“ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระศรีศาสดา พระชินสีห์ พระเหลือ และพระอัฏฐารส ”
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร คนพิษณุโลกรือคนสองแควส่วนใหญ่จะเรียกว่า "วัดใหญ่" อย่างติดปาก พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานในวิหาร คือ พระพุทธชินราช ชาวเมืองพิษณุโลกก็นิยมเรียกกันว่า หลวงพ่อ ซึ่งหมายถึง พระพุทธชินราช นั่นเอง
วัดใหญ่นับเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของจังหวัด เพราะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวเมืองและชาวไทยทั้งประเทศ ตั้งอยู่ที่ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเมื่อปี พ.ศ. 1900 ภายในวัดสิ่งโบราณสถานโบราณวัตถุล้ำค่ามากมาย อาทิ
พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว และสูง 7 ศอก ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศ เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคุลี ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร (ลำตัวคล้ายมังกร มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และตัวเหรา (คล้ายจระเข้) อยู่ตรงกลาง และมีเทพอสุราคอยปกป้ององค์พระอยู่ 2 องค์ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ วัดสุทัศน์เทพวราราม และวัดบวรนิเวศวิหาร ตามลำดับ
บานประตูประดับมุก ที่ทางเข้าพระวิหารด้านหน้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2299 เป็นฝีมือช่างหลวงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมโกศ
- ตรงกลางประตูมีสันอกเลาประดับลวดลายพุ่มข้าวบิณฑ์ สองข้างเป็นลายกนกก้านแย่ง
- ช่วงกลางอกเลามีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เรียกว่า นมอกเลา เป็นรูปบุษบก มีรูปพระอุณาโลมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ประดิษฐานบนบัลลังก์อยู่ในบุษบก
- สองข้างเป็นรูปชุมสายซึ่งเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตรสามชั้น
- ใต้ฐานบุษบกมีหนุมานแบกฐานไว้ ส่วนเชิงล่างของอกเลาทำเป็นรูปกุมภัณฑ์ยืนถือกระบองท่าสำแดงฤทธิ์
- ส่วนลวดลายบานประตูเป็นลายกนกที่มีภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ เหมราช ครุฑ กินรีรำ และภาพสัตว์อื่น ๆ และ
- ยังมีลาย อีแปะ ด้านละ 9 วงมัดนกหูช้างประกอบช่องไฟระหว่างวงกลม หรือวงกลมเป็นลายกรุยเชิง มีลายประจำยามก้ามปูประดับขอบรอบบานประตู
- เดิมบานประตูวิหารพระพุทธชินราชทำด้วยไม้สักแกะสลัก เมื่อทำบานประตูประดับมุกเสร็จแล้ว บานประตูเก่าได้นำไปประดับประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- พระเหลือ พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา มารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก เรียกว่า พระเหลือ และพระสาวกยืนอีก 2 องค์
- ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองได้นำมารวมกันบนฐานชุกชี พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นหนึ่งหลัง อัญเชิญพระเหลือกับพระสาวกไปประดิษฐาน เรียกว่า วิหารพระเหลือ
- พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติด้านหลังพระวิหาร สูง 18 ศอก สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ราว พ.ศ. 1811 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3-4 ต้น เรียกว่า เนินวิหารเก้าห้อง
- พระปรางค์ประธาน ศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัยแท้ ต่อมาถูกแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา
- วิหารแกลบ พระเจ้าเข้านิพพาน เป็นโบราณวัตถุสมัยอยุธยา นับว่าเป็นชิ้นสำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาวรวิหาร ถือว่าเป็นการจำลองสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า คาดว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นหีบบรรจุพระบรมศพ ทำด้วยศิลาตั้งอยู่บนจิตราการ ประดับด้วยลวดลายลงรักปิดร่องกระจกสวยงาม ที่ปลายหีบมีพระบาททั้งสองยื่นออกมา และบริเวณด้านหน้า หรือด้านท้าย หีบพระบรมศพ มีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพ
เวลาเปิดทำการ : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เวลา 6.30-18.00 น.
ส่วนพิพิธภัณฑ์ในวัดเปิดเวลา 8.30-16.30 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร 055-259414 ,055-259430
ททท.สำนักงานพิษณุโลก(พิษณุโลก,เพชรบูรณ์,พิจิตร) 055-259907, 055-252742-3
ททท.Call Center 1672
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 16 รายการ)
รีวิวเมื่อ 26 ส.ค. 55


รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55


รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55
เพียงประมาณ 10,000 แผ่นเท่านั้น ทางวัดจึงกำหนดให้สามารถเช่าได้คนละไม่เกิน 3 ชิ้น ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สามารถนำชิ้นนพเก้าไปบูชาเพื่อความเป็น สิริมงคลอย่างทั่วถึงกัน สำหรับราคาในการบูชานั้น ชิ้นนพเก้าเกรดเอ ราคา 1,299 บาท เกรดดี ราคา 999 บาท....

รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55


รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55

รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55
พระสารีริกธาตุ ที่ทางวัดจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ขึ้นไปสักการะเพียงปีละ 1 ครั้ง ในงานสมโภชพระพุทธชินราชเท่านั้น


รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55


รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55


รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55


รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55


รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55
กระเบื้องโมเสคทอง (Gold Masaic) หรือทองนพเก้า ที่ถอดออกจากกลีบขนุนชั้นวัดประคดองค์พระปรางค์ศรีวัตนมหาธาตุ ถอดลงมาวันที่ 29 ตุลาคม 2550


รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55
-------------------
องค์ที่เห็นตามรูป ประดิษฐานที่วิหารเล็ก ที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก


รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 55


รีวิวเมื่อ 19 พ.ค. 55

รีวิวเมื่อ 13 ส.ค. 53
ได้มีการกล่าวถึง การสร้างพระวิหารหลวงทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระอัฏฐารส (พระศรีสรรเพชญจำลอง) ว่าสร้างขึ้นก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นจึงสร้างองค์ปรางค์พระมหาธาตุแล้ว จึงตามด้วยวิหารทิศทั้ง ๓ ขึ้นเพื่อประดิษฐาน พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และ-พระศรีศาสดา ในลำดับต่อมา (แผนผังที่ ๑) ซึ่งวิธีการสร้างพระวิหารหลวงเป็นประธานหลักเสียก่อน แล้วจึงวางผังอาคารองค์ประกอบอื่นเพิ่มขึ้นเช่นนี้ ดังที่ปรากฏกรณีวัดมหาธาตุ สุโขทัย หรือที่อื่นๆ ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน คือ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ – ๒๒๓๑ / ค.ศ. 1656 – 1688)


รีวิวเมื่อ 13 ส.ค. 53
