่มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวเมืองเลย ควรแวะเข้าไปกราบขอพรจาก 'พระเจ้าองค์แสน' หรือ 'พระเจ้าแสนห่า' พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเลย เพื่อความเป็นสิริมงคล
ประวัติ
พระเจ้าองค์แสน เดิมประทับ อยู่ที่เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า ต่อมาได้ย้ายมาประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดลำพูน จากเมืองลำพูน ไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และจากเมืองหลวงพระบาง เสด็จมาประทับที่วัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย 
ตามประวัติของพระเจ้าองค์แสน ได้เล่าสืบทอดต่อกันมาว่า พระเจ้าองค์แสน เมื่อไปประดิษฐาน ณ ที่แห่งใด จะมีฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เมื่อครั้งที่ พระเจ้าองค์แสน ประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ได้เสด็จมาทางอากาศ ขณะที่เสด็จมานั้นได้นำฆ้องน้อยห้อยที่ศอก และปืนห้อยศอกมาด้วย 1 กระบอก พร้อมกับมีพระพุทธรูปองค์เล็กติดตามมาด้วย 2 องค์ มีชื่อว่า พระเจ้าแก้ว หรือชาวบ้านเรียกว่า ลูกพระเจ้าองค์แสน 

เมื่อ พระเจ้าองค์แสน เหาะมาประทับที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ก็เกิดความอัศจรรย์แก่คนในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก และได้นำเอาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ ทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้สร้างพระเจ้าองค์แสนอีกองค์หนึ่ง คู่กับพระเจ้าองค์แสน เรียกชื่อว่า 'พระเจ้าองค์แสนเทียม' นอกจากนี้ ยังเชื่ออีกว่า หากแยกพระเจ้าองค์แสน กับพระเจ้าองค์แสนเทียม ออกจากกัน จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ประชาชนเดือดร้อน

ในอดีตกล่าวกันว่า พระเจ้าองค์แสนเสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง บางครั้งก็เสด็จไปประทับที่อื่นบ้างอยู่เป็นประจำ โดยใช้แก้วที่อยู่พระเกศนำพาเสด็จ แต่เมื่อครั้งที่ไฟไหม้พระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยนาพึง พระเจ้าองค์แสนได้เสด็จออกมาและเกิดเหตุไปชนกับประตูโบสถ์ ทำให้เกศแก้วหัก แก้วที่อยู่บนเกศเสด็จไปอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์ภายในวัด พอถึงวันสำคัญก็จะส่องแสงสว่างไปทั่ววัดเป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาก็หายไป 

พระเจ้าองค์แสนก็ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง บ้านนาพึงตั้งแต่นั้นมา โดยไม่ได้เสด็จไปไหนอีกเลย อภินิหารอย่างหนึ่งของพระเจ้าองค์แสน คือ ทางเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป.ลาว ได้สืบค้นหาพระเจ้าองค์แสน จนทราบว่าท่านได้เสด็จมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยนาพึง ทางเจ้าเมืองหลวง พระบาง จึงมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับเมืองหลวงพระบาง โดยจัดขบวนช้างมาอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนกลับ แต่ไม่สามารถนำกลับไปได้ เนื่องจากช้างไม่ยอมก้าวเดิน จึงต้องอัญเชิญพระเจ้าองค์แสนประทับอยู่ที่เดิม และเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของบ้านนาพึงมาจนถึงทุกวันนี้

จากการสันนิษฐานของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติและผู้รู้บางท่าน ซึ่งได้มีการนำเอารูปถ่ายของเกศในสมัยต่างๆ ไปเปรียบเทียบกับพระเจ้าองค์แสน พบว่า เป็นพระเชียงแสนยุคหลัง เป็นศิลปะลักษณะคล้ายไปทางหลวงพระบาง ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถ้ามองแบบทางสุโขทัยก็เป็นยุคปลายสุโขทัย ข้อมูลนี้บันทึกโดย ปู่ช่วย บ้านนาพึง เรียบเรียงโดย นายอดิเรก คุณศิริ อาสาพัฒนารุ่นที่ 61 มีติดไว้ที่กุฏิเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยนาพึง อ.นาแห้ว จ.เลย พุทธศาสนิกชน ที่มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวเมืองเลย ควรแวะเข้าไปกราบขอพรจาก 'พระเจ้าองค์แสน' หรือ 'พระเจ้าแสนห่า' พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเลย เพื่อความเป็นสิริมงคล

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

พระพุทธรูปองค์ดำในศาลากลางแจ้ง...ผมไม่ทราบประวัติครับ
พระพุทธรูปองค์ดำในศาลากลางแจ้ง...ผมไม่ทราบประวัติครับ

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

ดูเหมือนเสาหลักเมือง แต่ผมไม่รู้ประวัติครับ
ทราบเพียงว่า ที่วัดนี้มีประวัติเกิดมาก่อนสร้างหมู่บ้านนาพึงเสียอีก...
ดูเหมือนเสาหลักเมือง แต่ผมไม่รู้ประวัติครับ
ทราบเพียงว่า ที่วัดนี้มีประวัติเกิดมาก่อนสร้างหมู่บ้านนาพึงเสียอีก...

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

หอกลอง...
หอกลอง...

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

หอไตร หรือหอพระไตรปิฎก
ส่วนใหญ่สร้างไว้บนบก บางแห่งขังน้ำล้อมรอบ เพื่อป้องกันปลวก เป็นอาคารทรงสูง ใต้ถุนโปร่ง หรือทึบ ส่วนใหญ่ทำบันไดไว้ด้านนอก แต่บางแห่งใช้บันไดพาดขึ้นทางด้านใน รูปทรงทั่วไปคล้ายคลึงกับอุโบสถ หรือวิหาร แต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น หอไตรวัดโพธิชัย บ้านนาพึง และวัดศรีโพธิชัย บ้านแสงภา อำเภอนาแห้ว ซึ่งมีลักษณะพิเศษ เป็นหลังคาสองชั้น มีลวดลายฉลุโปร่ง ตกแต่งสวย
หอไตร  หรือหอพระไตรปิฎก
ส่วนใหญ่สร้างไว้บนบก บางแห่งขังน้ำล้อมรอบ เพื่อป้องกันปลวก เป็นอาคารทรงสูง ใต้ถุนโปร่ง หรือทึบ ส่วนใหญ่ทำบันไดไว้ด้านนอก แต่บางแห่งใช้บันไดพาดขึ้นทางด้านใน รูปทรงทั่วไปคล้ายคลึงกับอุโบสถ หรือวิหาร แต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น หอไตรวัดโพธิชัย บ้านนาพึง และวัดศรีโพธิชัย บ้านแสงภา อำเภอนาแห้ว ซึ่งมีลักษณะพิเศษ เป็นหลังคาสองชั้น มีลวดลายฉลุโปร่ง ตกแต่งสวย

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

พวกกะเรกะร่อน กล้วยไม้ป่า มีให้เห็นอยู่ตามต้นไม้ภายในวัด
พวกกะเรกะร่อน กล้วยไม้ป่า มีให้เห็นอยู่ตามต้นไม้ภายในวัด

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

จิตรกรรมฝาผนังในวิหารมีให้เห็นทุกด้าน
ลักษณะของลายเส้นและการใช้สีบ่งบอกถึงความมีอิสระและเป็นศิลปะพื้นถิ่นอย่างแท้จริง
จิตรกรรมฝาผนังในวิหารมีให้เห็นทุกด้าน 
ลักษณะของลายเส้นและการใช้สีบ่งบอกถึงความมีอิสระและเป็นศิลปะพื้นถิ่นอย่างแท้จริง

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

วิหารหลังเล็กใกล้ตัววิหารหลัก
วิหารหลังเล็กใกล้ตัววิหารหลัก

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

จิตกรรมฝาผนัง ส่วนนี้อยู่ในวิหารด้านใน
เกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติ และพระเวสสันดรชาดก
จิตกรรมฝาผนัง ส่วนนี้อยู่ในวิหารด้านใน
เกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติ และพระเวสสันดรชาดก

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

เรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติและวรรณกรรมท้องถิ่นที่ผนังด้านทิศเหนือมีจารึกว่าภาพเขียนดังกล่าวเขียนขึ้นเมื่อจุลศักราช 1214 ตรงกับ พ.ศ. 2395 ตรงกับช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและที่ด้านนอกพระอุโบสถหลังเดียวกันนี้ยังมีภาพจิตรกรรม ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยหลังคือเมื่อปี พ.ศ. 2459 นับเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่งแห่งหนึ่งของจังหวัดเลย และกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์ชัยเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530
เรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติและวรรณกรรมท้องถิ่นที่ผนังด้านทิศเหนือมีจารึกว่าภาพเขียนดังกล่าวเขียนขึ้นเมื่อจุลศักราช 1214 ตรงกับ พ.ศ. 2395 ตรงกับช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและที่ด้านนอกพระอุโบสถหลังเดียวกันนี้ยังมีภาพจิตรกรรม ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยหลังคือเมื่อปี พ.ศ. 2459 นับเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่งแห่งหนึ่งของจังหวัดเลย และกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์ชัยเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

จิตกรรม ด้านนอกอาราม (วิหาร)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ เนมิราชชาดก สังข์ศิลป์ชัย และการะเกต
จิตกรรม ด้านนอกอาราม (วิหาร)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ เนมิราชชาดก สังข์ศิลป์ชัย และการะเกต

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

จิตกรรมบนกำแพงประตู
จิตกรรมบนกำแพงประตู

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

วิหารเก่า...ในมุมย้อนแสงนิดหน่อย
มีความผสมผสานระหว่างล้านช้างและล้านนา
วิหารเก่า...ในมุมย้อนแสงนิดหน่อย
มีความผสมผสานระหว่างล้านช้างและล้านนา

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

สิม...ทางเข้าวิหาร
ที่ประตูมีทั้งสามทิศมีสัตว์หิมพานต์เฝ้าอยู่ด้านละ 1 คู่
สิม...ทางเข้าวิหาร
ที่ประตูมีทั้งสามทิศมีสัตว์หิมพานต์เฝ้าอยู่ด้านละ 1 คู่

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 28 ก.ค. 55

พระเจ้าฝนแสนห่า ประดิษฐานอยู่ในกุฏิเจ้าอาวาส สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 24 นิ้ว รอบอก 23 นิ้ว พระเจ้าองค์แสนเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ในวัดโพธิ์ชัยบ้านนาพึง ตามคำสันนิฐานของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และท่านผู้รู้บางท่านซึ่งได้นำรูปถ่ายไป เปรียบเทียบกับสมัยต่างๆ เป็นพระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นหลัง มีศิลปะคล้ายคลึงไปทางหลวงพระบาง ต้นพระพุทธศตวรรษที่ 20 (พ.ศ.2000) ถ้ามองดูผิวเผินมีลักษณะคล้ายไปทางสุโขทัยยุคปลาย และอู่ทอง
พระเจ้าฝนแสนห่า ประดิษฐานอยู่ในกุฏิเจ้าอาวาส สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 24 นิ้ว รอบอก 23 นิ้ว พระเจ้าองค์แสนเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ในวัดโพธิ์ชัยบ้านนาพึง ตามคำสันนิฐานของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และท่านผู้รู้บางท่านซึ่งได้นำรูปถ่ายไป เปรียบเทียบกับสมัยต่างๆ เป็นพระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นหลัง มีศิลปะคล้ายคลึงไปทางหลวงพระบาง ต้นพระพุทธศตวรรษที่ 20 (พ.ศ.2000) ถ้ามองดูผิวเผินมีลักษณะคล้ายไปทางสุโขทัยยุคปลาย และอู่ทอง

ถูกใจ แชร์

heartkub

รีวิวเมื่อ 18 ต.ค. 53

ธรรมาสน์ทรงปราสาท (ขวามือขององค์พระ)
เป็นธรรมาสน์อีกแบบหนึ่งที่นิยมสร้างให้วิจิตรพิศดาร มีทั้งในพระอุโบสถ และในศาลาการเปรียญ และที่อยู่นอกอุโบสถ ใช้ทั้งสวดปาฏิโมกข์และเทศนา ส่วนที่อยู่นอกอุโบสถจะใช้เฉพาะในการเทศน์เท่านั้น ธรรมาสน์ทรงปราสาทมีการจัดสร้างขึ้นตามกำลังศรัทธาเช่นเดียวกัน ธรรมาสน์ ทรงปราสาทหลังนี้ ไม้ที่แกะสลักค่อนข้างอ่อนช้อยสวยงาม ลงรักปิดทอง แต่หมู่บัวขนุนที่ชานรับ ธรรมมาสน์ทรงปราสาท ซุ้มมายอดปราสาท บนมุมบรรจบมีนาคแกะสลักและลวดลายตามขอบชั้นต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ตอบได้ถึงลายผสมไทยลาวได้ดี
ธรรมาสน์ทรงปราสาท (ขวามือขององค์พระ)
เป็นธรรมาสน์อีกแบบหนึ่งที่นิยมสร้างให้วิจิตรพิศดาร มีทั้งในพระอุโบสถ และในศาลาการเปรียญ และที่อยู่นอกอุโบสถ ใช้ทั้งสวดปาฏิโมกข์และเทศนา ส่วนที่อยู่นอกอุโบสถจะใช้เฉพาะในการเทศน์เท่านั้น ธรรมาสน์ทรงปราสาทมีการจัดสร้างขึ้นตามกำลังศรัทธาเช่นเดียวกัน ธรรมาสน์ ทรงปราสาทหลังนี้  ไม้ที่แกะสลักค่อนข้างอ่อนช้อยสวยงาม ลงรักปิดทอง แต่หมู่บัวขนุนที่ชานรับ ธรรมมาสน์ทรงปราสาท ซุ้มมายอดปราสาท   บนมุมบรรจบมีนาคแกะสลักและลวดลายตามขอบชั้นต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ตอบได้ถึงลายผสมไทยลาวได้ดี

ถูกใจ แชร์

heartkub

รีวิวเมื่อ 18 ต.ค. 53

พระประธานในวิหาร
พระประธานในวิหาร

ถูกใจ แชร์

heartkub

รีวิวเมื่อ 18 ต.ค. 53

เจดีย์โบราณและวิหาร...ที่มีจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 3 ด้าน
วิหาร เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐถือปูนหันหน้าไปทางทิศเหนือ มีประตูทางเข้า 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันตก ประตุทั้ง 3 ทิศ มีสัตว์หิมพานต์เฝ้าอยู่ ด้านละ 1 คู่ ส่วนผนังด้านทิศใต้ก่อทึบ หลังคาทรงจั่วมุงด้วยไม้แป้นเกล็ด มีชายคาปีกนก โดยรอบรองด้วยเสาไม้หลังคาวิหารคลุมต่ำมาก ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของอาคาท้องถิ่นจังหวัดเลยและยังช่วยป้องกันภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกด้วย
เจดีย์โบราณและวิหาร...ที่มีจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 3 ด้าน
วิหาร เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐถือปูนหันหน้าไปทางทิศเหนือ มีประตูทางเข้า 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันตก ประตุทั้ง 3 ทิศ มีสัตว์หิมพานต์เฝ้าอยู่ ด้านละ 1 คู่ ส่วนผนังด้านทิศใต้ก่อทึบ หลังคาทรงจั่วมุงด้วยไม้แป้นเกล็ด มีชายคาปีกนก โดยรอบรองด้วยเสาไม้หลังคาวิหารคลุมต่ำมาก ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของอาคาท้องถิ่นจังหวัดเลยและยังช่วยป้องกันภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกด้วย

ถูกใจ แชร์

โรงแรมใกล้เคียง

ทัศนีย์ รีสอร์ท เลย ทัศนีย์ รีสอร์ท เลย (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 7.65 กิโลเมตร

เบิ่งภู ฟาร์มสเตย์ เบิ่งภู ฟาร์มสเตย์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 10.19 กิโลเมตร