“พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน พระตำหนักที่ประทับ สร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 6”
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหก ที่ตำบลห้วยเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ตรงหลักกม.ที่ 216 เลยหาดชะอำมาเล็กน้อย
เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2466 ได้รับขนานนามว่า "พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง" ลักษณะเป็นพระตำหนักไม้สองชั้น หันหน้าออกสู่ทะเล พระตำหนักฝ่ายในอยู่ปีกขวา ทางปีกซ้ายเป็นส่วนของฝ่ายหน้า ประกอบด้วยพระที่นั่งสามองค์เชื่อมต่อ ถึงกันโดยตลอด
พระที่นั่งสุนทรพิมาน เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรชายา
พระที่นั่ง พิศาลสาครเป็นที่ประทับของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหมู่พระที่นั่งตรงกลางประกอบด้วยห้องต่าง ๆ สำหรับสำราญพระอิริยาบถ ห้องพักข้าราชบริพารที่คอยรับใช้ใกล้ชิด ห้องทรงพระอักษร และพระที่นั่ง สโมสรเสวกามาตย์ เป็นอาคารโถงสองชั้นเปิดโล่งใช้เป็นที่ประชุมในโอกาสต่าง ๆ และเป็นโรงละคร ซึ่งเคยจัดแสดงละครครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ เรื่องพระร่วง และวิวาห์พระสมุทรในปี พ.ศ.2484
เจ้าพระยารามราฆพ ได้สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายเป็นพระราชานุสรณ์ประดิษฐานไว้ ณ ท้องพระโรงพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และได้จัดงานบำเพ็ญ พระราชกุศลถวายเป็นพระราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นประจำทุกปี
พระราชนิเวศน์มฤคทายวันเป็นหมู่อาคารที่วางเรียงกันตามความยาวของชายหา แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือ
ส่วนที่ประทับทางทิศใต้ และส่วนที่อยู่ของข้าราชบริพารทางทิศเหนือ ส่วนที่ประทับนั้น มีรั้วล้อมสามด้าน ภายในมีพระที่นั่งสามหมู่ คือ
- พระที่นั่งสมุทรพิมาน เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พระที่นั่งพิศาลสาคร เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรชายา และ
- พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นท้องพระโรงและโรงละคร
พระที่นั่งที่ประทับแต่ละหมู่เป็นอาคารชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง ประกอบด้วยห้องที่ประทับ ที่เสวย ห้องพระภูษา และห้องพักข้าราชบริพารผู้ตามเสด็จฯ แต่ละห้องวางกระจายกันให้รับลม มีชาลาเชื่อม มีหลังคาคลุมติดต่อกัน ยาวต่อเนื่องไปจนถึงศาลาลงสรงที่ริมหาด แยกฝ่ายหน้าฝ่ายในไม่ปะปนกัน
ตามโบราณราชประเพณี ส่วนที่อยู่ของข้าราชบริพารนั้น อยู่นอกรั้วส่วนที่ประทับไปทางทิศเหนือ มีแนวถนนเลียบไปตามแนวชายหาด และมีอาคารบ้านพักข้าราชสำนักฝ่ายหน้าที่ตามเสด็จฯ “โฮเต็ล” ภัตตาคาร โรงไฟฟ้า โรงรถยนต์หลวง ฯลฯ รวมทั้งสิ้น ๒๘ หลัง เกือบทั้งหมดเป็นโครงสร้างไม้มุงจาก
ปัจจุบันยังคงเหลือบ้านเจ้าพระยารามราฆพ ซึ่งเป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตผสมไม้เพียงหลังเดียว สถาปัตยกรรมพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมเพื่อการพักตากอากาศในช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งที่วัสดุก่อสร้างในพื้นที่ยังหายาก กับทั้งระยะเวลาในการก่อสร้างที่จำกัด สถาปนิกและวิศวกรจึงเลือกใช้ระบบพิกัด (modular system) ในการออกแบบ ทั้งทางราบและทางตั้ง โดยใช้แนวเสาระยะ ๓.๐๐ เมตรเป็นมาตรฐาน แต่ละช่วงเสาแบ่งผนังออกเป็น ๗ ส่วนๆ ละ ๔๐ เซนติเมตร เกิดเป็นจังหวะ ๒ : ๓ : ๒ ตอบรับกับขนาดบานหน้าต่างและประตู ช่องระบายอากาศไม้ฉลุเหนือขอบประตู ตลอดจนฝ้าเพดานห้อง ใช้ชิ้นส่วนวัสดุก่อสร้างสำเร็จรูปที่ผลิตโดยระบบอุตสาหกรรม แต่วางแผนผังห้องให้ยักเยื้องกัน มีรูปทรงหลังคาที่หลากหลาย ทำให้อาคารดูเรียบง่ายแต่ไม่น่าเบื่อ ทั้งยังมีความโปร่งเบา มีการประดับประดาแต่น้อยที่สุด ตอบรับกับความนิยมของยุคสมัย ที่เป็นรอยต่อระหว่างสถาปัตยกรรมวิคตอเรียน (Victorian Architecture) กับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture)
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-16.00 น.
สำหรับผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะ ต้องทำหนังสือถึงผู้กำกับการกองบังคับการฝึกพิเศษ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โทร. 032-471388, 032-471130
ข้อห้าม ห้ามใส่กางเกงขาสั้น (ต่ำกว่าหัวเข่า) ห้ามใส่สายเดียว หรือเสื้อแขนกุด ทางแก้ต้องสวมโสร่งที่เตรียมไว้ให้ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
รีวิวทั้งหมด
(รีวิว 10 รายการ)รีวิวเมื่อ 18 ก.ย. 55
รีวิวเมื่อ 13 ส.ค. 55
รีวิวเมื่อ 9 ก.พ. 55
รีวิวเมื่อ 20 มิ.ย. 54
รีวิวเมื่อ 17 เม.ย. 54
รีวิวเมื่อ 6 ธ.ค. 53
รีวิวเมื่อ 27 ก.ย. 53
รีวิวเมื่อ 27 ก.ย. 53
ควรชมก่อน 4 โมงเย็น เพราะช่วงที่ผมกลับประมาณ เกือบ 4 โมงเย็น ได้ยินเจ้าหน้าที่ตรงประตูทางเข้า(ใหญ่) บอกกับนักท่องเที่ยวทุกคนว่า ปิดรับสำหรับนักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะขึ้นชมข้างบนแล้วเพราะเต็ม... ดูๆ แล้วยังงงๆ อยู่เหมือนกัน เพราะนักท่องเที่ยวส่วนที่เยี่ยมชมข้างบนก็ไม่เยอะเลย ส่วนใหญ่ไม่สนใจที่จะขึ้น และอีกส่วนก็หาทางขึ้นไม่เจอ
รีวิวเมื่อ 27 ก.ย. 53
รีวิวเมื่อ 27 ก.ย. 53