“โบราณสถานพงตึก สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณสมัยทวารวดี และเป็นที่ขุดพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีเป็นจำนวนมาก”
โบราณสถานพงตึก สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณสมัยทวารวดี และได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ชาวเมืองนับถือศาสนาพุทธและพราหมณ์ มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 11–12 ทั้งนี้เนื่องจากกรมศิลปากรได้ขุดพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีเป็นจำนวนมากที่พงตึกเมื่อปี พ.ศ. 2470 เช่น ตะเกียงทองสำริดโรมัน พระพิมพ์ดินเผา พระนารายณ์สลักจากศิลา พระพุทธรูป ฯลฯ
และต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ดร.เวลส์ ผู้แทนสมาคมค้นคว้าวัตถุโบราณจากประเทศอินเดีย ได้เดินทางมาสำรวจและขุดค้นโบราณวัตถุเพิ่มเติมที่พงตึกและยืนยันว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นเมืองโบราณที่เจริญรุ่งเรืองมากเมื่อสมัยพันปีมาแล้ว
ปัจจุบันโบราณวัตถุบางส่วนที่ขุดค้นนำไปเก็บไว้ที่วัดดงสัก บางส่วนอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่กรุงเทพฯ คำว่า "พงตึก" และพงตึกในอดีต "พงตึก" แต่เดิมเป็นชื่อของหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง คำว่า "พงตึก" พอสันนิษฐานจากคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่าที่อาศัยในบริเวณนี้ ได้เล่าว่า
ในสมัยก่อนที่ริมแม่น้ำบริเวณตลาดพงตึก มีฐานสิ่งก่อสร้างที่เป็นศิลาแลง มีลักษณะเป็นแนวยาวคล้ายฐานของอาคารที่กว้างใหญ่ อีกทั้งตลอดสองฝั่งแม่น้ำ จะเต็มไปด้วยกอพง กอหญ้ามากมาย จากข้อมูลเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า "พงตึก" ส่วนเหตุผลอีกประการหนึ่งที่พอจะนำมาอ้างประกอบกันได้ก็คือ ข้อความบางตอนจากหนังสือนิราศพระแท่นดงรัง ของสามเณรกลั่นที่เขียนไว้ โดยกล่าวถึงที่มาของคำว่าพงตึก คือ "แล้วจากท่ามาถึงตรงคุ้งพงตึก อนาถนึกสงสัยได้ไต่ถาม ท่านผู้เฒ่าเล่าต่อเป็นข้อความ ว่าตึกพราหมณ์ของแผ่นดินโกสินราย แต่ตึกมีที่ริมน้ำเป็นสำเหนียก คนจึงเรียกพงตึกเหมือนนึกหมาย ถึงท่าหว้าป่ารังสองฝั่งราย กับเชิงหวายโป่งกลุ้มดูคลุมเครือ" จะเห็นได้ว่า จากบทนิราศนี้คำว่าพงตึก จะมีที่มาคล้ายกับคำเล่าสืบต่อของคนรุ่นเก่า
ส่วนคำว่า"ตึกพราหมณ์" สันนิษฐานว่าอาจเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบ พิธีทางศาสนาพราหมณ์ หรืออาจเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนที่นับถือศาสนาพราหมณ์ ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ โดยในประเด็นนี้เป็นการวิเคราะห์ของ นักโบราณคดีที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบจากอายุของโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ค้นพบ ณ สถานที่แห่งนี้ การเป็นทางผ่านของเส้นทางคมนาคม จากหลักฐานของการค้นพบโบราณสถาน ความเป็นมา ของสถานที่แห่งนี้คือหมู่บ้านพงตึกเดิมเป็นแหล่งชุมชนสมัยประวัติศาสตร์
เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา กับดินแดนพม่าใช้สำหรับเดินทางไปมาและค้าขาย ในพ.ศ.2376 ครั้งสามเณรกลั่นเดินทางมานมัสการพระแท่นดงรัง ล่องเรือจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าคลอง บางหลวง คลองมหาชัย ออกแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร ได้มาออกแม่น้ำแม่กลองที่จังหวัดสมุทรสงคราม และล่องเรือขึ้นไปตามแม่น้ำแม่กลอง ผ่านจังหวัด ราชบุรี ผ่านโพธาราม บ้านโป่ง และพงตึก ก่อนจะถึงพระแท่นดงรัง ส่วนพ่อค้าที่เดินทางมาจากยุโรปและอินเดีย ที่จะเดินทางต่อไปค้าขายประเทศจีน ที่ไม่ต้องการอ้อมแหลมมลายู ก็จะมาขึ้นบกที่ชายฝั่งพม่า แล้วเดินทาง ทางบกมาที่ด่านเจดีย์สามองค์ และเข้าสู่แม่น้ำแม่กลองโดยเส้นทางนี้จะผ่านพงตึกก่อนไปถึงแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อมาลงเรือที่อ่าวไทย ก็จะไปประเทศจีนได้ แม้ว่า พงตึกจะอยู่ขึ้นไปทางเหนือ แต่ก็ยังอยู่ในบริเวณที่เป็นทางผ่าน ในจดหมายเหตุของราชวงศ์ฮั่นได้กล่าวไว้ว่า " ในพ.ศ.663 พวกนักดนตรี และกายกรรมจาก T,S SIN (พวกตลก จำอวด ชาวกรีก โรมัน) ได้เดินทางจากพม่าไปยังจีนโดยทางทะเล เขาอาจผ่านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ เดินทางตามสายน้ำแม่กลอง แล้วมาลงเรือที่อ่าวไทยอีกต่อหนึ่งก็ได้"
การเดินทาง
ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปทางใต้ประมาณ 37 กิโลเมตร หากมาจากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 323 กิโลเมตรที่ 92–93 จะมีป้ายบอกทางเข้าซ้ายมือไปโบราณสถานพงตึก เมื่อข้ามสะพานจันทรุเบกษา จะผ่านวัดดงสักซึ่งอยู่ด้านซ้ายมือ จากนั้นให้ตรงไปจนผ่านป้อมตำรวจพงตึกซึ่งอยู่ด้านขวา โบราณสถานพงตึกจะอยู่ถัดป้อมตำรวจพงตึกไปไม่ไกลนัก
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก http://www.thmk.police7.go.th
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 5 รายการ)รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2470 ขณะที่ชาวนาคนหนึ่งกำลังไถนาอยู่ ได้พบหลุมเล็ก ๆ มีพระพุทธรูปโบราณทำด้วยทอง เงิน ทองเหลือง บรรจุอยู่ และยัง
ได้พบโครงกระดูกมนุษย์อีกหนึ่งโครง ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามนุษย์ธรรมดาเกือบสองเท่า มีหัวกระโหลกว้างเกือบ 1 ฟุต เมื่อประชาชนรู้ข่าว พากันไปขุดค้น เพื่อหวัง
ทรัพย์ในดินเหล่านี้ แล้วทำลายโครงกระดูกนั้นเพื่อแบ่งแจกกันคนละเล็กละน้อย จนกระทั่งข่าวนี้ทราบไปถึงราชบัณฑิตยสภา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีรับสั่งให้เจ้าหน้าที่เดินทางมาสำรวจทันที จากการมาสำรวจครั้งนี้ ได้ข้อมูลใหม่ว่า นั่นไม่ใช่การค้นพบครั้งแรก เพราะการค้นพบครั้งแรกเกิดขึ้น ประมาณ 30 ปี ก่อนหน้านี้แล้วโดยชาวจีนคนหนึ่งขุดพบพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สององค์ เมื่อเขากลับประเทศจีนก็ได้นำไปด้วย ทั้งยังได้เล่าว่าพระพุทธรูปนั้นนำโชคลาภ
นำความสุขมาสู่ครอบครัวของเขาด้วย เขาจึงสร้างศาลเจ้าไว้ในบริเวณที่พบพระพุทธรูปนั้น
รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53
1. พระพิมพ์ พระพุทธรูปประทับภายใต้สถูปพุทธคยา เป็นพระพิมพ์ขุดพบที่ฝั่งแม่น้ำบริเวณพงตึก เป็นพระพิมพ์ที่อาจนำมาจากอินเดีย หรืออาจ เป็นพระพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์จากประเทศอินเดียคือพุทธคยา ซึ่งเป็น
วิหารทางพุทธศาสนาที่สำคัญสร้างขึ้นตรงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ลักษณะที่ชัดเจนคือ แสดงรูปพระพุทธเจ้า
ประทับอยู่ใตัหอสูงคือวิหารที่พุทธคยา ซึ่งพระพิมพ์แบบนี้ ได้ค้นพบอีกที่ KIYAL ใกล้กับพุทธคยา ที่เมืองหงสาวดี
ประเทศพม่า และที่ MIRPUR ลุ่มแม่น้ำสินธุ ประเทศอินเดีย
2. ตะเกียงสัมฤทธิ์แบบกรีก-โรมัน หล่อด้วยสัมฤทธิ์ มีลักษณะเป็นตะเกียงแบบกรีก-โรมัน มีจะงอยสำหรับ
จุดไส้ ช่องกลมด้านบน สำหรับเทน้ำมันใส่ ด้ามถือเป็นรูปใบปาล์มที่อยู่ระหว่างปลาโลมาสองตัว ซึ่งลายใบปาล์ม
และปลาโลมานี้ เป็นลวดลายของเครื่องประดับตกแต่งกรีก-โรมัน โดยปลาโลมาเป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่ตั้งอยู่ริม
ทะเล สันนิษฐานถึงการนำวัตถุชิ้นนี้เข้ามาคือ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ อออ
3.เครื่องปูนปั้น พบบริเวณซากอาคารที่บ้านนายมา สันนิษฐานว่าคงเป็นปูนปั้นที่ใช้ประดับอาคารและ
แท่งหินใหญ่ ที่พบก็มีปูนปั้นที่ค่อนข้างหนาปกคลุมอยู่ ช่างได้ปั้นปูนเป็นลวดลายอย่างเต็มฝีมือ เครื่องปูนปั้นที่
พงตึกมีความคล้ายคลึงกับเครื่องปูนปั้นที่นครปฐม ซึ่งเป็นเครื่องปูนปั้นในสมัยคุปตะ หรือสกุลช่างทวารวดี
ราวพุทธศตวรรษที่ 11
4. ดอกไม้ทอง พบบนถนนอิฐระหว่างสวนกล้วยและศาลเจ้าอยู่ห่างจากฐานเหลี่ยมจัตุรัสประมาณ
5 เมตร ดอกไม้ทองในลักษณะนี้เคยพบในประเทศญวณ (เวียดนาม)มาก่อน
5. หม้อน้ำดินเผา ภาชนะรูปหกเหลี่ยม และพระพุทธรูปประทับนั่งเล็ก ๆ โบราณวัตถุเหล่านี้ขุดพบ
ที่บ้านปลักสะแก ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านพงตึกแต่ที่นั่นไม่พบร่องรอยของอาคารเลย เว้นแต่แผ่นอิฐรูปสามเหลี่ยม
และตลับทองใบเล็ก ๆ พระพุทธรูปประทับนั่ง เศษถ้วยชามดินเผาจำนวนมาก พร้อมกับหม้อน้ำใบหนึ่งที่ยังอยู่ใน
สภาพดีและภาชนะรูปหกเหลี่ยมอีกใบหนึ่ง เท่านั้น
6. พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ศิลปะแบบอมราวดี เป็นพระพุทธรูปองค์เล็กที่งดงามมาก ขุดพบในสวนกล้วย
ที่บ้านพงตึก มีลักษณะสำคัญทางสกุลช่างทวารวดี เช่น มีการจัดระเบียบอย่างอ่อนช้อยของจีวร ซึ่งมีริ้วเหมือน
คลื่น มีพระนาสิกแหลม พระพุทธรูปองค์นี้คล้ายกับปติมากรรมแบบกรีกรุ่นหลังมาก กล่าวว่าพระพุทธรูปองค์นี้
หล่อขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 10 - 11 ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแบบหลังคุปตะ
7. พระนารายณ์สี่กรศิลา เป็นรูปพระนารายณ์สี่กรทรงสังข์ จักรธรณีหรือดอกบัว และคทาตาม
แบบอินเดียแต่เดิม ที่พระเกศาทำเป็นรูปดอกบัวแทนที่จะทรงหมวกทรงกระบอกอย่างรูปพระนารายณ์รุ่นเก่า
องค์อื่น ๆ คะเนอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 ขุดพบห่างจากศาลเจ้าไปทางทิศตะวันออกประมาณ
200 เมตร แต่เดิมรูปนี้สลักให้ดูได้รอบด้าน คงเป็นด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้พระหัตถ์ขวาเบื้องล่างที่ทรงธรณี
จึงมีเครื่องค้ำอยู่ เช่นเดียวกับใต้พระหัตถ์ซ้ายเบื้องล่างที่เป็นคทา แต่หักเป็นชิ้น ๆ โดยไม่สามารถซ่อมแซมได้
เพราะศิลาที่ใช้สลักแข็งมาก จึงได้ก่อซีเมนต์เป็นแผ่นหลังติดต่อชิ้นส่วนเหล่านี้ขึ้น นอกจากแผ่นเบื้องหลังแล้ว
ที่รองพระบาทและฐานเบื้องล่างก็หล่อขึ้นมาใหม่
รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53
ยังไม่ทราบว่าเป็นแผ่นหินอะไร มักพบว่าอยู่รวมกับโบราณสถาน ซึ่งอยู่ในสมัยเดียวกับพระปฐมเจดีย์องค์เดิม
จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้ทราบว่าเป็น "ระฆังหิน"
รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53
รีวิวเมื่อ 21 ส.ค. 53