“อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุจอมเพชร มีความสูง 40 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน จากจุดนี้ สามารถมองเห็นพระที่นั่งต่าง ๆ”
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 92 เมตร เดิมเรียกว่า เขาสมนหรือเขาคีรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระราชหฤทัย ที่จะสร้างพระราชวังสำหรับเสด็จแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขาแห่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาเพชรนิสัยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมือง เพชรบุรีเป็นนายงานก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2403 ทรงพระราชทานนามว่า พระนครคีรี แต่ชาวเมืองเพชรเรียกกันติดปากว่าเขาวัง สืบมาจนบัดนี้ พระนครคีรีมีพระที่นั่ง พระตำหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่าง ๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนิโอคลาสสิคผสมสถาปัตยกรรมจีน ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ ๆ 3 ยอดด้วยกัน ดังนี้ ยอดเขาด้านทิศตะวันออก บริเวณไหล่เขาเป็นที่ตั้งของวัดมหาสมณาราม ภายในพระอุโบสถ มีภาพเขียนฝีมือขรัวอินโข่ง บนผนัง ทั้งสี่ด้าน
เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนบนยอดเขาเป็นที่ตั้งของวัดพระแก้ว เป็นวัดประจำ พระราชวังพระนครคีรี เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นวัดประจำพระบรมมหาราชวัง ในกรุงเทพฯ ภายในวัดพระแก้วประกอบด้วยพระอุโบสถขนาดเล็ก ประดับด้วยหินอ่อน ด้านหลังเป็น พระพุทธเสลเจดีย์ ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นหอระฆังรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมขนาดเล็ก เขายอดกลาง เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุจอมเพชร มีความสูง 40 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน จากจุดนี้ สามารถมองเห็นพระที่นั่งต่าง ๆ บนยอดเขาอีก 2 ยอด รวมทั้งทิวทัศน์ของตัวเมืองเพชรบุรีได้อีกด้วย ยอดเขาด้านทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ประทับอันได้แก่ พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งราชธรรมสภา หอชัชชวาลเวียงชัย หอพิมานเพชรมเหศวร ตำหนักสันถาคารสถาน หอจตุเวทปริตพจน์ ศาลาทัศนา นักขัตฤกษ์ นอกจากนี้แล้วยังมีโรงรถ โรงม้า ศาลามหาดเล็ก ศาลาลูกขุน ศาลาต่าน ศาลาเย็นใจ ทิมดาบ โรงครัว ตามแบบพระราชวังทั่วไป
รอบพระราชวังมีป้อมล้อมอยู่ทั้ง 4 ทิศคือ ป้อมทศรถป้องปากทางทิศตะวันออก ป้อมวรุฬหกบริรักษ์ ทางทิศใต้ ป้อมวิรุฬปักษ์ป้องกันทางทิศตะวันตก และป้อมเวสสุวรรณรักษาทางทิศเหนือ กรมศิลปากรได้ใช้บางส่วนของพระราชวังบนยอดเขาด้านทิศตะวันตกนี้จัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ภายในเก็บรักษาโบราณวัตถุต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องราชูปโภคของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปหล่อโลหะสำริด และทองเหลืองที่ใช้สำหรับตกแต่งห้องต่าง ๆ ในพระที่นั่ง และเครื่องกระเบื้องของจีน ญี่ปุ่น และยุโรป เฉพาะส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ทุกวัน
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ 08.30-16.30 น.
- ค่าเข้าชม (รวมค่าเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี) ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท
นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นชมเขาวังได้ โดยการเดินขึ้น หรือโดยสารรถรางไฟฟ้า (ตั๋วไป-กลับ รวมค่าเข้าชมทั้งหมด) เ
- สียค่าบริการ ชาวไทย 20 บาทชาวต่างชาติ 20 บาท
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (032)425600
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 62 รายการ)รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
ได้ภาพแบบนี้
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
มุมนี้จะหลบแสงได้ดีกว่า
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
ได้ภาพพระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
ได้ยินว่า แถวนี้ให้ทานข้าว + ก๋วยเตี๋ยว น้ำดื่มฟรี
จุดพักของผมระหว่างทางไป พระปรางค์แดง
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
ประวัติเรือไทย ฯลฯ
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
เดี๋ยวจะมีจุดพลุตอน 21.00 น.
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
(ผมไม่ได้เอาขาตั้งกล้องมา) ระยะห่างสัก 200-300 เมตร น่าจะได้
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
ลักษณะเป็นหมู่พระที่นั่งขนาดใหญ่ ตัวพระที่นั่ง 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูนแบบตะวันตหลังคามุมกระเบื้องกาบกล้วย มีสันหลังคาทับแบบจีน ชั้นบนเป็นห้องพักทั้ง 2 ฝั่ง ชั้นล่างด้านหน้าทำเป็นห้องรับแขก มีหน้ามุขยื่นออกไปเป็นที่ประทับทอดพระเนตรนาฏศิลป์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ใช้เป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายใน ต่อมาใช้เป็นที่รับแขกเมือง
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
ตลอดทางเดินไม่ต้องกลัวเหงา หิว หรือกระหายน้ำ...
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
เปิดกิจกรมม 17.00-20.00 น.
ระบายสีลงถุงกระดาษ ทำห่อการาบูน ฯลฯ
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
"งานสกุลช่างเมืองเพชร” เป็นผลงานที่เกิดจากช่างพื้นบ้านมีแบบฉบับศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนศิลปะที่ทำจากชุมชนอื่น และได้พัฒนาระดับฝีมือ รูปแบบ เนื้อหา จนเป็นลักษณะเฉพาะของ “สกุลช่างเมืองเพชร"
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
ศาลานี้อยู่ใกล้ทางเข้าฝั่งวัดมหาสมณารามวรวิหาร
รีวิวเมื่อ 31 มี.ค. 56
ผมฝากรถไว้ที่ ปั้ม Esso 40 บาท (ทั้งวัน)
เดินทางมาถึงนี้ 14.30 น. วันที่ 30 มี.ค. 56