“พระธาตุยโสธร(พระธาตุอานนท์) และหอไตร”
วัดมหาธาตุยโสธร ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง เป็นวัดคู่ยโสธรมาตั้งแต่สร้างเมือง (บ้านท่าสิงห์เดิม)
โบราณสถาน ที่สำคัญในวัดมี 2 แห่ง คือ
- พระธาตุยโสธร(พระธาตุอานนท์) และ
- หอไตร พระธาตุอานนท์
วัดมหาธาตุ มีเจดีย์เก่าสมัยขอม อยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) ประมาณหลักกม.ที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กม. พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยา ตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง
พระธาตุยโสถร (พระธาตุอานนท์) ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์
นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝน จะแล้งในปีนั้น เรียกกันว่า พระแก้วหยดน้ำค้าง (หรือพระพุทธบุษยรัตน์)เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของยโสธรที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธรคนแรก
หอไตร เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานของวัด ตั้งอยู่ตรงกลางสระทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลี่ยงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจาก เวียงจันทน์ มีซุ้มประตู และบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม มีลวดลายการตกแต่ง ฝาผนัง ซึ่งเป็น ลักษณะผสมแบบภาคกลางทำให้กล่าวได้ว่า หอไตรน่าจะสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์
เที่ยวได้ตลอดทั้งปี
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 9 รายการ)รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
สร้างด้วยไม้ หันหน้าไปทางทิศใต้ มีหลังคา 2 ชั้น หุ้มด้วยปีกนกหนึ่งชั้น มุงด้วยกรเบื้องดินเผา ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวย ที่แสดงถึงการผสมผสานระหว่างศิลปะลาว (ล้านช้าง) กัลศิลปะภาคกลาง รัตนโกสินทร์
รีวิวเมื่อ 10 มิ.ย. 56
รีวิวเมื่อ 2 พ.ย. 53
รีวิวเมื่อ 2 พ.ย. 53
ชาวยโสธรนับถือว่าเป็นเจดีย์บรรจุพระสรีรธาตุพระอานนท์ มีประวัติว่า ชาวเวียงจันทร์ 2 คน คือ เจตตา นวิน ลูกผู้พี่ และจินดาชานุ ลูกผู้น้อง อุปสมบทได้ 30 ปี เมือออกเดินธุดงค์ไปถึงเมืองเทวทหะ เห็นชาวเมืองกำลังซ่อมแซม พระสถูปซึ่งบรรจุพระสรีธาตุ ของพระอานนท์เถระ และรื้ออัฐิธาตุออกตรวจดูจึงได้ขอแบ่งส่วนผงธุลีประมาณ 1 เปลือกไข่นกกระเรียน และกระดูเท่าดอกสังวาลย์นำกลับไปตั้งใจจะสร้างเจดีย์ไว้ที่เวียงจันทร์ แต่ชาวบ้านว่าผิดประเพณีโบราณจึ่งไล่ท่านทั้งสองหนีไปอาศัยอยู่กับชาวขอม 3 ปี จึงได้สร้างพระธาตุขึ้นเมืองประมาณ ปี พ.ศ. 1238