“อุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ เป็นพิพิธภัณฑ์ ที่บอกประวัติเกียวกับสงคราม 9 ทัพระหว่างชาติไทยกับพม่า ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์”
อุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ อยู่ที่ทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี ระหว่างทางไปน้ำตกเอราวัณ อ.ศรีสวัสดิ์ เลี้ยวซ้ายจากทางหลวง ประมาณ 600 เมตร ทางเข้ามีเสาธงเป็นสัญลักษณ์ เสาสีเขา 4 ต้น คือ กองทัพไทยทั้ง 4 ทัพ และ เสาสีน้ำตาล 9 ต้น แสดงถึง กองทัพทั้ง 9 ของพม่า แต่มี 5 กองทัพที่ยกมาทางหุบเขาที่ทุ่งลาดหญ้าแห่งนี้ ซึ่งมีกองทัพไทย ออกมาตั้งรับ แทนที่จะตั้งอยู่ในเมืองหลวงเหมือนเมื่อก่อน จนในที่สุดไทยเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ประวัติโดยสังเขป คือ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ หลังจากสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียงสองปีกว่า ปราสาทราชวังท้องพระโรงยังเป็นเครื่องไม้อยู่ ส่วนพม่า ก่อนหน้านั้นก็มีเรื่องยุ่งๆแย่งชิงราชสมบัติกัน สุดท้ายพระเจ้าปะดุงได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าปะดุงองค์นี้เก่ง รวบรวมพม่าเป็นปึกแผ่นได้
เมื่อรู้ว่าไทยเพิ่งสร้างกรุงใหม่ ก็ดำริจะตีไทยให้ย่อยยับเหมือนเมื่อครั้งอยุธยา จึงกรีธาทัพใหญ่ ไพร่พลถึง ๑๔๔,๐๐๐ คน แบ่งเป็น ๙ กองทัพ ยกเข้ามา ๕ ทิศทาง เราจึงเรียกสงครามครั้งนี้ว่า ‘สงคราม ๙ ทัพ หรือ ‘ศึกเก้าทัพ ทั้ง ๙ ทัพ ๕ ทิศทาง ว่ากันย่อๆ ดังนี้ ทิศทางที่ ๑ กองทัพที่ ๔, ๕, ๖, ๗, ๘ รวมเป็น ๕ กองทัพ ยกหนุนเนื่องกันเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ พระเจ้าปะดุงเป็นจอมทัพกองทัพหลวง คือ กองทัพที่ ๘ ทิศทางที่ ๒ กองทัพที่ ๙ ยกมาทางด่านแม่ละเมา มีหน้าที่ตัดหัวเมืองเหนือให้ขาดจากภาคกลาง ตีดะลงมาตามลำน้ำปิง ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ ลงมาบรรจบกับทัพหลวง ทิศทางที่ ๓ กองทัพที่ ๓ เคลื่อนจากตองอูมารวมทัพที่เชียงแสน (ของพม่า) ตีลำปาง สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย พิษณุโลกแล้วลงมาสมทบทัพหลวง ทิศทางที่ ๒ กองทัพที่ เคลื่อนมาทางด่านบ้องตี้ ทิวเขาตะนาวศรี (กาญจนบุรี) ตีราชบุรี ตัดหัวเมืองฝ่ายใต้ ทิศทางที่ ๕ กองทัพที่ ๑ มีทั้งทัพบกและทัพเรือ เข้าตีหัวเมืองฝ่ายใต้ ตั้งแต่ชุมพรลงไป พระราชพงศาวดาร บันทึกเอาไว้ว่า
“พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ (วังหลวงและวังหน้า) ได้ทรงทราบข่าวศึก ดังนั้น จึงดำรัสให้ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ มีกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขฝ่ายหลัง (แต่ยังดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์) เป็นต้น กับท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย พร้อมกัน ดำรัสปรึกษาราชการเป็นหลายเวลา...” เมื่อทรงวางแผนต่อสู้เรียบร้อยแล้ว ตรงนี้ ขอเน้นสักนิดว่า เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว เจ้านายไทยต้นๆ พระราชวงศ์นั้น มิได้ทรงเว้นว่างจากศึกสงคราม ท่านรบเก่งกันมาแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแล้ว ท่านก็ยังต้องเหนื่อยยาก ทำศึกสงครามต่อในรัชกาลที่ ๑ นั้น ต้องทำสงครามออกศึกถึง ๗ ครั้ง ฝ่ายไทยในครั้งนั้นรวมพลแล้วได้เพียง ๕๓,๐๐๐ คน จัดแบ่งเป็นกองทัพไปสกัดทัพพม่าเพียง ๒ ทาง คือ ทิศทางที่ ๑ เจ้าพระยาธรรมาธิบดี เป็นแม่ทัพหน้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เป็นแม่ทัพหลวง พระยามหาโยธา คุมกองมอญ ๓,๐๐๐ คนไปขัดตาทัพที่ด่านกรามช้าง ทิศทางที่ ๒ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษเทเวศร์ (กลับมาจากสงครามคราวนี้ได้เป็นกรมพระราชวังหลัง)
เป็นแม่ทัพไปตั้งค่ายหลวงที่นครสวรรค์ พระยาพระคลัง (หน) และพระยาอุทัยธรรม (บุนนาค) เป็นกองหลังตั้งค่ายอยู่เมืองชัยนาท สรุปว่า แม้มีกำลังพลเพียง ๑ ใน ๓ ของพม่าในที่สุดฝ่ายไทยก็สามารถตีทัพพม่า ค่ายพม่าแตกได้ ทุกทิศทาง นับว่าเป็นศึกซึ่งเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ทีเดียว จะขอเล่าถึงชัยชนะทางด้านเมืองกาญจนบุรีและราชบุรี ซึ่งพม่ายกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ถึง ๕ ทัพ ตามที่มีผู้จดบันทึกเอาไว้ เป็นการประกอบดังนี้ “กองทัพหน้าพม่าล่วงเข้ามาที่ด่านกรามช้าง มีกำลังพลถึง ๑๑,๐๐๐ คน เข้าปะทะตีทัพ พระยามหาโยธา (ที่คุมกองมอญ ๓,๐๐๐ คน) ขัดตาทัพอยู่ ถอยหนีเข้ามาหาทัพหลวง ส่วนกองทัพพม่าหนุนเนื่องกันเข้ามา มาตั้งค่ายอยู่ท่าดินแดงวังหน้าจึงมีพระราชบัณฑูรดำรัสสั่งให้ท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงยกพลออกตีค่ายพม่า รบกันเป็นสามารถล้มตายด้วยกันทั้งสองข้าง ในครั้งนี้วังหน้า ทรงมีพระราชบัณฑูรให้ทำครกและสากใหญ่ไว้ในค่ายหลวง ๓ สำรับ
เที่ยวได้ตลอดทั้งปี
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 6 รายการ)รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 53
รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 53
รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 53
รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 53
รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 53
รีวิวเมื่อ 20 ส.ค. 53