“เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน ชมสัตว์ป่าชายเลนหลายชนิด เช่น ลิมแสม ปูก้ามดาบ นกกระเต็น ฯลฯ”
ศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาว อยู่ห่างจากตัวเมืองระนองประมาณ 15 กิโลเมตร ป่าชายเลนหงาวเป็นแหล่งเกิดและเติบโตของสัตว์ทะเลนานาชนิด ก่อนที่จะแข็งแรงและอาศัยหากินในทะเล ที่ศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาวได้จัดเจ้าหน้าที่ไว้นำชมธรรมชาติ ทั้งพรรณไม้ป่าและสัตว์ป่า
การทัศนศึกษาในเขตป่าชายเลนนี้ ต้องทำจดหมายถึงหัวหน้าศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาว หมู่ที่ 4 บ้านล่าง ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง 85000 หรือสำนักงานป่าไม้จังหวัด โทร. 077-848392
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 6 รายการ)
รีวิวเมื่อ 9 มิ.ย. 55
ดังนั้นเราไม่ควรสนับสนุนอย่างยิ่ง...


รีวิวเมื่อ 9 มิ.ย. 55


รีวิวเมื่อ 9 มิ.ย. 55
เป็นลิงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้แทบทุกภูมิประเทศ ทั้งในป่าชายเลนใกล้ทะเล โดยลิงฝูงที่อาศัยในที่นี่จะว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง เคยมีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 50 เมตร หากินสัตว์ทะเลขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น กุ้ง, ปู หรือ หอย แต่บางครั้งก็พบอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นและพื้นที่สูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล หรือพื้นที่เกษตรกรรมด้วยซึ่งมันมักจะทำลายผลิตผลทางการเกษตร ลิงแสมพยายามจะปรับตัวให้สามารถอยู่ในพื้นที่บริเวณขอบนอกของป่า มากกว่าอยู่ในป่าลึก และสามารถปรับตัวในเข้ากับมนุษย์ได้ในบางโอกาส ดั่งที่มักพบเห็นทั่วไปตามเมืองใหญ่ อาทิ ศาลพระกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หรือ ศาลเจ้าแม่เขาสามมุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นต้น ซึ่งมักจะอยู่เป็นฝูงใหญ่ อาจมีสมาชิกในฝูงได้ถึง 200 ตัว โตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ราว 3-4 ปี ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกที่มีอายุน้อยจะเกาะติดแม่เสมอ และจัดเป็นลิงอีกชนิดหนึ่งที่หากเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็ก ก็สามารถนำมาฝึกหัดให้เชื่องได้เหมือนลิงกัง


รีวิวเมื่อ 9 มิ.ย. 55
ผลมีรูปไข่กลับยาว 2-3 ซม. สีน้ำตาลคล้ำ ผิวค่อนข้างขรุขระ เมล็ดงอกได้ในขณะที่ผลยังติดอยู่กับต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียงโค้งเล็กน้อย ยาว 30-40 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.2 ซม. มีขนาดโตขึ้นที่ส่วนปลาย ผิวเป็นมัน สีเขียวหรือเขียวอมม่วง ค่อนข้างเรียบหรือมีตุ่มขรุขระกระจัดกระจาย[1] เมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นจะปักลงในดิน

รีวิวเมื่อ 9 มิ.ย. 55
ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทางตั้งฉาก ใบคู่ล่างๆ จะร่วงไปเหลือแต่คู่ใบ 2-4 คู่ เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-18 ซม. ปลายแหลมหรือเป็นติ่งแหลมเล็กยาว แข็ง สีดำ โคนรูปลิ่ม เส้นกลางใบด้านล่างสีแดงเรื่อๆ หรือชมพูอมแดง เส้นแขนงใบปรากฏรางๆ แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 1.5-3.5 ซม. มักมีสีแดงเรื่อๆ หูใบแคบ ปลายแหลมยาวประกบกันเป็นคู่ระหว่างคู่ใบ เห็นได้ชัดที่ปลายกิ่ง ยาว 4-9 ซม. สีชมพู ร่วงง่าย ใบเล็กกว่าโกงกางใบใหญ่


รีวิวเมื่อ 9 มิ.ย. 55
