“อนุสรณ์ของพระยาไชยบูรณ์ ที่ร.5สร้างขึ้นโดยถือเป็นวีรบุรุษตัวอย่าง”

อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงเมืองแพร่ รับราชการระหว่าง พ.ศ.2440-2445 ในปี พ.ศ.2445 พวกเงี้ยวในเมืองแพร่ก่อการกบฏ ท่านถูกพวกเงี้ยวฆ่าตายเนื่องจากไม่ยอมลงนามยกเมืองแพร่ให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ส่งกองทหารมาปราบพวกเงี้ยว แล้วสร้างอนุสาวรีย์ให้กับพระยาไชยบูรณ์เป็นอนุสรณ์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาราชฤทธานนท์พหลพลภักดี


การเดินทาง : อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ประมาณ 4 กม. ริมทางหลวงแผ่นดินสาย 101

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแพร่ 054-646205
ททท.สำนักงานแพร่(รับผิดชอบแพร่ น่าน อุตรดิตถ์) 054-521127,054-521118-9
ททท.Call Center 1672

อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์

แชร์

ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ประมาณ 4 กม. ริมทางหลวงแผ่นดินสาย 101 อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 54000 แผนที่

รีวิว 3 รายการ | ศิลปะวัฒนธรรม,ท่องเที่ยว,อนุสาวรีย์

No hours available

0613043625

https://www.thai-tour.com/thai-tour/north/prae/data/place/pic_phrayachaiboon-monument.html

6069

แนะนำทริป

ทริปของคุณ

ลบออก

รีวิวทั้งหมด

(รีวิว 3 รายการ)

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 30 ก.ค. 55

ประวัติ
พระยาไชยบูรณ์ เดิมชื่อ ทองอยู่ นามสกุล สุวรรณบาตร เป็นบุตรของพระยาศรีเทศบาล และคุณหญิงกมลจิตร เกิดที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 มีน้องชายร่วมสายโลหิต 1 คน อายุ 21 ปี รับราชการครั้งแรกเป็นเสมียนอยู่ที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์อายุ 43 ปีได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร อยู่ได้ 2 ปี ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการ จังหวัดที่จังหวัดพิษณุโลก และย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ใน พ.ศ.2440 ในขณะนั้นมีเจ้าเมืองปกครองเมืองแพร่คือ เจ้าพิริยเทพวงศ์ ทำการปกครองร่วมกันระหว่างข้าหลวงกับเจ้าเมือง ใน พ.ศ.2443 ได้เลื่อนยศเป็นพระยาไชยบูรณ์
พระยาไชยบูรณ์ ได้ต่อสู้กับพวกโจรเงี้ยวที่บุกเข้าปล้นเมืองแพร่ในเช้าตรู่ของวันที่ 25 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2445 พวกโจรเงี้ยวมีพะกาหม่องเป็นหัวหน้าได้รวบรวมสมัครพรรคพวกที่มาจาก เชียงตุงและพวกเงี้ยวที่อาศัยอยู่ในเมืองแพร่ บุกเข้าปล้นสถานีตำรวจภูธรแย่งชิงเอาอาวุธไปแล้ว เข้าเมืองด้านประตูชัยปล้นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ต่อจากนั้นตรงไปยังบ้านพักของพระยา ไชยบูรณ์ใช้ปืนยิงเข้าไป พระยาไชยบูรณ์หลบหนีออกไปได้แล้วไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านร่องกาศ ได้ ส่งคนไปขอกำลังจากชาวบ้านมาช่วย แต่พวกเงี้ยวมีอาวุธครบมือมากกว่าจึงสู้ไม่ได้ ในที่สุดถูกพวก เงี้ยวจับตัวได้และไม่ยอมมอบเมืองแพร่ให้แก่พวกเงี้ยวจึงถูกพวกเงี้ยวฆ่าตายในที่สุด
ประวัติ
พระยาไชยบูรณ์ เดิมชื่อ ทองอยู่ นามสกุล สุวรรณบาตร เป็นบุตรของพระยาศรีเทศบาล และคุณหญิงกมลจิตร เกิดที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 มีน้องชายร่วมสายโลหิต 1 คน อายุ 21 ปี รับราชการครั้งแรกเป็นเสมียนอยู่ที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์อายุ 43 ปีได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร อยู่ได้ 2 ปี ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการ จังหวัดที่จังหวัดพิษณุโลก และย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ใน พ.ศ.2440 ในขณะนั้นมีเจ้าเมืองปกครองเมืองแพร่คือ เจ้าพิริยเทพวงศ์ ทำการปกครองร่วมกันระหว่างข้าหลวงกับเจ้าเมือง ใน พ.ศ.2443 ได้เลื่อนยศเป็นพระยาไชยบูรณ์
พระยาไชยบูรณ์ ได้ต่อสู้กับพวกโจรเงี้ยวที่บุกเข้าปล้นเมืองแพร่ในเช้าตรู่ของวันที่ 25 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2445 พวกโจรเงี้ยวมีพะกาหม่องเป็นหัวหน้าได้รวบรวมสมัครพรรคพวกที่มาจาก เชียงตุงและพวกเงี้ยวที่อาศัยอยู่ในเมืองแพร่ บุกเข้าปล้นสถานีตำรวจภูธรแย่งชิงเอาอาวุธไปแล้ว เข้าเมืองด้านประตูชัยปล้นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ต่อจากนั้นตรงไปยังบ้านพักของพระยา ไชยบูรณ์ใช้ปืนยิงเข้าไป พระยาไชยบูรณ์หลบหนีออกไปได้แล้วไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านร่องกาศ ได้ ส่งคนไปขอกำลังจากชาวบ้านมาช่วย แต่พวกเงี้ยวมีอาวุธครบมือมากกว่าจึงสู้ไม่ได้ ในที่สุดถูกพวก เงี้ยวจับตัวได้และไม่ยอมมอบเมืองแพร่ให้แก่พวกเงี้ยวจึงถูกพวกเงี้ยวฆ่าตายในที่สุด

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 30 ก.ค. 55

" กูภักดีต่อแผ่นดิน องค์นรินทร์พระผ่านเผ้า พระพุทธเจ้าหลวงจอมผไท กูไม่คิดขายชาติ แม้มึงปรารถนา เมืองแพร่ เชิญมึงแล่เนื้อหนัง หรือฝังกูก็ยอม กูบ่ค้อมยกบ้าน กูบ่ขานยกเมือง ให้มึงเฟื่องโอหัง จงฟังคำกูไว้ โจรจัญไรสิ้นคิด ชีวิตกูยอมพลี แผ่นดินนี้กูเฝ้า มึงจะเอาอย่าปอง กูปกครองอยู่ไซร้ จงอย่าคิดอยากได้ หนึ่งแม้ตารางวา แลนา "

ถูกใจ แชร์

Jirapong Thivawongsakal

รีวิวเมื่อ 30 ก.ค. 55

ป้ายอยู่ริมถนนหลวง
ป้ายอยู่ริมถนนหลวง

ถูกใจ แชร์

สถานที่ใกล้เคียง

บ้านประทับใจ บ้านประทับใจ (รีวิว 326 รายการ)

ห่าง 2.23 กิโลเมตร

วิชัยราชา วิชัยราชา (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.34 กิโลเมตร

ศาลหลักเมืองแพร่ ศาลหลักเมืองแพร่ (รีวิว 612 รายการ)

ห่าง 2.61 กิโลเมตร

วัดพระบาทมิ่งเมือง วัดพระบาทมิ่งเมือง (รีวิว 572 รายการ)

ห่าง 2.64 กิโลเมตร

บ้านวงศ์บุรี บ้านวงศ์บุรี (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.66 กิโลเมตร

จวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.72 กิโลเมตร

วัดพระนอน วัดพระนอน (รีวิว 2 รายการ)

ห่าง 2.75 กิโลเมตร

กำแพงเมืองแพร่ กำแพงเมืองแพร่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.78 กิโลเมตร

วัดหลวง แพร่ วัดหลวง แพร่ (รีวิว 6 รายการ)

ห่าง 2.82 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑ์บ้านเทพ พิพิธภัณฑ์บ้านเทพ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 2.97 กิโลเมตร

โรงแรมใกล้เคียง

ฤทธิบูรณ์วินเทจ ฤทธิบูรณ์วินเทจ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.15 กิโลเมตร

สาริน พาร์ค แอนด์ รีสอร์ท สาริน พาร์ค แอนด์ รีสอร์ท (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.82 กิโลเมตร

สายป่านเฮ้าส์ สายป่านเฮ้าส์ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.21 กิโลเมตร

คินโนเทล คินโนเทล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.24 กิโลเมตร

เฮือนนานาบูติกโฮเต็ล เฮือนนานาบูติกโฮเต็ล (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.57 กิโลเมตร

โรงแรมนครแพร่ทาวเวอร์ โรงแรมนครแพร่ทาวเวอร์ (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.59 กิโลเมตร

อนันตยาโฮม แพร่ อนันตยาโฮม แพร่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.64 กิโลเมตร

อมรรักษ์ 1 อมรรักษ์ 1 (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.72 กิโลเมตร

โรงแรมภูมิไทย การ์เด้น โรงแรมภูมิไทย การ์เด้น (รีวิว 1 รายการ)

ห่าง 1.76 กิโลเมตร

มัดคำ บูทีค มัดคำ บูทีค (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.82 กิโลเมตร

ร้านอาหารใกล้เคียง

สวนอาหารบ้านฝ้าย แพร่ สวนอาหารบ้านฝ้าย แพร่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 0.86 กิโลเมตร

ร้านสานฝัน แพร่ ร้านสานฝัน แพร่ (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.66 กิโลเมตร

สานฝัน สานฝัน (รีวิว 0 รายการ)

ห่าง 1.70 กิโลเมตร